เมนู

สฬายตนวรรค



อรรถกถาอนาถปิณฑิโกวาทสูตร



อนาถบิณฑิโกวาทสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-.
ในบทเหล่านั้น คำว่า ป่วยหนัก คือป่วยเหลือขนาด เข้าถึงการ
นอนรอความตาย. คำว่า เรียกหาแล้ว คือ เล่ากันมาว่า ตราบใดที่เท้า
ของคฤหบดี ยังพาไปได้ ตราบนั้น คฤหบดี ก็ได้ทำการบำรุง พระพุทธเจ้า
วันละครั้งสองครั้งหรือสามครั้งไม่ขาด และท่านบำรุงพระศาสดาเท่าใด ก็บำรุง
พวกพระมหาเถระเท่านั้นเหมือนกัน วันนี้ ท่านเข้าถึงการนอนชนิดที่ไม่มีการ
ลุกขึ้นอีก เพราะเท้าเดินไม่ได้แล้ว อยากส่งข่าวไปจึงเรียกหาชายคนใดคนหนึ่ง
มา. คำว่า เข้าไปแล้วโดยส่วนแห่งทิศนั้น คือครั้นทูลอำลาพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้ว ก็เข้าไปหาในเวลาพระอาทิตย์ตก. คำว่า ค่อยยังชั่ว คือ ทุเลา
เบาลง. คำว่า หนักขึ้น คือ เจริญยิ่งได้แก่เพียบลง คือเป็นเวทนาที่กล้าแข็ง
คำว่า. มีแต่ความหนักขึ้นเป็นที่สุดปรากฏ ไม่มีความทุเลาลง คือก็ใน
สมัยที่เกิดเวทนาชนิดที่มีความตายเป็นที่สุดขึ้นมานั้น ย่อมเป็นเหมือนกระพือ
ลมบนไฟที่ลุกโพลง ตลอดเวลาที่ไออุ่นยังไม่ดับ ต่อให้ใช้ความเพียรใหญ่
ขนาดไหน ก็ไม่อาจทำให้เวทนานั้นระงับไปได้ แต่จะระงับไปได้ก็คือเมื่อไอ
อุ่นดับไปแล้ว ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรคิดว่า เวทนาของมหาเศรษฐี เป็น
เวทนาชนิดมีความตายเป็นที่สุด ไม่มีใครสามารถห้ามได้ ถ้อยคำที่เหลือ ใช้
ประโยชน์ไม่ได้ เราจักกล่าวธรรมกถาแก่มหาเศรษฐีนั้น.
และแล้วเมื่อกล่าวธรรมกถามานี้ กะคฤหบดีนั้น จึงกล่าวขึ้นต้น ว่า
เพราะเห็นในกรณีนี้. ในคำเหล่านั้น คำว่า เพราะฉะนั้น คือเพราะ

ขึ้นชื่อว่าผู้ที่ถือเอาจักษุด้วยการถือเอาทั้งสามอย่างอยู่ สามารถป้องกันเวทนาที่
ีมีความตายเป็นที่สุดที่บังเกิดขึ้นแล้วไม่มี. คำว่า จักไม่ยึดมั่นจักษุ คือจัก
ไม่ถือเอาจักษุด้วยการถือเอาทั้งสามอย่าง. คำว่า และความรู้แจ้งที่อาศัยจักษุ
ของเราก็ไม่มี
คือ และความรู้แจ้งที่อาศัยจักษุของเราก็จักไม่มี. รูปในอายตนะ
ท่านได้แสดงในหนหลังว่า รูป ก็ไม่มี แล้ว. ในที่นี้เมื่อจะแสดงแม้รูปใน
กามภพทั้งหมด ท่านจึงกล่าวอย่างนี้.
คำว่า โลกนี้ ก็ไม่มี หมายความว่า ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย หรือ
อาหารการกินตลอดถึงเครื่องนุ่งห่ม กระผมไม่ยึดติดทั้งนั้น. ก็แหละคำนี้ท่าน
แสดงเพื่อการไม่มีความสะดุ้งในปัจจัยทั้งหลาย. ส่วนในคำว่า โลกหน้า ก็ไม่
นี้ หมายความว่า ยกโลกมนุษย์ออกแล้ว ที่เหลือ ชื่อว่า โลกหน้า หรือโลก
อื่น คำนี้ ท่านกล่าวเพื่อการละความสะดุ้งนี้ว่าเรา เมื่อเกิดในเทวโลกโน้นแล้ว
จะเป็นในฐานะชื่อโน้น เราจะขบจะกินจะนุ่งจะห่ม สิ่งชื่อนี้. พระเถระปลด
เปลื้องจากความยึดถือทั้งสามอย่าง อย่างนี้ว่า ถึงสิ่งนั้น กระผมก็จะไม่ยึดติด
และความรู้แจ้งที่อาศัยความยึดติดนั้น ก็จะไม่มีแก่กระผมด้วย แล้วจึงจบเทศน์
ลงด้วยยอดคือ พระอรหัต.
คำว่า แช่ลง คือ ท่านได้เห็นสมบัติของตนแล้ว ย่อมเกิด ย่อม
แช่แฉะในอารมณ์ทั้งหลาย. เมื่อท่านพระอานนท์ว่าดังที่กล่าวมานี้แล้ว ก็สำคัญ
อยู่ว่า ขนาดคฤหบดีนี้ ซึ่งมีความเชื่อความเลื่อมใสอย่างนี้ ยังกลัวตาย แล้ว
คนอื่นใครเล่า จะไม่กลัว เมื่อจะทำให้แน่ใจแล้วให้โอวาทแก่คฤหบดีนั้นจึงได้
กล่าวอย่างนี้. คำว่า ธรรมกถาทำนองนี้ กระผมยังไม่เคยได้ฟังเลย.
คือ อุบาสกนี้กล่าวว่า ธรรมกถาทำนองนี้ แม้จากสำนักพระศาสดา กระผม
ก็ยังไม่เคยได้ฟังเลย. ถามว่า พระศาสดาไม่ทรงแสดงถ้อยคำที่ละเอียดลึกซึ้ง

แบบนี้หรือ. ตอบว่า ไม่ทรงแสดงก็หาไม่. แต่ทว่าถ้อยคำที่ทรงแสดงถึง
อายตนะภายใน 6 อายตนะภายนอก 6 พวกวิญญาณ 6 พวกผัสสะ 6 พวก
เวทนา 6 ธาตุ 6 ขันธ์ 5 อรูป 4 โลกนี้และโลกหน้า แล้วตรัสใส่ไว้ในความ
เป็นพระอรหันต์ด้วยอำนาจรูปที่ตาได้เห็นแล้ว เสียงที่หูได้ยินแล้ว กลิ่นรส-
โผฏฐัพพะที่จมูกลิ้นกายได้ทราบแล้วและธรรมารมณ์ที่ใจได้รู้แจ้งแล้ว ท่าน
คฤหบดีนี้ยังไม่เคยฟัง. เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง อุบาสกนี้ ยินดียิ่งในทาน เมื่อจะไปสำนักพระ-
พุทธเจ้าจึงไม่เคยไปมือเปล่า เมื่อจะไปก่อนฉันก็ให้คนเอาข้าวต้มและ
ของขบเคี้ยวเป็นต้นแล้วจึงไป เมื่อจะไปหลังฉันแล้ว ก็ให้เอาเนยใส น้ำผึ้ง
และน้ำอ้อยเป็นต้นแล้วจึงไป เมื่อไม่มีสิ่งนั้น ก็ให้แบกหามทรายเอาไปเกลี่ย
ลงในบริเวณพระคันธกุฎี ครั้นให้ทาน รักษาศีลเสร็จแล้วจึงกลับไปสู่เรือน.
เล่ากันว่า อุบาสกนี้มีคติแบบโพธิสัตว์ ฉะนั้น ตลอดเวลา 24 ปี โดยมาก
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส แต่ทานกถาเท่านั้นแก่อุบาสกว่า อุบาสก ธรรมดา
ว่าทานนี้ เป็นทางดำเนินของเหล่าโพธิสัตว์ เป็นทางดำเนินของเราด้วย เรา
ได้ให้ทานมาเป็นเวลาสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ท่านก็ชื่อว่าดำเนินตามทางที่เรา
ได้ดำเนินมาแล้วโดยแท้. ถึงพระมหาสาวกมีพระธรรมเสนาบดีเป็นต้น ในเวลา
ที่อุบาสกมาสู่สำนักของตน ๆ ก็แสดงแต่ทานกถาแก่ท่านเหมือนกัน . เพราะเหตุ
นั้นแล ท่านจึงว่า คฤหบดีธรรมกถาเห็นปานนี้ ย่อมไม่ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์
ผู้นุ่งห่มขาวเลย. มีคำที่ท่านอธิบายไว้อย่างนี้ว่า คฤหบดีสำหรับ พวกคฤหัสถ์
มีความพัวพันเหนียวแน่นแต่ในนา สวน เงิน ทอง คนใช้หญิง ชาย บุตร
และภรรยาเป็นต้น เอาแต่ความพอใจและความกลุ้มรุมอย่างแรง ถ้อยคำว่า
อย่าทำความอาลัยใยดีในสิ่งเหล่านี้ อย่าไปทำความพออกพอใจ ดังนี้ จึงไม่
ปรากฏ คือ ย่อมไม่ชอบใจแก่คฤหัสถ์เหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

คำว่า เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ความว่า
ทำไมจึงเข้าไปเฝ้า. เล่ากันมาว่า พอคฤหบดีนั้นเกิดในชั้นดุสิตเท่านั้น ก็เห็น
อัตภาพขนาดสามคาวุต โชติช่วงเหมือนกองทอง และสมบัติมีอุทยานและวิมาน
เป็นต้น จึงสำรวจดูว่า สมบัติของเรานี้ยิ่งใหญ่ เราได้ทำอะไรไว้ในถิ่นมนุษย์
หนอแล เห็นการกระทำอย่างยิ่งในไตรรัตน์ จึงคิดว่า ความเป็นเทพนี้เป็น
ที่ตั้งแห่งความประมาท เพราะว่าเมื่อเรามัวชื่นชมสมบัตินี้ ก็จะต้องมีความ
หลงลืมสติบ้างก็ได้ เอาล่ะ เราจะไปกล่าวชมพระเชตวันของเรา พระภิกษุสงฆ์
พระตถาคตเจ้า อริยมรรค และพระสารีบุตรเถระ มาจากนั้นแล้วจึงจะค่อย
เสวยสมบัติ เทพบุตรนั้นจึงได้ทำอย่างนั้น. เพื่อแสดงข้อความนั้น ท่านจึง
กล่าวคำว่า ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกะ เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น คำว่า
ที่พวกฤษีสร้องเสพแล้ว ได้แก่ ที่หมู่ภิกษุสร้องเสพแล้ว.
ครั้น กล่าวชมพระเชตวันด้วยคาถาแรกอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะกล่าวชม
อริยมรรค จึงได้กล่าวคำว่า การงานและความรู้ เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น
คำว่า การงาน หมายถึงมรรคเจตนา. คำว่า ความรู้ หมายถึงมรรคปัญญา.
คำว่า ธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นฝักฝ่ายแห่งสมาธิ. ท่านแสดงว่า ชีวิตของ
ผู้ที่ตั้งอยู่ในศีลว่าเป็นชีวิตที่สูงสุด ด้วยคำว่า ศีล ชีวิตที่สูงสุด.
อีกอย่างหนึ่ง ความเห็นและความดำริ ชื่อว่า ความรู้. ความพยายาม
ความระลึก และความตั้งใจมั่น ชื่อว่า ธรรม. การพูด การงาน และการ
เลี้ยงชีพ ชื่อว่า ศีล. ชีวิตของผู้ตั้งอยู่ในศีลนี้ เป็นชีวิตที่สูงสุด ชื่อว่า ชีวิต
อุดม.
คำว่า หมู่สัตว์ย่อมหมดจดด้วยสิ่งนี้ คือ หมู่สัตว์ย่อมบริสุทธิ์ ด้วย
มรรคที่ประกอบด้วยองค์ 8 นี้.

คำว่า เพราะเหตุนั้น คือเพราะเหตุที่หมดจดด้วยมรรค มิใช่
เพราะด้วยโคตรหรือทรัพย์. บาทคาถาว่า พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยอุบายที่
แยบคาย
คือพึงเลือกเฟ้นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งสมาธิอย่างแนบเนียน.
บาทคาถาว่า อย่างนี้จงจะหมดจดในธรรมนั้น คือด้วยลักษณะเช่นนี้จึง
จะหมดจดในอริยมรรคนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บาทคาถาว่า พึงเลือกเฟ้นธรรม
โดยอุบายที่แยบคาย คือ พึงเลือกเฟ้นธรรมคือขันธ์ 5 อย่างแนบเนียน.
บาทคาถาว่า อย่างนี้จึงจะหมดจดในธรรมนั้น คือ อย่างนี้จึงจะหมดจด
ในสัจจะทั้ง 4 ข้อนั้น.
บัดนี้ อนาถบิณฑิกเทพบุตร เมื่อจะกล่าวชมพระสารีบุตรเถระ จึง
ได้กล่าวว่า พระสารีบุตรนั่นแหละ เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น คำว่า พระ-
สารีบุตรนั่นแหละ
เป็นคำอวธารณะ (ห้ามข้อความอื่น) อนาถบิณฑิก
เทพบุตรย่อมกล่าวว่า พระสารีบุตรเท่านั้น เป็นผู้เลิศด้วยปัญญาเป็นต้นเหล่านี้.
คำว่า ด้วยความสงบระงับ คือ ด้วยความเข้าไปสงบกิเลส. คำว่า ถึงฝั่ง
คือถึงพระนิพพาน. อนาถบิณฑิกเทพบุตรย่อมกล่าวว่า ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
บรรลุพระนิพพาน ภิกษุรูปนั้นอย่างมากก็เท่านี้ ไม่มีใครที่เกินเลยพระเถระ
ไปได้. ที่เหลือในที่ทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอนาถปิณฑิโกวาทสูตร ที่ 1

2. ฉันโนวาทสูตร



[741] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคย
เป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล
ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาจุนทะ และท่านพระฉันนะ อยู่บนภูเขา
คิชฌกูฏ เฉพาะท่านพระฉันนะอาพาธ ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก.
[742] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น
เข้าไปหาท่านพระมหาจุนทะยังที่อยู่ แล้วได้กล่าวกะท่านพระมหาจุนทะดังนี้ว่า
ดูก่อนท่านจุนทะ มาเถิด เราจะเข้าไปหาท่านพระฉันนะยังที่อยู่ ได้ถามถึง
ความไข้ ท่านพระมหาจุนทะรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ต่อนั้น ท่านพระ-
สารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะ ได้เข้าไปหาท่านพระฉันนะยังที่อยู่ แล้ว
ทักทายปราศรัยกับท่านพระฉันนะ ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน
ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระสารีบุตร
ได้กล่าวกะท่านพระฉันนะดังนี้ว่า ดูก่อนท่านฉันนะ ท่านพอทน พอเป็นไป
ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลา ไม่กำเริบ ปรากฏความทุเลาเป็นที่สุด ไม่ปรากฏ
ความกำเริบหรือ.
ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว
ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด
ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.
[743] ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ลมเหลือประมาณกระทบขม่อมของ
กระผม เหมือนบุรุษมีกำลังเอาของแหลมคมทิ่มขม่อม ฉะนั้น กระผมจึงทน