เมนู

อรรถกถาธาตุวิภังคสูตร



ธาตุวิภังคสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับอย่างนี้:-
ในบทเหล่านั้น บทว่า จาริกํ ได้แก่ จาริกไปโดยรีบด่วน. บทว่า
สเจ เต อครุ ความว่า ถ้าไม่เป็นความหนักใจ คือ ไม่ผาสุกอะไรแก่ท่าน
บทว่า สเจ โส อนุชานาติ ความว่า ได้ยินว่า ภัคควะมีความคิดอย่างนี้ว่า
ธรรมดาบรรพชิตทั้งหลาย ย่อมมีอัธยาศัยต่างกัน คนหนึ่งมีหมู่เป็นที่มายินดี
คนหนึ่งยินดีอยู่คนเดียว ถ้าคนนั้นยินดีอยู่คนเดียว จักกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ
ท่านอย่าเข้ามา ข้าพเจ้าได้ศาลาแล้ว ถ้าคนนี้ยินดีอยู่คนเดียว ก็จักพูดว่า ดูก่อน
ผู้มีอายุ ท่านจงออกไป ข้าพเจ้าได้ศาลาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็จักเป็น
เหตุให้คนทั้งสองทำการทะเลาะกัน ธรรมดาสิ่งที่ให้แล้ว ก็ควรเป็นอันให้แล้ว
เทียว สิ่งที่ทำแล้ว ก็ควรเป็นอันทำแล้วแล. เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนี้.
บทว่า กุลปุตฺโต ได้แก่ กุลบุตรโดยชาติบ้าง กุลบุตรโดยมรรยาทบ้าง. บท
ว่า วาสูปคโต ได้แก่เข้าไปอยู่แล้ว. ถามว่า กุลบุตรนั้น มาจากไหน. ตอบว่า
จากนครตักกศิลา. ในเรื่องนั้นมีการเล่าโดยลำดับดังนี้.
ได้ยินว่า ครั้นเมื่อพระเจ้าพิมพิสารเสวยราชสมบัติในพระนครราชคฤห์
ในมัชฌิมประเทศ พระเจ้าปุกกุสาติเสวยราชสมบัติในพระนครตักกศิลา ในปัจ-
จันตประเทศ. ครั้งนั้น พ่อค้าทั้งหลายต่างก็เอาสินค้าจากพระนครตักกศิลามา
สู่พระนครราชคฤห์ นำบรรณาการไปถวายแต่พระราชา. พระราชาตรัสถามพ่อค้า
เหล่านั้น ผู้ยืนถวายบังคมว่า พวกท่านอยู่ที่ไหน. ขอเดชะ อยู่ในพระนคร.
ตักกศิลา. ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามถึงความเกษม และความที่ภิกษาหาได้
ง่ายเป็นต้น ของชนบทและประวัติแห่งพระนครกะพ่อค้าเหล่านั้นแล้ว ตรัสถาม

ว่า พระราชาของพวกท่านมีพระนามอย่างไร. พระนามว่า ปุกกุสาติ พระพุทธ
เจ้าข้า. ทรงดำรงอยู่ในธรรมหรือ. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ทรงดำรงอยู่ใน
ธรรม ทรงสงเคราะห์ชนด้วยสังคหวัตถุสี่ ทรงดำรงอยู่ในฐานะมารดาบิดาของ
โลก ทรงยังชนดุจทารกนอนบนตักให้ยินดี. ทรงมีวัยเท่าใด. ลำดับนั้น พวก
พ่อค้าทูลบอกวัยแด่พระราชานั้น. ทรงมีวัยเท่ากับพระเจ้าพิมพิสาร. ครั้งนั้น
พระราชาตรัสกะพ่อค้าเหล่านั้นว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย พระราชาของพวกท่าน
ดำรงอยู่ในธรรม และทรงมีวัยเท่ากับเรา พวกท่านพึงอาจเพื่อทำพระราชา
ของพวกท่านให้เป็นมิตรกับเราหรือ. อาจ พระพุทธเจ้าข้า. พระราชาทรงสละ
ภาษีแก่พ่อค้าเหล่านั้น ทรงไห้พระราชทานเรือนแล้วตรัสว่า พวกท่านประสงค์
ในเวลาขายสินค้ากลับไป พวกท่านพึงพบเราแล้วจึงกลับไปดังนี้. พ่อค้าเหล่า
นั้น ทำอย่างนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระราชาในเวลากลับ. พระราชาตรัสว่า พวก
ท่านจงกลับ ไป พวกท่านจงทูลถามถึงความไม่มีพระโรคบ่อย ๆ ตามคำของเรา
แล้วทูลว่า พระราชาทรงพระประสงค์มิตรภาพกับพระองค์. พ่อค้าเหล่านั้น
ทูลรับพระราชโองการแล้ว ไปรวบรวมสินค้า รับประทานอาหารเช้าแล้ว
เข้าไปถวายบังคมพระราชา. พระราชาตรัสถามว่า แนะพนาย พวกท่านไปไหน
ไม่เห็นหลายวันแล้ว. พวกพ่อค้าทูลบอกเรื่องราวทั้งหมดแด่พระราชา. พระ-
ราชาทรงมีพระหฤทัยยินดีว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย เป็นการดีเช่นกับเรา พระราชา
ในมัชฌิมประเทศได้มิตรแล้วเพราะอาศัยพวกท่าน.
ในเวลาต่อมา พ่อค้าทั้งหลายแม้อยู่ในพระนครราชคฤห์ ก็ไปสู่
พระนครตักกศิลา. พระเจ้าปุกกุสาติตรัสถามพ่อค้าเหล่านั้น ผู้ถือบรรณา-
การมาว่า พวกท่านมาจากไหน. พระราชาทรงสดับว่าจากพระนคร
ราชคฤห์จึงตรัสว่า พวกท่านมาจากพระนครของพระสหายเรา. อย่างนั้น
พระพุทธเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามถึงความไม่มีพระโรคว่า พระสหายของ

เราไม่มีพระโรคหรือ แล้วทรงให้ตีกลองประกาศว่า จำเดิมแต่วันนี้ พวกพ่อ
ค้าเดินเท้า หรือ พวกเกวียนเหล่าใด มาจากพระนครของพระสหายเรา จำเดิม
แต่กาลที่พ่อค้าทั้งปวง เข้ามาสู่เขตแดนของเรา จงไห้เรือนเป็นที่พักอาศัยและ
เสบียงจากพระคลังหลวง จงสละภาษี อย่าทำอันตรายใด ๆ แก่พ่อค้าเหล่านั้น
ดังนี้. ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารก็ทรงให้ตีกลองประกาศเช่นนี้ เหมือนกันในพระนคร
ของพระองค์. ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงส่งพระบรรณาการแก่พระเจ้า
ปุกกุสาติว่า รัตนะทั้งหลายมีแก้วมณีและมุกดาเป็นต้น ย่อมเกิดในปัจจันตประเทศ
รัตนะใดที่ควรเห็น หรือควรฟัง เกิดขึ้นในราชสมบัติแห่งพระสหายของเรา
ขอพระสหายเราจงอย่าทรงตระหนี่ในรัตนะนั้น . ฝ่ายพระเจ้าปุกกุสาติ ก็ทรง
ส่งพระราชบรรณาการตอบไปว่า ธรรมดามัชฌิมประเทศเป็นมหาชนบท รัตนะ
เห็นปานนี้ใด ย่อมเกิดในมหาชนบทนั้น ขอพระสหายของเราจงอย่าทรง
ตระหนี่ในรัตนะนั้น. เนื้อกาลล่วงไป ๆ อย่างนี้ พระราชาเหล่านั้น แม้ไม่
ทรงเห็นกัน ก็เป็นมิตรแน่นแฟ้น. เมื่อพระราชาทั้งสองพระองค์นั้น ทรงทำ
การตรัสอยู่อย่างนี้ บรรณาการย่อมเกิดแก่พระเจ้าปุกกุสาติก่อน. ได้ยินว่า
พระราชาทรงได้ผ้ากัมพล 8 ผืน อันหาค่ามิได้ มีห้าสี. พระราชานั้นทรง
พระดำริว่า ผ้ากัมพลเหล่านี้งามอย่างยิ่ง เราจักส่งให้พระสหายของเรา. ทรง
ส่งอำมาตย์ทั้งหลายด้วยพระดำรัสว่า พวกท่านจงให้ทำผอบแข็งแรง 8 ผอบ
เท่าก้อนครั่งใส่ผ้ากัมพลเหล่านั้น ในผอบเหล่านั้น ให้ประทับด้วยครั้งพันด้วยผ้า
ขาว ใส่ในหีบพันด้วยผ้า ประทับด้วยตราพระราชลัญจกรแล้วถวายแก่พระสหาย
ของเรา และได้พระราชทานพระราชสาส์นว่า บรรณาการนี้ อันเราผู้อำมาตย์
เป็นต้น แวดล้อมแล้ว เห็นในท่ามกลางพระนคร. อำมาตย์เหล่านั้น ไปทูลถวาย
แด่พระเจ้าพิมพิสาร.

พระเจ้าพิมพิสารนั้น ทรงสดับพระราชสาส์น ทรงให้ตีกลองประกาศว่า
ชนทั้งหลายมีอำมาตย์เป็นต้น จงประชุม ดังนี้ อันอำมาตย์เป็นต้นแวดล้อม
แล้วในท่ามกลางพระนคร ทรงมีพระเศวตฉัตรกั้นประทับนั่งบนพระราชบัลลังก์
อันประเสริฐ ทรงทำลายรอยประทับ เปิดผ้าออก เปิดผอบ แก้เครื่องภายใน
ทรงเห็นก้อนครั่ง ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าปุกกุสาติพระสหายของเรา คง
สำคัญว่า พระสหายของเรามีพระราชหฤทัยรุ่งเรือง จึงทรงส่งพระราชบรรณา
การนี้ไปให้ดังนี้. ทรงจับก้อนอันหนึ่งแล้วทรงทุบด้วยพระหัตถ์ พิจารณาดู
ก็ไม่ทรงทราบว่า ภายในมีเครื่องผ้า. ลำดับนั้น ทรงที่ก้อนนั้นที่เชิงพระราช-
บัลลังก์. ทันใดนั้น ครั่งก็แตกออก. พระองค์ทรงเปิดผอบด้วยพระนขา ทรง
เห็นกัมพลรัตนะภายในแล้ว ทรงให้เปิดผอบทั้งหลาย แม้นอกนี้. แม้ทั้งหมด
ก็เป็นผ้ากัมพล. ลำดับนั้น ทรงให้คลีผ้ากัมพลเหล่านั้น. ผ้ากัมพลเหล่านั้น
ถึงพร้อมด้วยสี ถึงพร้อมด้วยผัสสะ ยาว 16 ศอก กว้าง 8 ศอก. มหาชนทั้ง
หลาย เห็นแล้วกระดิกนิ้ว ทำการยกผ้าเล็ก ๆ ขึ้น พากันดีใจว่า พระเจ้า
ปุกกุสาติ พระสหายไม่เคยพบเห็นของพระราชาแห่งพวกเรา ไม่ทรงเห็นกัน
เลย ยังทรงส่งพระราชบรรณาการเห็นปานนี้ สมควรแท้เพื่อทำพระราชาเห็น
ปานนี้ให้เป็นมิตร. พระราชาทรงให้ตีราคาผ้ากัมพลแต่ละผืน. ผ้ากัมพลทุกผืน
หาค่ามิได้. ในผ้ากัมพลแปดผืนนั้น ทรงถวายสี่ผืนแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
ทรงไว้ใช้สี่ผืนในพระราชวังของพระองค์. แต่นั้น ทรงพระราชดำริว่า การที่
เราเมื่อจะส่งภายหลัง ก็ควรส่งบรรณาการดีกว่าบรรณาการที่ส่งแล้วก่อน ก็
พระสหายได้ส่งบรรณาการอันหาค่ามิได้แก่เรา เราจะส่งอะไรดีหนอ. ก็ในกรุง
ราชคฤห์ไม่มีวัตถุที่ดียิ่งกว่านั้นหรือ. ไม่มีหามิได้พระราชาทรงมีบุญมาก ก็อีก
ประการหนึ่ง จำเดิมแต่กาลที่พระองค์ทรงเป็นพระโสดาบันแล้ว เว้นจากพระ-

รัตนตรัยแล้ว ไม่มีสิ่งใดอื่น ที่ชื่อว่า สามารถเพื่อยังพระโสมนัสให้เกิดขึ้นได้.
พระองค์จึงทรงปรารภเพื่อทรงเลือกรัตนะ.
ธรรมดารัตนะ มี 2 อย่างคือ มีวิญญาณ ไม่มีวิญญาณ. ในรัตนะ
2 อย่างนั้น รัตนะที่ไม่มีวิญญาณ ได้แก่ ทอง และเงินเป็นต้น ที่มีวิญญาณ
ได้แก่สิ่งที่เนื่องกับ อินทรีย์. รัตนะที่ไม่มีวิญญาณเป็นเครื่องใช้ ด้วยสามารถ
แห่งเครื่องประดับ เป็นต้น ของรัตนะที่มีวิญญาณนั้นเทียว. ในรัตนะ 2 อย่าง
นี้ รัตนะที่มีวิญญาณประเสริฐที่สุด. รัตนะแม้มีวิญญาณมี 2 อย่าง คือ ติรัจ-
ฉานรัตนะ มนุษยรัตนะ. ในรัตนะ 2 อย่างนั้น ดิรัจฉานรัตนะ ได้แก่ ช้าง
แก้วและม้าแก้ว. ดิรัจฉานรัตนะแม้นั้น เกิดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องใช้ของมนุษย์
ทั้งหลายนั้นเทียว. ในรัตนะ 2 อย่างนั้น มนุษยรัตนะประเสริฐที่สุดด้วยประการ
ฉะนี้ . แม้มนุษยรัตนะก็มี 2 อย่างคือ อิตถีรัตนะ ปุริสรัตนะ. ในรัตนะ 2
อย่างนั้น แม้อิตถีรัตนะ ซึ่งเกิดแก่พระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมเป็นอุปโ ภคของ
บุรุษแล. ในรัตนะ 2 อย่างนี้ ปุริสรัตนะเทียว ประเสริฐที่สุดด้วยประการฉะนี้.
แม้ปุริสรัตนะก็มี 2 อย่างคือ อาคาริกรัตนะ 1 อนาคาริกรัตนะ 1. แม้ใน
อาคาริกรัตนะนั้น พระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงนมัสการสามเณรที่บวชในวันนี้
ด้วยพระเบญจางคประดิษฐ์. ในรัตนะทั้ง 2 อย่างแม้นี้ อนาคาริกรัตนะเท่านั้น
ประเสริฐที่สุด. แม้อนาคาริกรัตนะก็มี 2 อย่างคือ เสกขรัตนะ 1 อเสกรัตนะ 1.
ในอนาคาริกรัตนะ 2 อย่างนั้น พระเสกขะตั้งแสนย่อมไม่ถึงส่วนแห่งพระอเสกขะ.
ในรัตนะ 2 อย่างแม้นี้ อเสกขรัตนะเท่านั้น ประเสริฐที่สุด. อเสกขรัตนะ
แม้นั้น ก็มี 2 อย่างคือ พุทธรัตนะ สาวกรัตนะ. ในอเสกขรัตนะนั้น
สาวกรัตนะแม้ตั้งแสน ก็ไม่ถึงส่วนของพุทธรัตนะ. ในรัตนะ 2 อย่างแม้นี้
พุทธรัตนะเท่านั้น ประเสริฐที่สุดด้วยประการฉะนี้. แม้พุทธรัตนะก็มี 2 อย่าง
ชื่อ ปัจเจกพุทธรัตนะ สัพพัญญูพุทธรัตนะ ในพุทธรัตนะนั้น ปัจเจก

พุทธรัตนะแม้ตั้งแสน ก็ไม่ถึงส่วนของสัพพัญญูพุทธเจ้า. ในรัตนะ 2 อย่าง
แม้นี้ สัพพัญญูพุทธรัตนะเท่านั้น ประเสริฐที่สุดด้วยประการฉะนี้. ก็ขึ้นชื่อว่า
รัตนะที่เสมอด้วยพุทธรัตนะย่อมไม่มีในโลกพร้อมทั้งเทวโลก. เพราะฉะนั้น
จึงทรงพระราชดำริว่า เราจักส่งรัตนะที่ไม่มีอะไรเสมอเท่านั้น แก่พระสหาย
ของเรา จึงตรัสถามพวกพ่อค้าชาวนครตักกศิลาว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย รัตนะ
3 อย่างนี้คือ พุทธะ ธรรมะ สังฆะ ย่อมปรากฏในชนบทของพวกท่านหรือ.
ข้าแต่มหาราช แม้เสียงก็ไม่มีในชนบทนั้น ก็การเห็นจักมีแต่ที่ไหนเล่า.
พระราชาทรงยินดีแล้ว ทรงพระราชดำริว่า เราอาจเพื่อจะส่ง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปสู่สถานที่เป็นที่อยู่ของพระสหายเรา เพื่อประโยชน์แก่
การสงเคราะห์ชน แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะไม่ทรงแรมคืนในปัจจันตชนบท
ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระศาสดาจะไม่อาจเสด็จไป พึงอาจส่งพระมหาสาวก
มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นต้น แต่เราฟังมาว่า พระเถระทั้งหลาย
อยู่ในปัจจันตชนบทสมควรเพื่อส่งคนทั้งหลายไปนำพระเถระเหล่านั้นมาสู่ที่ใกล้
ตนแล้ว บำรุงเทียว เพราะฉะนั้น แม้พระเถระทั้งหลายไม่อาจไป ครั้นส่ง
สาส์นไปแล้ว ด้วยบรรณาการใด พระศาสดาและพระมหาสาวกทั้งหลายก็เป็น
เหมือนไปแล้ว เราจักส่งสาส์นด้วยบรรณาการนั้น ดังนี้ ทรงพระราชดำริอีกว่า
เราให้ทำแผ่นทองคำ ยาว สี่ศอก กว้างประมาณ หนึ่งคืบ หนาพอควร.
ไม่บางนัก ไม่หนานัก แล้วจักลิขิตอักษรลงในแผ่นทองคำนั้นในวันนี้ ทรง
สนานพระเศียรตั้งแต่เช้าตรู่ ทรงอธิษฐานองค์พระอุโบสถทรงเสวยพระยาหาร
เช้า ทรงเปลื้องพระสุคนธมาลาและอาภรณ์ออก ทรงถือชาดสีแดงด้วยพระ-
ขันทอง ทรงปิดพระทวารทั้งหลาย ตั้งแต่ชั้นล่าง เสด็จขึ้นพระปราสาท
ทรงเปิดพระสีหบัญชรด้านทิศตะวันออก ประทับนั่งบนพื้นอากาศ ทรงลิขิต
พระอักษรลงในแผ่นทองคำ ทรงลิขิตพระพุทธคุณโดยเอกเทศก่อนว่า พระ-

ตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จ
ไปดี ทรงรู้แจ้งโลก ทรงเป็นสารถีฝึกตนอย่างยอดเยี่ยม เป็นพระศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงตื่นแล้ว ทรงจำแนกพระธรรม เสด็จอุบัติ
ในโลกนี้ ดังนี้.
ต่อแต่นั้น ทรงลิขิตว่า พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมี 10 ทัศ
อย่างนี้ ทรงจุติจากชั้นดุสิต ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์พระมารดา การ
เปิดโลกได้มีแล้วอย่างนี้ เมื่อทรงอยู่ในพระครรภ์มารดา ชื่อนี้ได้มีแล้ว เมื่อ
ทรงอยู่ครอบครองเรือน ชื่อนี้ได้มีแล้ว เมื่อเสด็จออกพระมหาภิเนษกรมณ์
อย่างนี้ ทรงเริ่มตั้งความเพียรอันยิ่งใหญ่อย่างนี้ ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างนี้
เสด็จขึ้นสู่ควงมหาโพธิ ประทับนั่งบนอปราชิตบัลลังก์แล้ว ทรงแทงตลอด
สัพพัญญูตญาณ เมื่อทรงแทงตลอดสัพพัญญูตญาณ เป็นอันมีการเปิดโลก
แล้วอย่างนี้ ในชื่อว่ารัตนะเห็นปานนี้ อื่นไม่มีในโลกพร้อมกับเทวโลก ดังนี้
ทรงลิขิตพระพุทธคุณทั้งหลายโดยเอกเทศอย่างนี้ว่า
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่าง-
หนึ่งในโลกนี้ หรือโลกอื่น หรือรัตนะใด
อันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้น
เสมอด้วยพระตถาคตไม่มี พุทธรัตนะแม้นี้
เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยคำสัตย์นี้
ขอความสวัสดีจงมี ดังนี้

เมื่อจะทรงชมเชยธรรมรัตนะที่สองว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดี
แล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้แล้ว ทรงลิขิตโพธิปัก-
ขิยธรรม 37 ประการ โดยเอกเทศว่า สติปัฏฐานสี่ ฯลฯ มรรคมีองค์แปด

อันประเสริฐ ชื่อว่า พระธรรมอันพระศาสดาทรงแสดงแล้ว เห็นปานนี้และ
เห็นปานนี้ ดังนี้ แล้วทรงลิขิตพระธรรมคุณทั้งหลายโดยเอกเทศว่า
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรง
สรรเสริญแล้ว ซึ่งสมาธิใดว่าเป็นธรรม
อันสะอาด บัณฑิตทั้งหลายกล่าว ซึ่งสมาธิ
ใดว่า ให้ผลในลำดับ สมาธิอื่นเสมอด้วย
สมาธินั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็น
รัตนะอันประณีต ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความ
สวัสดีจงมี ดังนี้

ต่อแต่นั้น เมื่อจะทรงชมเชยพระสังฆรัตนะที่สามว่า พระสงฆ์สาวกของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นเนื้อนาบุญของโลก ดังนี้ ทรงลิขิต
จุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีลโดยเอกเทศว่า ธรรมดากุลบุตรทั้งหลาย
ฟังธรรมกถาของพระศาสดาแล้ว ออกบวชอย่างนี้ บางพวกละเศวตฉัตรบวช
บางพวกละความเป็นอุปราชบวช บางพวกละตำแหน่งทั้งหลายมีตำแหน่งเสนาบดี
เป็นต้นบวช ก็แล ครั้นบวชแล้ว บำเพ็ญปฏิบัตินี้ ทรงลิขิตการสำรวมใน
ทวารหก สติสัมปชัญญะ ความยินดีในการเจริญสันโดษด้วยปัจจัยสี่ การละนีวรณ์
บริกรรมฌานและอภิญญา กรรมฐาน 38 ประการ จนถึงความสิ้นไปแห่ง
อาสวะโดยเอกเทศ ทรงลิขิตอานาปานสติกรรมฐาน 6 ประการ โดยพิสดาร
เทียว ทรงลิขิตพระสังฆคุณทั้งหลายโดยเอกเทศว่า ชื่อว่า พระสงฆ์สาวกของ
พระศาสดาถึงพร้อมด้วยคุณทั้งหลายเห็นปานนี้ และเห็นปานนี้
บุคคลเหล่าใด 8 จำพวก 4 คู่ อัน
สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว บุคคล

เหล่านั้นควรแก่ทักษิณาทาน เป็นสาวก
ของพระสุคต ทานทั้งหลายอันบุคคล
ถวายแล้ว ในท่านเหล่านั้นย่อมมีผลมาก
สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วย
คำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

ทรงลิขิตว่า ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสดีแล้ว เป็นศาสนา
นำสัตว์ออกจากทุกข์ ถ้าพระสหายของเราจะอาจไซร้ ขอได้เสด็จออกทรงผนวช
เถิด ดังนี้ ทรงม้วนแผ่นทองคำ พันด้วยผ้ากัมพลเนื้อละเอียด ทรงใส่ในหีบ
อันแข็งแรง ทรงวางหีบนั้นในหีบทองคำ ทรงวางหีบทองคำลงในหีบเงิน
ทรงวางหีบเงินลงในหีบแก้วมณี ทรงวางหีบแก้วมณีลงในหีบแก้วประพาฬ
ทรงวางหีบแก้วประพาฬลงในหีบทับทิม ทรงวางหีบทับทิมลงในหีบแก้วมรกต
ทรงวางหีบแก้วมรกตลงในหีบแก้วผลึก ทรงวางหีบแก้วผลึกลงในหีบงา ทรง
วางหีบงาลงในหีบรัตนะทุกอย่าง ทรงวางหีบรัตนะทุกอย่างลงในหีบเสื่อลำแพน
ทรงวางหีบเสื่อลำแพนลงในผอบแข็งแรง
ทรงวางผอบแข็งแรงลงในผอบทองอีก ทรงนำไปโดยนัยก่อนนั้นเทียว
กรงวางผอบที่ทำด้วยรัตนะทุกอย่างลงในผอบที่ทำด้วยเสื่อลำแพน. แต่นั้น
กรงวางผอบที่ทำด้วยเสื่อลำแพนลงในหีบที่ทำด้วยไม้แก่น ทรงนำไปโดย
นัยกล่าวแล้วอีกนั้นเทียว ทรงวางหีบที่ทำด้วยรัตนะทุกชนิดลงในหีบที่ทำด้วย
เสื่อลำแพน ข้างนอกทรงพันด้วยผ้าประทับตราพระราชลัญจกร ตรัสสั่งอำมาตย์
ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงตกแต่งทางในสถานที่ซึ่งอยู่ในอำนาจของเรา
ทำให้กว้างแปดอุสภะ สถานที่สี่อุสภะ ต้องให้งามเสมอ ท่านทั้งหลายจงตก
แต่งสถานที่สี่อุสภะ ในท่ามกลางด้วยอานุภาพของพระราชา. แต่นั้น ทรงส่ง

ทูตด่วน แก่ข้าราชการภายในว่า จงประดับช้างมงคล จัดบัลลังก์บนช้างนั้น
ยกเศวตฉัตร ทำถนนพระนครให้สวยงาม ประดับประดาอย่างดี ด้วยธงปฏาก
อันงดงาม ต้นกล้วย หม้อน้ำที่เต็ม ของหอม ธูป และดอกไม้เป็นต้น จง
ทำบูชาเห็นปานนี้ ในสถานที่ครอบครองของตน ๆ ดังนี้ ส่วนพระองค์ทรง
ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง อันกองกำลังพร้อมกับดนตรีทุกชนิดแวด-
ล้อม ทรงพระราชดำริว่า เราจะส่งบรรณาการไปดังนี้ เสด็จไปจนสุดพระราช
อาณาเขตของพระองค์แล้ว ได้พระราชทานพระราชสาส์นสำคัญแก่อำมาตย์
แล้วตรัสว่า ดูก่อนพ่อ พระเจ้าปุกกุสาติพระสหายของเรา เมื่อจะทรงรับ
บรรณาการนี้ อย่ารับในท่ามกลางตำหนักนางสนมกำนัล จงเสด็จขึ้นพระ
ปราสาทแล้วทรงรับเถิด. ครั้นพระราชทานพระราชสาส์นนี้แล้ว ทรงพระราช
ดำริว่า พระศาสดาเสด็จไปสู่ปัจจันตประเทศ ทรงนมัสการด้วยพระเบญจางค-
ประดิษฐ์แล้วเสด็จกลับ. ส่วนข้าราชการภายในทั้งหลาย ตกแต่งทางโดย
ทำนองนั้นเทียว นำไปซึ่งพระราชบรรณาการ.
ฝ่ายพระเจ้าปุกกุสาติ ทรงตกแต่งทางโดยทำนองนั้น ตั้งแต่รัชสีมา
ของพระองค์ ทรงให้ประดับประดาพระนคร ได้ทรงกระทำการต้อนรับพระ-
ราชบรรณาการ. พระราชบรรณาการเมื่อถึงพระนครตักกศิลา ได้ถึงในวัน
อุโบสถ. ฝ่ายอำมาตย์ผู้รับพระราชบรรณการไปทูลบอกพระราชสาส์นที่กล่าว
แต่พระราชา. พระราชาทรงสดับพระราชสาส์นนั้นแล้ว ทรงพิจารณากิจ
ควรทำแก่อำมาตย์ทั้งหลายผู้มาพร้อมกับพระราชบรรณาการ ทรงถือพระราช
บรรณาการ เสด็จขึ้นสู่พระปราสาทแล้วตรัสว่า ใคร ๆ อย่าเข้ามาในที่นี้
ทรงให้ทำการรักษาที่พระทวาร ทรงเปิดพระสีหบัญชร ทรงวางพระราช
บรรณาการ บนที่พระบรรทมสูง ส่วนพระองค์ประทับนั่งบนอาสนะต่ำ ทรง
ทำลายรอยประทับ ทรงเปลื้องเครื่องห่อหุ้ม เมื่อทรงเปิดโดยลำดับจำเดิมแต่

หีบเสื่อลำแพน ทรงเห็นหีบซึ่งทำด้วยแก่นจันทร์ ทรงพระราชดำริว่า ชื่อว่า
มหาบริวารนี้ จักไม่มีแก่รัตนะอื่น รัตนะที่ควรฟังได้เกิดขึ้นแล้ว ในมัชฌิม
ประเทศแน่แท้. ลำดับนั้น ทรงเปิดหีบนั้นแล้ว ทรงทำลายรอยประทับ พระ-
ราชลัญจนะ ทรงเปิดผ้ากัมพลอันละเอียดทั้งสองข้าง ทรงเห็นแผ่นทองคำ.
พระองค์ทรงคลี่แผ่นทองคำนั้นออก ทรงพระราชดำริว่า พระอักษรทั้งหลาย
น่าพอใจจริงหนอ มีหัวเท่ากัน มีระเบียบเรียบร้อย มีมุมสี่ ดังนี้ ทรงปรารภ
เพื่อจะทรงอ่านจำเดิมแต่ต้น . พระโสมนัสอัน มีกำลังได้เกิดขึ้นแก่พระองค์ที่
ทรงอ่านแล้วอ่านอีกซึ่งพระพุทธคุณทั้งหลายว่า พระตถาคตทรงอุบัติขึ้นแล้ว
ในโลกนี้ ขุมพระโลมาเก้าหมื่นเก้าพันขุม ก็มีปลายพระโลมชูชันขึ้น. พระ-
องค์ไม่ทรงทราบถึงความที่พระองค์ ประทับยืน หรือประทับนั่ง. ลำดับนั้น
พระปีติอันมีกำลังอย่างยิ่งได้บังเกิดขึ้นแก่พระองค์ว่า เราได้ฟังพระศาสนาที่หา
ได้โดยยากนี้ แม้โดยแสนโกฏิกัป. เพราะอาศัยพระสหาย. พระองค์เมื่อไม่อาจ
เพื่อทรงอ่านต่อไป ก็ประทับนั่งจนกว่ากำลังปีติสงบระงับ แล้วทรงปรารภ
พระธรรมคุณทั้งหลายต่อไปว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วดังนี้.
พระองค์ก็ทรงมีพระปีติอย่างนั้นแม้ในพระธรรมคุณนั้นเทียว. พระองค์ประทับ
นั่งอีกจนกว่าความสงบแห่งกำลังปีติ ทรงปรารภพระสังฆคุณทั้งหลายต่อไปว่า
พระสงฆ์สาวกเป็นผู้ปฏิบัติดี. ในพระสังฆคุณแม้นั้น พระองค์ก็ทรงมีพระปีติ
อย่างนั้นเหมือนกัน. ลำดับนั้น ทรงอ่านอานาปานสติกัมมัฏฐาน ในลำดับ
สุดท้าย ทรงยังฌานหมวดสี่และหมวดห้าให้เกิดขึ้น. พระองค์ทรงยังเวลาให้
ล่วงไป ด้วยความสุขในฌานนั้นและ. ใครอื่นย่อมไม่ได้เพื่อเห็น. มหาดเล็ก
ประจำพระองค์คนเดียวเท่านั้น ย่อมเข้าไปได้. ทรงยังเวลาประมาณกึ่งเดือน
ให้ผ่านไปด้วยประการฉะนี้.

ชาวพระนครทั้งหลายประชุมกันในพระลานหลวง ได้ทำการโห่ร้อง
ตะโกนว่า จำเดิมแต่วันที่พระราชาทรงรับพระราชบรรณาการแล้ว ไม่มีการ
ทอดพระเนตรพระนคร หรือ การทอดพระเนตรดูนางฟ้อนรำ ไม่มีการพระ
ราชทานวินิจฉัย พระราชาจงทรงพระราชทานพระราชบรรณาการที่พระสหาย
ส่งมาให้แก่ผู้รับไปเถิด ธรรมดาพระราชาทั้งหลาย ย่อมทรงพยายามเพื่อหลอก
ลวงแม้ด้วยเครื่องบรรณาการ ยึดพระราชสมบัติของพระราชาบางพระองค์ให้
แก่ตน พระราชาของพวกเราทรงทำอะไรหนอ ดังนี้. พระราชาทรงสดับ
เสียงทะโกนแล้วทรงพระราชดำริว่า เราจะธำรงไว้ซึ่งราชสมบัติหรือพระศาสดา.
ลำดับนั้น พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า ประธานและมหาอำมาตย์ของประธาน
ย่อมไม่อาจเพื่อจะนับความที่เราเสวยราชสมบัติได้ เราจักธำรงไว้ซึ่งพระศาสนา
ของพระศาสดา ดังนี้. ทรงจับพระแสงดาบที่ทรงวางไว้บนพระที่บรรทม ตัด
พระเกศาแล้วทรงเปิดพระสีหบัญชร ทรงยังกำพระเกศาพร้อมกับพระจุฑามณี
ให้ตกลงในท่ามกลางบริษัทว่า ท่านทั้งหลายถือเอากำเกศานี้ครองราชสมบัติ
เถิด. มหาชนยกกำพระเกศานั้นขึ้นแล้ว ร้องเป็นเสียงเดียวกันว่า ข้าแต่พระ-
สมมติเทพ พระราชาทั้งหลายชื่อว่าได้พระราชบรรณาการจากสำนักพระสหาย
แล้ว ย่อมเป็นเช่นกับพระองค์. พระเกศาและพระมัสสุประมาณสององคุลีแม้
ของพระราชาได้มีแล้ว. ได้ยินว่า พระเกศาและพระมัสสุเกิดเป็นเช่นกับ
บรรพชาของพระโพธิสัตว์นั้นแล. ลำดับนั้น ทรงส่งมหาดเล็กประจำพระองค์
ให้นำผ้ากาสาวพัสตร์สองผืน และบาตรดินจากในตลาดทรงอุทิศต่อพระศาสดา
ว่า พระอรหันต์เหล่าใดในโลก เราบวชอุทิศพระอรหันต์เหล่านั้น ดังนี้
แล้วทรงนุ่งผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง ทรงห่มผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง ทรงสะพายบาตรทรง
ถือธารพระกร ทรงจงกรมไปมา สอง-สามครั้ง ในพื้นใหญ่ด้วยพระราชดำริ
ว่า บรรพชาของเรางามหรือไม่ ดังนี้ ทรงทราบว่า บรรพชาของเรา

ดังนี้แล้ว ทรงเปิดพระทวาร เสด็จลงจากพระปราสาท. ก็ประชาชนทั้งหลาย
เห็นนางฟ้อนผู้ยืน ที่ประตูทั้งสามเป็นต้น แต่จำพระราชานั้นซึ่งเสด็จลงมาไม่
ได้. ได้ยินว่า พากันคิดว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง มาเพื่อแสดงธรรม
กถาแก่พระราชาของพวกเรา. แต่ครั้นขึ้นบนพระปราสาทแล้ว เห็นแต่ที่
ประทับยืนและที่ประทับนั่งเป็นต้นของพระราชารู้ว่า พระราชาเสด็จไปเสียแล้ว
จึงพากันร้องพร้อมกันทีเดียว เหมือนชนในเรือกำลังอับปางจมน้ำ ในท่าม
กลางสมุทรฉะนั้น. เสนีทั้งสิบแปด ชาวนครทั้งหมด และพลกายทั้งหลาย
พากันแวดล้อมกุลบุตร ผู้สักว่าเสด็จลงสู่พื้นแผ่นดินแล้ว ร้องเสียงดัง.
ฝ่ายอำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลแด่กุลบุตรนั้นว่า ข้าแต่เทวะ ธรรมดา
พระราชาทั้งหลายในมัชฌิมประเทศทรงมีมายามาก ขอพระองค์ได้โปรดส่ง
พระราชสาส์นไปว่า ขึ้นชื่อว่าพุทธรัตนะ ได้เกิดขึ้นในโลกแล้วหรือไม่ ทรง
ทราบแล้วจักเสด็จไป ขอเดชะ ขอพระองค์จงเสด็จกลับเถิด. เราเธอพระ
สหายของเรา เรากับพระสหายนั้นไม่มีความต่างกัน พวกเจ้าจงหยุดเถิด
อำมาตย์เหล่านั้น ก็ติดตามเสด็จนั้นเทียว. กุลบุตรทรงเอาธารพระกรขีดเป็น
ตัวหนังสือ ตรัสว่า ราชสมบัตินี้เป็นของใคร. ของพระองค์ ขอเดชะ ผู้ใด
ทำตัวหนังสือนี้ในระหว่าง บุคคลนั้น พึงให้เสวยพระราชอำนาจ. พระเทวี
พระนามว่า สีวลี เมื่อไม่ทรงอาจเพื่อทำพระอักษรที่พระโพธิสัตว์กระทำแล้ว
ในมหาชนกชาดก ให้มีระหว่างก็เสด็จกลับไป. มหาชนก็ได้ไปตามทางที่พระ-
เทวีเสด็จไป. ก็มหาชนไม่อาจเพื่อทำพระอักษรนั้นให้มีในระหว่าง. ชาว
นครทำพระอักษรนี้ไว้เหนือศีรษะกลับ ไปร้องแล้ว. มหาชนคิดว่ากุลบุตรนี้จัก
ให้ไม้สีฟันหรือน้ำบ้วนปาก ในสถานที่เราไปแล้ว ดังนี้ เมื่อไม่ได้อะไร
โดยที่สุดแม้เศษผ้าก็หลีกไป. ได้ยินว่า กุลบุตรนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า พระ
ศาสดาของเราเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงบรรพชาพระองค์เดียว เสด็จ

ไปพระองค์เดียว เราละอายต่อพระศาสดา ได้ยินว่า พระศาสดาของเราทรง
บรรพชาแล้ว ไม่เสด็จขึ้นยาน และไม่ทรงสวมฉลองพระบาท โดยที่สุด
แม้ชั้นเดียวไม่ทรงกั้นร่มกระดาษ. มหาชนขึ้นต้นไม้กำแพง และป้อมเป็นต้น
แลดูว่า พระราชาของเราเสด็จไปดังนี้. กุลบุตรคิดว่า เราเดินทางไกล ไม่
อาจเพื่อจะไปทางหนึ่งได้ จึงเสด็จติดตามพ่อค้าพวกหนึ่ง. เมื่อกุลบุตรผู้สุขุม
มาลไปในแผ่นดินที่ร้อนระอุ พื้นพระบาททั้งสองข้าง ก็กลัดหนองแตกเป็น
แผล. ทุกข์เวทนาก็เกิดขึ้น.
ครั้นเมื่อพวกพ่อค้าตั้งค่ายพักนั่งแล้ว กุลบุตรก็ลงจากทาง นั่ง ณ
โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง. ชื่อว่าผู้ทำบริกรรมเท้า หรือนวดหลังในที่นั่ง ไม่มี.
กุลบุตรเข้าอานาปานจตุตถฌาน ข่มความลำบากในทางความเหน็จเหนื่อยและ
ความเร่าร้อน ยังเวลาให้ผ่านไปด้วยความยินดีในฌาน. ในวันรุ่งขึ้น เมื่อ
อรุณขึ้นแล้วทำการปฏิบัติสรีระ เดินติดตามพวกพ่อค้าอีก. ในเวลาอาหารเช้า
พวกพ่อค้ารับบาตรของกุลบุตรแล้วใส่ขาทนียะและโภชนียะลงในบาตรถวาย.
ขาทนียะและโภชนียะนั้นเป็นข้าวสารดิบบ้าง เศร้าหมองบ้าง. แข็งเสมอกับก้อน
กรวดบ้าง จืด และเค็มจัดบ้าง. กุลบุตรพิจารณาสถานที่พัก บริโภคขาทนียะ
และโภชนียะนั้นดุจอมฤตโดยทำนองนั้น เดินไปสิ้นทาง 200 โยชน์ ต่ำกว่า
8 โยชน์ (192 โยชน์) แม้จะเดินไปใกล้ซุ้มประตูพระเชตวันก็ตาม แต่ก็ไม่
ถามว่า พระศาสดาประทับอยู่ ณ ที่ไหน. เพราะเหตุไร. เพราะเคารพใน
พระศาสดา และเพราะอำนาจแห่งพระราชสาส์น ที่พระราชาทรงส่งไป. ก็
พระราชาทรงส่งพระราชสาส์นไป ทรงทำดุจพระศาสดาทรงอุบัติในกรุงราชคฤห์
ว่า พระตถาคตทรงอุบัติในโลกนี้. เพราะฉะนั้น จึงไม่ถาม เดินทางไปสิ้น
5 โยชน์. ในเวลาพระอาทิตย์ตก กุลบุตรนั้นไปถึงกรุงราชคฤห์ จึงถามว่า
พระศาสดาทรงประทับ ณ ที่ไหน. ท่านมาจากที่ไหนขอรับ. จากอุตตรประ-

เทศนี้ พระนครชื่อว่า สาวัตถี มีอยู่ในทางที่ท่านมา ไกลจากพระนครราช-
คฤห์นี้ประมาณ 45 โยชน์ พระศาสดาประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถีนั้น. กุลบุตร
นั้นคิดว่า บัดนี้ไม่ใช่กาล เราไม่อาจกลับ วันนี้เราพักอยู่ในที่นี้ก่อน พรุ่งนี้จัก
ไปสู่สำนักพระศาสดา. แต่นั้นจึงถามว่า เหล่าบรรพชิตที่มาถึงในยามวิกาล
พัก ณ ที่ไหน. พัก ณ ศาลานายช่างหม้อนี้ ท่าน. ลำดับนั้น กุลบุตรนั้น
ขอพักกะนายช่างหม้อนั้นแล้ว เข้าไปนั่งเพื่อประโยชน์แก่การพักอาศัยในศาลา
ของนายช่างหม้อนั้น .
ในเวลาใกล้รุ่งวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลก ทรงเห็น
กุลบุตรชื่อว่า ปุกกุสาติ ทรงพระดำริว่า กุลบุตรนี้อ่านเพียงสาส์นที่พระสหาย
ส่งไป ละราชสมบัติใหญ่ เกินร้อยโยชน์ บวชอุทิศเจาะจงเรา เดินทางสิ้น
192 โยชน์ ถึงกรุงราชคฤห์ ก็เมื่อเราไม่ไปจักไม่แทงตลอดสามัญญผล 3
จะทำกาลกิริยาไร้ที่พึ่ง โดยการพักคืนเดียว แต่ครั้นเมื่อเราไปแล้ว จักแทง
ตลอดสามัญญผล 3 ก็เราบำเพ็ญบารมีทั้งหลายสิ้นสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป
เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ชนเท่านั้น เราจักทำการสงเคราะห์แก่กุลบุตร
ปุกกุสาตินั้น ดังนี้ ทรงทำการปฏิบัติพระสรีระ แต่เช้าตรู่ มีพระภิกษุสงฆ์
แวดล้อม เสด็จบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ภายหลังภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาต
เสด็จเข้าพระคันธกุฏิ ทรงระงับความลำบากในการเดินทางครู่หนึ่ง ทรงพระ-
ดำริว่า กุลบุตรได้ทำกิจที่ทำได้ยากเพราะความเคารพในเรา ละราชสมบัติเกิน
หนึ่งร้อยโยชน์ ไม่ถือเศษผ้า โดยที่สุดแม้คนผู้ให้น้ำบ้วนปาก ออกไปเพียงคน
เดียว ดังนี้ ไม่ตรัสอะไรในพระเถระทั้งหลายมีพระสารีบุตรและพระโมคคัล-
ลานะเป็นต้น พระองค์เองทรงถือบาตรและจีวรของพระองค์เสด็จออกไปเพียง
พระองค์เดียว และเมื่อเสด็จไป ก็ไม่ได้ทรงเหาะไป ไม่ทรงย่นแผ่นดิน. ทรง
พระดำริอีกว่า กุลบุตรละอายต่อเราไม่นั่งแม้ในยานหนึ่ง ในบรรดาช้าง ม้า

รถ และวอทองเป็นต้น โดยที่สุด ไม่สวมรองเท้าชั้นเดียว ไม่กางร่มกระดาษ
ออกไป แม้เราก็ควรไปด้วยเท้าเท่านั้น ดังนี้ จึงเสด็จไปด้วยพระบาท.
พระองค์ทรงปกปิดพระพุทธสิรินี้ คือ อนุพยัญชนะ 80 รัศมี 1 วา มหาปุริส
ลักษณะ 32 ประการ เสด็จไปด้วยเพศของภิกษุรูปหนึ่ง ดุจพระจันทร์เพ็ญ
ที่หมอกเมฆปกปิดไว้ฉะนั้น โดยปัจฉาภัตเดียวเท่านั้น ก็เสด็จไปได้ 45 โยชน์
ในเวลาพระอาทิตย์ตก ก็เสด็จถึงศาลาของนายช่างหม้อนั้น ในขณะที่กุลบุตร
เข้าไปแล้วนั้นแล. ท่านหมายถึงศาลาของนายช่างหม้อนั้น จึงกล่าวว่า ก็โดย
สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อว่าปุกกุสาติ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
อุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า เขาเข้าไปพักในนิเวศน์ของนายช่างหม้อนั้นก่อน ดังนี้
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ครั้นเสด็จไปอย่างนี้แล้ว ก็ไม่ทรงข่มขู่ว่า
เราเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จไปยังศาลาของนายช่างหม้อประทับ ยืนที่
ประตูนั้นแล เมื่อจะให้กุลบุตรทำโอกาส จึงตรัสว่า สเจ เต ภิกฺขุ ดังนี้
เป็นต้น. บทว่า อุรุทฺทํ ได้แก่ สงัดไม่คับแคบ. บทว่า วิหรตายสฺมา
ยถาสุขํ
ความว่า กุลบุตรทำโอกาสว่า ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอยู่เป็นสุข ตาม
อิริยาบถที่มีความผาสุกเถิด. ก็กุลบุตรละราชสมบัติเกินหนึ่งร้อยโยชน์แล้วบวช
จักตระหนี่ศาลาของนายช่างหม้อที่คนอื่นทอดทิ้ง เพื่อพรหมจารีอื่นหรือ.
ก็โมฆบุรุษบางพวกบวชในศาสนาแล้ว ถูกความตระหนี่ทั้งหลายมีความตระหนี่
เพราะอาวาสเป็นต้นครอบงำ ย่อมตะเกียกตะกาย เพราะอาวาสของบุคคลเหล่า
อื่นว่า สถานที่อยู่ของตน เป็นกุฏิของเรา เป็นบริเวณของเรา ดังนี้. บทว่า
นิสีทิ ความว่า พระโลกนาถทรงสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง ทรงละพระคันธกุฏิเป็น
เช่นกับ เทพวิมาน ทรงปูลาดสันถัต คือ หญ้า ในศาลาช่างหม้อ ซึ่งมีขี้เถ้า
เรี่ยราดไปทั่ว สกปรกด้วยภาชนะแตก หญ้าแห้ง ขี้ไก่และขี้สุกรเป็นต้น
เป็นเช่นกับที่ทิ้งขยะ ทรงปูปังสุกุลจีวรประทับนั่ง ดุจเสด็จเข้าพระมหาคันธ-

กุฏิ อันมีกลิ่นทิพย์เช่นกับเทพวิมานแล้วประทบนั่งฉะนั้น. ด้วยประการฉะนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอุบัติในพระมหาสัมมตวงศ์อันไม่เจือปน แม้กุลบุตร
ก็เจริญแล้วในขัตติยครรภ์. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงถึงพร้อมด้วยพระ-
อภินิหาร แม้กุลบุตรก็ถึงพร้อมด้วยอภินิหาร. พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี กุลบุตร
ก็ดี ต่างก็ทรงสละราชสมบัติทรงผนวช. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระ-
วรรณะดุจทอง แม้กุลบุตรก็มีวรรณะดุจทอง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี กุลบุตร
ก็ดี ทรงมีลาภคือสมาบัติ. ทั้งสองก็ทรงเป็นกษัตริย์ ทั้งสองก็ทรงถึงพร้อม
ด้วยพระอภินิหาร ทั้งสองก็ทรงผนวชจากราชตระกูล ทั้งสองทรงมีพระวรรณะ
ดุจทอง ทั้งสองทรงมีลาภ คือ สมาบัติ เสด็จเข้าสู่ศาลาของช่างหม้อแล้ว
ประทับนั่ง ด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้น ศาลาช่างหม้อ จึงงดงามอย่างยิ่ง.
พึงนำสถานที่ทั้งหลายเป็นต้นว่า ถ้ำที่พญาสัตว์ทั้งสองมีสีหะเป็นต้นเข้าไป
แสดงเปรียบเทียบเถิด.
ก็ในบุคคลทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงยังแม้พระหฤทัยให้
เกิดขึ้นว่า เราเป็นผู้สุขุมาล เดินทางมาสิ้น 45 โยชน์ โดยเวลาหลังภัตเดียว
ควรสำเร็จสีหไสยาสักครู่ก่อน ให้หายเหนื่อยจากการเดินทาง ดังนี้ ประทับ
นั่งเข้าผลสมาบัติเทียว. ฝ่ายกุลบุตรก็ไม่ยังจิตให้เกิดขึ้นว่า เราเดินทางมาสิ้น
192 โยชน์ ควรนอนพักบรรเทาความเหนื่อยในการเดินทางสักครู่ก่อน ก็นั่ง
เข้าอานาปานจตุตถฌานแล. ท่านหมายถึงการเข้าสมาบัตินั้น จึงกล่าวว่า
อถโข ภควา พหุเทว รตฺตึ เป็นต้น. ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา
ด้วยพระดำริว่า เราจักแสดงธรรมแก่กุลบุตรมิใช่หรือ เพราะเหตุไร จึงไม่
ทรงแสดงเล่า. ตอบว่า ไม่ทรงแสดงเพราะเหตุว่า กุลบุตรมีความเหน็จเหนื่อย
ในการเดินทางยังไม่สงบระงับ จักไม่อาจเพื่อรับพระธรรมเทศนาได้ ขอให้
ความเหน็จเหนื่อยในการเดินทางนั้นของกุลบุตรสงบระงับก่อน. อาจารย์พวก

อื่นกล่าวว่า ธรรมดานครราชคฤห์เกลือนกล่นด้วยมนุษย์ ไม่สงัดจากเสียง 10
อย่าง เสียงนั้นจะสงบโดยประมาณสองยามครึ่ง พระองค์ทรงรอการสงบเสียง
นั้นจึงไม่ทรงแสดง. นั้นไม่ใช่การณ์. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสามารถเพื่อ
ยังเสียง แม้ประมาณพรหมโลกให้สงบระงับได้ ด้วยอานุภาพของพระองค์.
พระองค์ทรงรอความสงบระงับจากความเหน็จเหนื่อยในการเดินทางก่อน จึงไม่
ทรงแสดง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุเทว รตฺตึ ได้แก่ประมาณสองยาม
ครึ่ง. บทว่า เอตทโหสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากผล
สมาบัติแล้ว ทรงลืมพระเนตรที่ประดับประดาด้วยประสาทห้าอย่าง ทรงแลดู
ดุจทรงเปิดสีหบัญชรแก้วมณี ในวิมานทองฉะนั้น.
ลำดับนั้น พระองค์ทรงเห็นกุลบุตรปราศจากการคะนองมือ การ
คะนองเท้าและการสั่นศีรษะ นั่งเหมือนเสาเขื่อนที่ฝังไว้อย่างดีแล้ว เหมือน
พระพุทธรูปทองไม่หวั่นไหว เป็นนิตย์ จึงตรัสว่า เอตํ ปาสาทิกํ นุโข
เป็นต้น . บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาสาทิโก คือนำมาซึ่งความเลื่อมใส.
ก็คำนั้นเป็นภาวนปุงสกลิงค์. ในคำนั้นมีเนื้อความดังนี้ว่า กุลบุตรย่อมเป็นไป
ด้วยอิริยาบถอันน่าเลื่อมใส เพราะฉะนั้น อิริยาบถเป็นกิริยาที่น่าเลื่อมใสโดย
ประการใด ก็ย่อมเป็นไปโดยประการนั้น. ในอิริยาบถทั้ง 4 อย่าง อิริยาบถ
3 อย่างย่อมไม่งาม. จริงอยู่ ภิกษุเดินไป มือทั้งหลายย่อมแกว่งเท้าทั้งหลาย
ย่อมเคลื่อนไป ศีรษะย่อมสั่น. กายของภิกษุผู้ยืน ย่อมแข็งกระด้าง. อิริยาบถ
แม้ของภิกษุผ้นอน ย่อมไม่น่าพอใจ. แต่เมื่อภิกษุปัดกวาดที่พักกลางวัน ใน
ปัจฉาภัต ปูแผ่นหนัง มีมือและเท้าชำระล้างดีแล้ว นั่งขัดสมาธิอันประกอบ
ด้วยสนธิสี่นั้นเทียว อิริยาบถย่อมงาม. ก็กุลบุตรนี้ขัดสมาธินั่งเข้าอานาปาน-
จตุตถฌาน. กุลบุตรประกอบด้วยอิริยาบถด้วยประการฉะนี้แล. พระผู้มีพร-
ภาคเจ้าทรงปริวิตกว่า กุลบุตรน่าเลื่อมใสหนอแล. ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงปริวิตกว่า เอาเถิดเราควรจะถามดูบ้าง แล้วตรัสถาม เพราะเหตุไร พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงรู้ความที่กุลบุตรนั้น เป็นผู้บวชอุทิศพระองค์หรือ. ตอบ
ว่า ไม่ทรงรู้หามิได้ แต่เมื่อไม่ตรัสถาม ถ้อยคำก็ไม่ตั้งขึ้น เมื่อถ้อยคำไม่ตั้ง
ขึ้นแล้ว การแสดงย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสถาม เพื่อเริ่มตั้งถ้อยคำ
ขึ้น. บทว่า ทิสฺวาปาหํ น ชาเนยฺยํ ความว่า ชนทั้งหมดย่อมรู้พระตถาคต
ผู้รุ่งโรจน์ด้วยพุทธสิริว่านี้พระพุทธเจ้า. การรู้นั้นไม่น่าอัศจรรย์. แต่พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงปกปิดพระพุทธรัศมีเสด็จไปด้วยอำนาจของภิกษุผู้บิณฑบาตรูป
หนึ่ง จึงรู้ได้ยาก ท่านปุกกุสาติกล่าวสภาพตามเป็นจริงว่า เราไม่รู้ด้วยประการ
ฉะนี้. ความจริงเป็นอย่างนั้น ท่านปุกสุสาติไม่รู้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น แม้
ประทับนั่ง ณ ศาลาช่างหม้อด้วยกัน.
บทว่า เอตทโหสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความเหน็จ-
เหนื่อยในการเดินทางสงบระงับแล้ว ทรงมีพระดำริ. บทว่า เอวมาวุโส
ความว่า กุลบุตรได้อ่านสักว่าสาส์นที่พระสหายส่งไป สละราชสมบัติออกบวช
ด้วยคิดว่าเราจักได้ฟังพระธรรมเทศนาอันไพเราะของพระทศพลครั้น บรรพชา
แล้วก็เดินทางไกลประมาณนี้ ก็ไม่ได้พระศาสดา ผู้ตรัสสักบทว่า ดูก่อนภิกษุ
เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน กุลบุตรนั้นจักไม่ฟังคำที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เราจัก
แสดงธรรมแก่ท่าน โดยเคารพหรือ. กุลบุตรนี้เป็นเหมือนนักเลงสุราที่กระหาย
และเหมือนช้างที่ตกมันฉะนั้น. เพราะฉะนั้น กุลบุตรเมื่อปฏิญาณถึงการฟังโดย
ความเคารพ จึงทูลว่า เอวมาวุโส ดังนี้. บทว่า ฉธาตุโร อยํ ความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสข้อปฏิบัติส่วนเบื้องต้นแก่กุลบุตร แต่ทรงปรารภเพื่อ
ตรัสบอกวิปัสสนาลักษณะเท่านั้น ซึ่งมีความว่างเปล่าอย่างยิ่งอัน เป็นปทัฏฐาน
แห่งพระอรหัต แต่เบื้องต้น. จริงอยู่ บุพภาคปฏิปทาของผู้ใด ยังไม่บริสุทธิ์
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสบอกบุพภาคปฏิปทานี้ คือ ศีลสังวร ความคุ้มครอง
ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ การประกอบเนือง ๆ

ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่น สัทธรรม 7 ฌาน 8 แก่ผู้นั้นก่อนเทียว. แต่
บุพภาคปฏิปทานั้น ของผู้ใด บริสุทธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่ตรัสบุพ-
ภาคปฏิปทานั้น แต่จักตรัสบอกวิปัสสนานั้นแล ซึ่งเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัต
แก่ผู้นั้น ก็บุพภาคปฏิปทาของกุลบุตรบริสุทธิ์แล้ว. จริงอย่างนั้น กุลบุตร
นั้นอ่านพระสาส์นแล้วขึ้นปราสาทอันประเสริฐนั้นเทียว ยังอานาปานจตุตถฌาน
ให้เกิดขึ้นแล้ว จึงเดินทางไปตลอด 192 โยชน์ ยังกิจในยานให้สำเร็จ. แม้
สามเณรศีลของกุลบุตรนั้นก็บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่
ตรัสบุพภาคปฏิปทา แต่ทรงปรารภเพื่อจะตรัสบอกวิปัสสนาลักษณะอันมีความ
ว่างเปล่าอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัตเท่านั้น แก่กุลบุตรนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉธาตุโร ได้แก่ ธาตุ 6 มีอยู่ บุรุษไม่มี.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสิ่งที่ไม่มี ด้วยสิ่งที่มีในที่ไหน ทรงแสดง
สิ่งที่มีด้วยสิ่งที่ไม่มีในที่ไหน ทรงแสดงสิ่งที่มีด้วยสิ่งที่มีในที่ไหน ทรงแสดงสิ่ง
ที่ไม่มีด้วยสิ่งที่ไม่มีในที่ไหน คำดังกล่าวมานี้พึงให้พิสดารโดยนัยที่กล่าวแล้วใน
สัพพาสวสูตรนี้นั้นแล. แต่ในธาตุวิภังคสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดง
สิ่งที่มีด้วยสิ่งที่ไม่มี จึงตรัสอย่างนั้น. ก็ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสละบัญญัติว่า
บุรุษ ตรัสว่า ธาตุเท่านั้นแล้วทรงวางพระหฤทัย กุลบุตรก็พึงทำความสนเท่ห์
ถึงความงงงวยไม่อาจเพื่อรับเทศนาได้. เพราะฉะนั้น พระตถาคตจึงทรงละบัญญัติ
ว่า บุรุษโดยลำดับ ตรัสสักว่า บัญญัติว่า สัตว์ หรือ บุรุษ หรือ บุคคล เท่านั้น
โดยปรมัตถ์ ชื่อว่า สัตว์ ไม่มี ทรงวางพระทัยในธรรมสักว่า ธาตุเท่านั้น
ตรัสไว้ในอนังคณสูตรว่า เราจักให้แทงตลอดผลสาม ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสอย่างนี้ ดุจอาจารย์ให้เรียนศิลปะด้วยภาษานั้น เพราะเป็นผู้ฉลาดในภาษา
อื่น. ในธาตุวิภังคสูตรนั้น ธาตุ 6 ของบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นจึง
ชื่อว่ามีธาตุ 6. มีอธิบายว่า ท่านย่อมจำบุคคลใดว่า บุรุษ บุคคลนั้นมีธาตุ
6 ก็ในที่นี้โดยปรมัตถ์ก็มีเพียงธาตุเท่านั้น. ก็บทว่า ปุริโส คือ เป็นเพียง

บัญญัติ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ปติฏฐาน เรียกว่า อธิษฐาน
ในบทนี้ว่า จตุราธิฏฺฐาโน ความว่า มีอธิษฐานสี่. มีอธิบายว่า ดูก่อนภิกษุ
บุรุษนี้นั้นมีธาตุ 6 มีผัสสอายตนะ 6 มีมโนปวิจาร 18 ดังนี้. กุลบุตรนั้น
เวียนกลับจากธาตุนี้เทียว ถือเอาอรหัตอันเป็นสิทธิที่สูงสุด ดำรงอยู่ในฐานะ
4 นี้ ถือเอาพระอรหัต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามีอธิษฐาน 4. บทว่า ยตฺถฏฺฐิตํ
ได้แก่ ดำรงอยู่ในอธิษฐานเหล่าใด. บทว่า มญฺญสฺสวา นปฺปวตฺตนฺต
ได้แก่ ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญคนเป็นไป. บทว่า มุนิ สนฺโตติ วุจฺจติ ได้แก่
มุนี ผู้พระขีณาสพ เรียกว่า สงบแล้ว คับแล้ว.
บทว่า ปญฺญํ นปฺปมชฺเชยฺย ความว่า ไม่พึงประมาท สมาธิปัญญา
และวิปัสสนาปัญญา ตั้งแต่ต้นเทียว เพื่อแทงตลอดอรหัตผลปัญญา. บทว่า
สจฺจมนุรกฺเขยฺย ความว่า พึงรักษาวจีสัจ ตั้งแต่ต้นเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง
ปรมัตถสัจ คือ นิพพาน. บทว่า จาคมนุพฺรูเหยฺย ความว่า พึงพอกพูน
การเสียสละกิเลสแต่ต้นเทียว เพื่อทำการสละกิเลสทั้งปวง ด้วยอรหัตมรรค.
บทว่า สนฺติเมว โส สิกฺเขยฺย ความว่า พึงศึกษาการสงบระงับ กิเลส
ตั้งแต่ต้นเทียว เพื่อสงบระงับกิเลสทั้งหมด ด้วยอรหัตมรรค. พระผู้มีพระภาค.
เจ้าตรัสบุพภาคาธิษฐานทั้งหลาย มีสมถวิปัสสนาปัญญาเป็นต้นนี้ เพื่อ
ประโยชน์แก่การบรรลุอธิษฐานทั้งหลายมีปัญญาธิษฐานเป็นต้น ด้วยประการ
ฉะนี้. บุทว่า ผสฺสายตนํ ความว่า อายตนะ คือ อาการของผัสสะ. บทว่า
ปญฺญาธิฏฺฐาโน เป็นต้น พึงทราบด้วยอำนาจแห่งปัญญาทั้งหลายมีอรหัตผล
ปัญญาเป็นต้น ซึ่งได้กล่าวแล้วในบทก่อน. บัดนี้ เป็นอันกล่าวถึงบทว่า อัน
เป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตน และกิเลสเครื่องหมักหมม
เป็นไปด้วยอำนาจแห่งมาติกาที่ตั้งไว้แล้ว. แต่ครั้น บรรลุอรหัตแล้ว กิจด้วย
คำว่า ไม่พึงประมาทปัญญาเป็นต้น ย่อมไม่มีอีก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวาง

มาติกาที่มีธาตุกลับกันแล้ว เมื่อจะทรงจำแนกวิภังค์ด้วยอำนาจตามธรรม
เท่านั้น จึงตรัสคำว่า ไม่พึงประมาทปัญญา ดังนี้เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.
ถามว่า ในบาทคาถานั้น ใครประมาทปัญญา ใครไม่ประมาทปัญญา.
ตอบว่า บุคคลใดบวชในศาสนานี้ก่อนแล้ว สำเร็จชีวิตด้วยอเนสนา 21 วิธี
ด้วยอำนาจกรรมมีเวชกรรม เป็นต้น ไม่อาจเพื่อตั้งจิตตุปบาทโดยสมควรแก่
บรรพชา บุคคลนี้ชื่อว่า ประมาทปัญญา. ส่วนบุคคลใดบวชในศาสนาแล้ว
ตั้งอยู่ในศีล เล่าเรียนพระพุทธพจน์ สมาทานธุดงค์อันเป็นที่สบาย ถือ
กัมมัฏฐานอันชอบจิต อาศัยเสนาสนะอันสงัด กระทำกสิณบริกรรม ยังสมาบัติ
ให้เกิดขึ้น เจริญวิปัสสนาว่าในวันนี้แล พระอรหัตดังนี้ เที่ยวไป บุคคลนี้
ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา. แต่ในสูตรนี้ ได้ตรัสถึงความไม่ประมาทปัญญานั้น
ด้วยอำนาจแห่งธาตุกัมมัฏฐาน. ส่วนคำใดพึงกล่าวในธาตุกัมมัฏฐานนั้น คำนั้น
ได้กล่าวไว้แล้วในสูตรทั้งหลาย มีหัตถิปโทปมสูตรเป็นต้น ในหนก่อนนั้นแล.
ในสูตรนี้ มีอนุสนธิ โดยเฉพาะว่า ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีก คือวิญญาณ
ดังนี้. เพราะได้ตรัสรูปกัมมัฏฐานในหนก่อนแล้ว.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงเปลี่ยนแสดงอรูปกัมมัฏฐาน ด้วย
อำนาจเวทนา จึงทรงปรารภเทศนานี้. ก็หรืออรูปกัมมัฏฐานนี้ใด อันเป็นวิญญาณ
ผู้กระทำกรรม ด้วยอำนาจวิปัสสนาที่ภิกษุนี้ พึงถึงในธาตุทั้งหลายมีปฐวีธาตุ
เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เมื่อจะทรงจำแนกแสดงอรูปกัมมัฏฐานนั้นด้วย
อำนาจวิญญาณธาตุ จึงทรงปรารภเทศนานี้ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อว-
สิสฺสติ ความว่าจะเหลือเพื่อประโยชน์อะไร. จะเหลือเพื่อประโยชน์แก่การ
แสดงของพระศาสดา และเพื่อประโยชน์แก่การแทงตลอดของกุลบุตร. บท
ปริสุทธํ ได้แก่ ปราศจากอุปกิเลส. บทว่า ปริโยทาตํ ได้แก่ ประภัสสร.
บทว่า สุขนฺติปิ ปชานาติ ความว่า ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อเราเสวยสุข ชื่อว่า

เสวยสุขเวทนา. แม้ในบททั้งสองที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ถ้าเวทนากถานี้
ไม่ได้ตรัสไว้ในหนก่อนไซร้ ก็ควรเป็นไปเพื่อตรัสไว้ในสูตรนี้ ก็เวทนากถา
นั้นได้ตรัสไว้แล้วในสติปัฏฐานนั้นเทียว เพราะฉะนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าว
แล้วในสติปัฏฐานนั้นแล. บทเป็นต้นอย่างนี้ว่า สุขเวทนียํ ได้กล่าวไว้แล้ว
เพื่อแสดงความเกิดขึ้นและความดับ ด้วยอำนาจปัจจัย. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สุขเวทนียํ คือ เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลาย
ก็นัยนี้เหมือนกัน บทว่า อุเปกฺขาเยว อวสิสฺสติ ความว่า ก็ศิษย์จับมุกดา
ที่อาจารย์ผู้ทำแก้วมณีผู้ฉลาด ร้อยเพชรด้วยเข็มเอามาวางแล้ว วางอีกให้ใน
แผ่นหนังเมื่อทำการร้อยด้วยด้าย ชื่อว่า ทำเครื่องประดับมีตุ้มหูแก้วมุกดาและ
ข่ายแก้วมุกดาเป็นต้น ชื่อฉันใด กุลบุตรนี้เมื่อมนสิการซึ่งกัมมัฏฐานที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสให้แล้ว ชื่อว่า ได้กระทำให้คล่องแคล่ว ฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะฉะนั้น รูปกัมมัฏฐานก็ดี อรูปกัมมัฏฐานก็ดี ได้เกิดคล่องแคล้ว ด้วย
ประการเท่านี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่ คือ
อุเบกขา ดังนี้. ถามว่าจะเหลือเพื่ออะไร. ตอบว่า เพื่อการทรงแสดงของ
พระศาสดา. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เพื่อแทงตลอดของกุลบุตรดังนี้บ้าง.
คำนั้นไม่ควรถือเอา. กุลบุตรได้อ่านสาส์นของพระสหายได้ยืนอยู่บนพื้นปราสาท
ยังอานาปานจตุตถฌาณให้เกิดแล้ว ก็อานาปานจตุตถฌานนั้น ย่อมยังยานกิจ
ของกุลบุตรนั้น ผู้เดินทางมาประมาณนี้ให้สำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงเหลือเพื่อ
การตรัสของพระศาสดาเท่านั้น. ก็ในฐานะนี้พระศาสดาตรัสคุณในรูปาวจรฌาน
แก่กุลบุตร. เพราะได้ตรัสว่าดูก่อนภิกษุ รูปาวจรจตุตถฌานนี้คล่องแคล้ว
ก่อน ดังนี้. บทว่า ปริสุทฺธา เป็นต้น เป็นการแสดงคุณแห่งอุเบกขา

นั้นเทียว. บทว่า อกฺกํ พนฺเธยฺย คือ เตรียมเบ้าเพลิง. บทว่า อาลิมฺเปยฺย
ความว่า ใส่ถ่านเพลิงลงในเบ้านั้นแล้วจุดไฟ เป่าด้วยสูบให้ไฟลุกโพลง.
บทว่า อุกฺกามุเข ปกฺขิเปยฺย ความว่า คีบถ่านเพลิงวางไว้บนถ่านเพลิง
หรือใส่ถ่านเพลิงบนถ่านเพลิงนั้น. บทว่า นีหตํ คือ มีมลทินอันนำออกไป
แล้ว. บทว่า นินฺนิตกสาวํ ได้แก่ มีน้ำฝาดออกแล้ว. บทว่า เอวเมว โข
ความว่า ทรงแสดงคุณว่า จตุตถฌานเปกขานี้ ก่อน ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่
ธรรมที่ท่านปรารถนา ในบรรดาธรรมนี้คือ วิปัสสนา อภิญญา นิโรธ
ภโวกกันติ เหมือนทองนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อชนิดแห่งเครื่องประดับ ที่ปรารถนา
และต้องการแล้วฉะนั้น . ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่
ตรัสโทษ เพื่อความผ่องแผ้วจากความใคร่ในรูปาวจรจตุตถฌานแม้นี้ แต่ตรัส
คุณเล่า. ตอบว่า เพราะการยึดมั่นความใคร่ในจตุตถฌานของกุลบุตร มีกำลัง.
ถ้าจะพึงตรัสโทษไซร้ กุลบุตรก็จะพึงถึงความสงสัย ความงงงวยว่า เมื่อเรา
บวชแล้ว เดินทางมาตลอด 192 โยชน์ จตุตถฌานนี้ยังยานกิจให้สำเร็จได้
เรามาสู่หนทางประมาณเท่านี้ ก็มาแล้วเพื่อความยินดีในฌานสุข ด้วยฌานสุข
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโทษแห่งธรรมอันประณีตเห็นปานนี้ ทรงรู้หนอแล
จึงตรัส หรือไม่ทรงรู้ จึงตรัส ดังนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสคุณ. ในบทนี้ว่า ตทนุธมฺมํ ดังนี้ อรูปาวจรฌาน ชื่อว่า ธรรม.
รูปาวจรฌาน เรียกว่าอนุธรรม เพราะเป็นธรรมคล้อยตามอรูปาวจรฌานนั้น
อีกประการหนึ่ง วิปากฌาน ชื่อว่า ธรรม กุศลฌาน ชื่อว่า อนุธรรม.
บทว่า ตทุปาทานา คือ การถือเอาธรรมนั้น. บทว่า จิรํ ทีฆมทฺธานํ
ได้แก่ ตลอด 20,000 กัป. ก็คำนั้น ตรัสด้วยอำนาจแห่งวิบาก. แม้
นอกจากนี้ก็มีนัยเหมือนกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสคุณของอรูปาวจรฌาน โดยวาระ 4 อย่าง
นี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงโทษแห่งอรูปาวจรฌานนั้น จึงตรัสว่า เธอรู้
ัชัดย่างนี้
เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขตเมตํ ความว่า
ในปฐมพรหมโลกนั้น มีอายุ 20,000 กัป แม้ก็จริง แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อทรงกระทำจิตนั้นไห้เป็นการปรับปรุง คือความสำเร็จ ความพอกพูน
ก็ย่อมทรงกระทำ. อายุนั้นไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่แน่นอน ชั่วคราว มีการ
เคลื่อนไป แตกดับ และกระจัดกระจายเป็นธรรมดาคล้อยตามความเกิด ถูก
ชราบันทอน อันมรณะครอบงำ ตั้งอยู่ในทุกข์ ไม่มีอะไรต้านทาน ไม่เป็น
ที่เร้นลับ ไม่เป็นที่พึ่ง ไม่เป็นที่พึงพาอาศัย. แม้ในวิญญาณายตนะเป็นต้น
ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บัดนี้ เมื่อจะทรงถือเอาเทศนาด้วยยอดคือ อรหัต จึงตรัสว่า บุคคล
นั้น จะไม่คำนึง ดังนี้เป็นต้น. เหมือนหมอ ผู้ฉลาดเห็นความเปลี่ยน.
แปลงแห่งพิษแล้ว กระทำใจให้พิษเคลื่อนจากฐานให้ขึ้นข้างบน ไม่ให้เพื่อ
จับคอหรือศีรษะ ให้พิษตกลงในแผ่นดินฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
คุณในอรูปาวจรฌานแก่กุลบุตรฉันนั้นเหมือนกัน. กุลบุตรครั้นฟังอรูปา-
วจรฌานนั้นแล้ว ครอบงำความใคร่ในรูปาวจรฌาน ตั้งความปรารถนาใน
อรูปาวจรฌาน. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความที่กุลบุตรนั้นครอบงำความใคร่
ในรูปาวจรฌานนั้นแล้ว จึงทรงแสดงโทษนั้นทั้งหมด ด้วยบทเดียวเท่านั้นว่า
สงฺขตเมตํ แก่ภิกษุ ผู้ยังไม่บรรลุ ยังไม่ได้อรูปาวจรฌานนั้นว่า ชื่อว่า
สมบัติในอากาสานัญจายตนะเป็นต้นนั้นมีอยู่ ก็อายุของผู้ได้อากาสานัญจายตนะ
เป็นต้นนั้น ในพรหมโลกที่หนึ่ง มี 20,000 กัป ในพรหมโลกที่สองมี
40,000 กัป ในพรหมโลกที่สามมี 60,000 กัป ในพรหมโลกที่สี่ มี
84,000 กัป แต่อายุนั้น ไม่เทียง ไม่ยังยืน ไม่แน่นอน เป็นไปชั่วคราว

มีการเคลื่อนไป แตกดับ และกระจัดกระจายเป็นธรรมดา คล้อยตามความเกิด
ถูกชราบันทอน อันมรณะครอบงำ ตั้งอยู่ในทุกข์ ไม่มีอะไรต้านทาน ไม่เป็น
ที่เร้นลับ ไม่เป็นที่พึ่ง ไม่เป็นที่พึ่งพาอาศัย แม้ได้เสวยสมบัติในพรหมโลก
นั้น ตลอดกาลประมาณเท่านี้ ทำกาลกิริยาอย่างปุถุชนแล้ว พึงตกในอบายสี่อีก.
กุลบุตรได้ฟังพระพุทธพจน์นั้นแล้ว ยึดมั่นความใคร่ในอรูปาวจรฌาณ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงทราบความที่กุลบุตรนั้น เป็นผู้ยึดมั่น
ความใคร่ในรูปาวจร และอรูปาวจรแล้ว เมื่อจะทรงถือยอดคืออรหัต จึง
ตรัสว่า บุคคลนั้นจะไม่คำนึง ดังนี้เป็นต้น. ก็หรือว่ามหาโยธะ (นายทหาร
ผู้ใหญ่) คนหนึ่ง ยังพระราชาพระองค์หนึ่งให้พอพระราชหฤทัยแล้ว จึงได้
บ้านส่วย ซึ่งมีรายได้หนึ่งแสน. พระราชาทรงระลึกถึงอานุภาพของมหาโยธะ
นั้นว่า โยธะมีอานุภาพมาก เขาได้ทรัพย์น้อย ดังนี้ จึงพระราชทานอีกว่า
ดูก่อนพ่อ บ้านนี้ไม่สมควรแก่ท่าน ท่านจงรับเอาบ้านอื่น ซึ่งมีรายได้ตั้ง
สี่แสน. เขารับสนองพระบรมราชโอการว่า ดีละ พระพุทธเจ้าข้า ละบ้านนั้น
แล้วรับเอาบ้านนี้. พระราชาตรัสสั่งให้เรียกมหาโยธะนั้น ผู้ยังไม่ถึงบ้านนั้นแล
ทรงส่งไปว่า ท่านจะมีประโยชน์อะไรด้วยบ้านนั้น อหิวาตกโรค กำลังเกิด
ในบ้านนั้น แต่ในที่โน้น มีนครใหญ่ ท่านพึงยกฉัตรเสวยราชย์ในนครนั้น เถิด
ดังนี้. มหาโยธะนั้น พึงเสวยราชย์อย่างนั้น. ในข้อนั้น พึงเห็นพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าเหมือนพระราชา. ปุกกุสาติกุลบุตรเหมือนมหาโยธะ. อานาปาน-
จตุตถฌาน เหมือนบ้านที่ได้ครั้งแรก. การให้การทำการยึดมั่น ซึ่งความใคร่
ในอานาปานฌานแล้วตรัสอรูป เหมือนกาลให้มหาโยธะสละบ้านนั้น แล้ว.
ตรัสว่า เจ้าจงถือเอาบ้านนี้ . การที่ให้กุลบุตรนั้นเปลี่ยนการปรารถนาในสมาบัติ
เหล่านั้น ที่ยังไม่ถึง ด้วยการทรงแสดงโทษในอรูปว่า สงฺขตเมตํ แล้ว

ทรงถือเอาเทศนาด้วยยอดคืออรหัตในเบื้องสูง เหมือนกาลที่ตรัสสั่งให้เรียก
มหาโยธะ ซึ่งยังไม่ถึงบ้านนั้นแล้ว ตรัสว่า ท่านจะมีประโยชน์อะไร ด้วย
บ้านนั้น อหิวาตกโรคกำลังเกิดในบ้านนั้น ในที่โน้นมีนคร ท่านจงยกฉัตร
เสวยราชย์ในนครนั้นเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนว อภิสงฺขโรติ คือไม่สั่งสม ได้แก่
ไม่ทำให้เป็นกอง. บทว่า น อภิสญฺเจตยติ คือ ไม่ให้สำเร็จ บทว่า
ภวาย วา วิภวาย วา ได้แก่ เพื่อความเจริญ หรือเพื่อความเสื่อม พึง
ประกอบแม้ด้วยอำนาจแห่งสัสสตะและอุจเฉทะ. บทว่า น กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ
ความว่า ไม่ถือ ไม่ลูบคลำ แม้ธรรมหนึ่งอะไร ๆ ในธรรมทั้งหลายมีรูป
เป็นต้นในโลก ด้วยตัณหา. บทว่า นาปรํ อิตฺถตฺตายาติ ปชานาติ
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งอยู่ในพุทธวิสัยของพระองค์ ทรงถือยอด
คืออรหัต ด้วยเทศนา. ส่วนกุลบุตรแทงตลอดสามัญผล 3 ตามอุปนิสัยของตน.
พระราชาเสวยโภชนะมีรสต่างๆ ด้วยภาชนะทองคำทรงปั้นก้อนข้าวโดยประมาณ
ของพระองค์ ครั้นเมื่อพระราชกุมารประทับนั่ง ณ พระเพลา แสดงความ
อาลัยในก้อนข้าวพึงทรงน้อมก้อนข้าวนั้น. กุมารทรงทำคำข้าว โดยประมาณ
พระโอษฐ์ของพระองค์ พระราชาทรงเสวยคำข้าวที่เหลือด้วยพระองค์เองหรือ
ทรงใส่ในจานฉันใด พระตถาคตผู้ธรรมราชาก็ฉันนั้น เมื่อทรงถือยอดคือ
พระอรหัต โดยประมาณพระองค์ ทรงแสดงเทศนา. กุลบุตรแทงตลอด
สามัญญผล 3 ตามอุปนิสัยของตน. ก็ในกาลก่อนแต่นี้ กุลบุตรนั้นแสดงกถา
อันประกอบด้วยไตรลักษณ์ อันมีความว่างเปล่าอย่างยิ่ง เห็นปานนี้ว่า ขันธ์
ธาตุ อายตนะ ทั้งหลาย ย่อมไม่กังขา ย่อมไม่สงสัยว่า นัยว่าไม่เป็นอย่างนั้น
ข้อนั้นอาจารย์ของเรากล่าวแล้วอย่างนี้ ทราบว่า ความเป็นคนเขลา ความเป็น

ผู้ผิด ไม่มีด้วยประการฉะนี้. ได้ยินว่า ในฐานะบางอย่าง พระพุทธเจ้าทั้ง
หลาย เสด็จไปด้วยเพศอันบุคคลไม่รู้ได้. ได้มีความสงสัย มีความเคลือบแคลง
ว่า นั่นเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหนอแล. เพราะกุลบุตรนี้แทงตลอดอนาคามิ
ผลแล้วในกาลนั้น จึงถึงความตกลงว่า บุคคลนี้คือ พระศาสดาของเรา. ถามว่า
เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร กุลบุตรจึงไม่แสดงโทษล่วงเกินเล่า. ตอบว่า
เพราะไม่มีโอกาส. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำวาระอันไม่ตัดแล้วด้วยมาติกา
ตามที่ทรงยกขึ้นแล้ว จึงทรงแสดงพระเทศนา ดุจทรงให้หยั่งลงสู่อากาศคงคา
ฉะนั้นแล.
บทว่า โส คือ พระอรหันต์นั้น. บทว่า อนชฺโฌสิตา ความว่า
รู้ชัดว่า ไม่ควรแล้ว เพื่อกลืน ติดใจ ถือเอา. บทว่า อนภินนฺทิตา คือ
รู้ชัดว่า ไม่ควรแล้วเพื่อเพลิดเพลินด้วยอำนาจแห่งตัณหาและทิฐิ. บทว่า
วิสํยุตฺโต น เวนิยติ ความว่า ก็ถ้าว่า ราคานุสัยเพราะปรารภสุขเวทนา
ปฏิฆานุสัยเพราะปรารภทุกขเวทนา อวิชชานุสัยเพราะปรารภเวทนา
นอกนี้ พึงเกิดแก่บุคคลนั้นไซร้ บุคคลนั้นก็ชื่อว่า ประกอบพร้อมแล้วเสวย.
แต่เพราะไม่เกิดจึงชื่อว่าไม่ประกอบเสวยคือสลัดออกแล้ว พ้นวิเศษแล้ว.
บทว่า กายปริยนฺติกํ ความว่า เวทนา ซึ่งเกิดขึ้นมีกายเป็นที่สุด จนถึง
ความเป็นไปแห่งกาย ต่อแต่นั้น ก็ไม่เกิด. แม้ในบทที่สองก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อภินนฺทิตานิ สีติภวิสฺสนฺติ ความว่า ความเสวยอารมณ์ทั้งหมด
เป็นอันชื่อว่าไม่ยินดีแล้ว เพราะความที่กิเลสทั้งหลายไม่มีพิเศษ ในอายตนะ
สิบสอง จักดับในอายตนะสิบสองนี้นั้นเทียว. ก็กิเลสทั้งหลายแม้ดับแล้วเพราะ
มาถึงนิพพาน ย่อมไม่มีในที่ใด เรียกว่า ดับแล้วในที่นั้น. เนื้อความนี้นั้น.
พึงแสดงด้วยสมุทยปัญหาว่า ตัณหานั้น เมื่อจะดับย่อมดับในที่นั้น. เพราะ
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดแม้เป็นธรรม
ชาติสงบแล้ว เพราะอาศัยนิพพาน จักเป็นของสงบในโลกนี้แล. ถามว่า ก็

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความเสวยอารมณ์ทั้งหลาย ในที่นี้มิใช่หรือ ทำไมจึง
ไม่ตรัสกิเลสทั้งหลายเล่า. ตอบว่า เพราะแม้ความเสวยอารมณ์ทั้งหลาย จะ
เป็นของสงบ เพราะไม่มีกิเลสนั้นเทียว. ธรรมดาความที่ความเสวยอารมณ์ทั้ง
หลายเป็นของสงบ ไม่มีในฐานะนอกนี้ เพราะฉะนั้น คำนั้นกล่าวดีแล้ว. นี้
เป็นการเปรียบเทียบอุปมาในบทนี้ว่า เอวเมว โข เหมือนบุรุษคนหนึ่ง เมื่อ
ประทีปน้ำมัน ไหม้อยู่ ครั้นน้ำมันหมดแล้ว ก็เติมน้ำมันเหล่านั้น เมื่อไส้หมด
ก็ใส่ไส้ เมื่อเป็นเช่นนั้นเปลวประทีปก็ไม่ดับฉันใด ปุถุชนก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ตั้งอยู่ในภพหนึ่ง ย่อมทำกุศลและอกุศล เขาก็จะเกิดในสุคติและในอบายทั้ง
หลาย เพราะกุศลและอกุศลนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น เวทนาทั้งหลายก็ยังไม่ขาด
สูญนั้นเทียว. อนึ่ง คนหนึ่งกระสันในเปลวประทีปแอบซ่อนด้วยคิดว่า เพราะ
อาศัยบุรุษนี้ เปลวประทีปจึงไม่ดับ ดังนี้ พึงตัดศีรษะของบุรุษนั้น. เพราะ
ไม่ใส่ไส้และไม่เติมน้ำมันอย่างนี้ เปลวประทีปที่หมดเชื้อ ก็ย่อมดับฉันใด
พระโยคาวจรผู้กระสันในปวัตติกาลก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมตัดขาดกุศลและ
อกุศล ด้วยอรหัตมรรค. เพราะความที่กุศลนั้น ถูกตัดขาดแล้ว ความเสวย
อารมณ์ทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้นอีกแก่ภิกษุผู้ขีณาสพ เพราะความแตกแห่งกาย
ดังนี้
บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะอรหัตผลปัญญา ยิ่งกว่าสมาธิปัญญา
และวิปัสสนาปัญญาในเบื้องต้น . บทว่า เอวํ สมนฺนาคโต ความว่า ผู้
ประกอบพร้อมด้วยอรหัตผลปัญญาอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ อันสูงสุดนี้.
ญาณในอรหัตมรรค ชื่อว่า ญาณในความสิ้นไปซึ่งทุกข์ทั้งปวง แต่ในสูตรนี้
ทรงประสงค์ญาณในอรหัตผล. เพราะเหตุนั้นแล จึงตรัสว่า ความหลุดพ้น
ของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะ เป็นคุณไม่กำเริบ ดังนี้. ก็ในบทเหล่านั้น

บทว่า วิมุตฺติ ได้แก่ อรหัตผลวิมุตติ. บทว่า สจฺจํ ได้แก่ ปรมัตถสัจ
คือ นิพพาน. ความหลุดพ้นนั้นตรัสว่า ไม่กำเริบ เพราะทำอารมณ์อันไม่
กำเริบด้วยประการฉะนี้ . บทว่า มุสา ได้แก่ ไม่จริง. บทว่า โมสธมฺมํ
ได้แก่ สภาพที่พินาศ. บทว่า ตํ สจฺจํ ความว่า สัจจะนั้นเป็นของแท้มีสภาพ.
บทว่า อโมสธมฺมํ ได้แก่มีสภาพไม่พินาศ. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะ
ปรมัตถสัจ คือ นิพพานนั้นแล สูงกว่าวจีสัจบ้าง ทุกขสัจและสมุทัยสัจบ้าง
ด้วยอำนาจแห่งสมถะและวิปัสสนาแต่ต้น. บทว่า เอวํ สมนฺนาคโต ความว่า
ผู้ประกอบพร้อมด้วยปรมัตถสัจจาธิษฐานอันสูงสุดนี้. บทว่า ปุพฺเพ คือ ใน
กาลเป็นปุถุชน. บทว่า อปธี โหนฺติ ได้แก่ อุปธิ เหล่านั้นคือ ขันธูปธิ
กิเลสูปธิ อภิสังขารูปธิ ปัญจกามคุณูปธิ. บทว่า สมตฺตา สมาทินฺนา
ความว่า บริบูรณ์คือถือเอาแล้ว ได้แก่ลูบคลำแล้ว. บทว่า ตสฺมา ความ
ว่า เพราะการสละกิเลสด้วยอรหัตมรรคนั้นแลดีกว่าการสละกิเลสด้วยอำนาจ
แห่งสมถะ และวิปัสสนาแต่ต้น และกว่าการสละกิเลสด้วยโสดาปัตติมรรคเป็น
ต้น. บทว่า เอวํ สมนฺนาคโต คือ ผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยจาคาธิษฐาน
อันสูงสุดนี้. ชื่อว่า อาฆาฏะ ด้วยอำนาจแห่งการทำการล้างผลาญ ในคำเป็น
ต้นว่า อาฆาโฏ. ชื่อว่า พยาบาทด้วยอำนาจแห่งการปองร้าย. ชื่อว่า สัมปโทสะ
ด้วยอำนาจแห่งการประทุษร้ายทุกอย่าง. ท่านกล่าวอกุศลมูลเท่านั้น ด้วยบท
ทั้ง 3. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะการสงบระงับกิเลสด้วยอรหัตมรรคนั้น
แล สูงกว่าการสงบระงับกิเลสด้วยอำนาจแห่งสมถะและวิปัสสนาแต่เบื้องต้น.
และการสงบระงับกิเลสด้วยโสดาปัตตมรรคเป็นต้น . บทว่า เอวํ สมนฺนาคโต
ความว่า ผู้ประกอบพร้อมด้วยอุปสมาธิษฐานอันอุดมนี้.

บทว่า มญฺญิตเมตํ ความว่าความสำคัญ แม้ 3 อย่างคือ ตัณหามัญญิตะ
มานมัญญิตะ ทิฏฐิมัญญิตะ ย่อมเป็นไป. ก็บทนี้ว่า อสฺสมหํ ในบทนี้ว่า
อหมสฺมิ คือความสำคัญตัณหานั้นเทียว ย่อมเป็นไป. ชื่อว่า โรค เพราะ
อรรถว่า เบียดเบียน ในบทว่า โรโค เป็นต้น. ชื่อว่า คัณฑะ เพราะ
อรรถว่า ประทุษร้ายในภายใน. ชื่อว่า สัลละ เพราะอรรถว่าเสียดแทงเนือง ๆ.
บทว่า มุนิ สนฺโตติ วุจฺจติ ความว่าบุคคลนั้นเรียกว่า มุนีผู้พระขีณาสพ
ผู้สงบแล้ว คือ ผู้สงบระงับแล้วดับทุกข์แล้ว. บทว่า ยตฺถ ฐิตํ คือ ตั้งอยู่
ในฐานะใด. บทว่า สงฺขิตฺเตน ความว่า ก็พระธรรมเทศนาแม้ทั้งหมด ของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ย่อแล้วเทียว. ชื่อว่า เทศนาโดยพิสดารไม่มี. แม้สมันต-
ปัฏฐานกถาก็ย่อแล้วนั้นแล. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังเทศนาให้ถึงตามอนุสนธิ
ด้วยประการฉะนี้. ก็ในบุคคล 4 จำพวก มีอุคฆฏิตัญญูเป็นต้น ปุกกุสาตีกุล-
บุตร เป็นวิปัจจิตัญญู พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธาตุวิภังคสูตรนี้ ด้วย
อำนาจแห่งวิปัจจิตัญญู ด้วยประการฉะนี้. ในบทว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บาตร และ จีวรของข้าพระองค์ ยังไม่ครบแล มีคำถามว่า เพราะเหตุไร
บาตรและจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์จึงไม่เกิดขึ้นแก่กุลบุตรเล่า. ตอบว่า เพราะความ
ที่บริขาร 8 อย่าง อันกุลบุตรไม่เคยให้ทานแล้วในกาลก่อน. กุลบุตรมีทานเคย
ถวายแล้ว มีอภินิหารได้กระทำแล้ว จึงไม่ควรกล่าวว่า เพราะความที่ทานไม่
เคยให้แล้ว. ก็บาตรและจีวรอันสำเร็จแต่ฤทธิ์ ย่อมเกิดแก่สาวกทั้งหลายผู้มีภพ
สุดท้ายเท่านั้น. ส่วนกุลบุตรนี้ยังมีปฏิสนธิอีก. เพราะฉะนั้น บาตรและจีวรที่
สำเร็จด้วยฤทธิ์ จึงไม่เกิดขึ้น. ถามว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระผู้
มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงแสวงหาด้วยพระองค์เองให้ถึงพร้อมเล่า. ตอบว่าเพราะ
พระองค์ไม่มีโอกาส. อายุของกุลบุตรก็สิ้นแล้ว. มหาพรหมผู้อนาคามีชั้น

สุทธาวาส ก็เป็นราวกะมาสู่ศาลาช่างหม้อแล้วนั่งอยู่. เพราะฉะนั้น จึงไม่ทรง
แสวงหาด้วยพระองค์เอง. บทว่า ปตฺตจีวรํ ปริเยสนํ ปกฺกามิ ความว่า
ท่านปุกกุสาติหลีกไปในเวลานั้น เมื่ออรุณขึ้นแล้ว.
ได้ยินว่า การจบพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า การขึ้นแห่ง
อรุณ และการเปล่งพระรัศมี ได้มีในขณะเดียวกัน. นัยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงจบพระเทศนาแล้ว ทรงเปล่งพระรัศมี มีสี 6 ประการ. นิเวศน์แห่งช่าง
หม้อทั้งสิ้น ก็โชติช่วงเป็นอันเดียวกัน. พระฉัพพัณณรัศมี ชัชวาลย์แผ่ไป
เป็นกลุ่ม ๆ ทำทิศทางทั้งปวงให้เป็นดุจปกคลุมด้วยแผ่นทองคำ และดุจรุ่งเรื่อง
ด้วยดอกดำและรัตนะอันประเสริฐซึ่งมีสีต่าง ๆ. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
อธิษฐานว่า ขอให้ชาวพระนครทั้งหลาย จงเห็นเรา ดังนี้. ชาวพระนครทั้ง-
หลายเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ต่างก็บอกต่อๆ กันว่า ได้ยินว่า พระศาสดา
เสด็จมาแล้ว นัยว่า ประทับ นั่ง ณ ศาลาช่างหม้อ แล้วกราบทูลแด่พระราชา.
พระราชาเสด็จไปถวายบังคมพระศาสดาแล้วตรัสถามว่า พระองค์เสด็จมาแล้ว
เมื่อไร. เมื่อเวลาพระอาทิตย์ตกวานนี้ มหาบพิตร. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
มาด้วยกรรมอะไร. พระเจ้าปุกกุสาติพระสหายของพระองค์ทรงฟังพระราช
สาส์นที่มหาบพิตรส่งไปแล้ว เสด็จออกบวช เสด็จมาเจาะจงอาตมาภาพ ล่วง
เลยกรุงสาวัตถีเสด็จมาสิ้น 5 โยชน์. เสด็จเข้าสู่ศาลาช่างหม้อนี้แล้วประทับ นั่ง
อาตมภาพจึงมา เพื่อสงเคราะห์พระสหายของมหาบพิตร ได้แสดงธรรมกถา
กุลบุตรทรงแทงตลอดผล 3 มหาบพิตร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลานี้ พระ-
เจ้าปุกกุสาติประทับ อยู่ที่ไหน พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พระเจ้า
ปุกกุสาติกุลบุตรทรงขออุปสมบทแล้ว เสด็จไปเพื่อทรงแสวงหาบาตรและจีวร
เพราะบุตรและจีวรยังไม่ครบบริบูรณ์. พระราชาเสด็จไปทางทิศทางที่กุลบุตร

เสด็จไป. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเหาะไปปรากฏ ณ พระคันธกุฏีในพระ-
เชตวันนั้นแล. แม้กุลบุตรเมื่อแสวงหาบาตรและจีวร ก็ไม่ไปสู่สำนักของพระ-
เจ้าพิมพิสาร และของพวกพ่อค้าเดินเท้า ชาวเมืองตักกศิลา. ได้ยินว่า กุลบุตร
นั้นคิดอย่างนี้ว่า การที่เลือกแสวงหาบาตรและจีวรที่พอใจและไม่พอใจในสำนัก
นั้น ๆ แล ไม่สมควรแก่เราผู้ดุจไก่ พระนครใหญ่ จำเราจักแสวงหาที่ท่าน้ำ
ป่าช้า กองขยะ และตามตรอก ดังนี้. กุลบุตรปรารภเพื่อแสวงหาเศษผ้าที่
กองขยะในตรอกก่อน.
บทว่า ชีวิตา โวโรเปสิ ความว่า แม่โคลูกอ่อนหมุนไปวิ่งมา ขวิด
กุลบุตรนั้น ผู้กำลังแลดูเศษผ้าในกองขยะแห่งหนึ่ง ให้กระเด็นขึ้นถึงความตาย
กุลบุตรผู้ถูกความหิวครอบงำ ถึงความสิ้นอายุในอากาศนั่นเทียว ตกลงมา
นอนคว่ำหน้าในที่กองขยะ เป็นเหมือนรูปทองคำฉะนั้น. ก็แลทำกาละแล้วไป
เกิดในพรหมโลกชั้นอวิหา. พอเกิดแล้วก็บรรลุพระอรหัต. ได้ยินว่า ชนที่
สักว่าเกิดแล้วในอวิหาพรหมโลกมี 7 คน ได้บรรลุพระอรหัต สมจริง
ดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ภิกษุ รูป เข้าถึงอวิหาพรหมโลก
แล้ว หลุดพ้น มีราคะและโทสะสิ้นแล้ว
ข้ามตัณหาในโลก และท่านเหล่านั้น ข้าม
เปลือกตม บ่วงมัจจุราช ซึ่งข้ามได้แสน
ยาก ท่านเหล่านั้นละโยคะ ของมนุษย์
แล้ว เข้าถึงโยคะอันเป็นทิพย์.
ท่านเหล่านั้น คือ อุปกะ 1 ปล-
คัณฑะ 1 ปุกกุสาติ 1 รวม 3 ภัททิยะ 1

ขันฑเทวะ 1 พาหุทัตติ 1 ปิงคิยะ 1
ท่านเหล่านั้น ละโยคะของมนุษย์แล้ว
เข้าถึงโยคะอันเป็นทิพย์ ดังนี้.

ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารทรงพระราชดำริว่า พระสหายของเราได้อ่าน
สักว่าสาล์นที่เราส่งไป ทรงสละราชสมบัติ ที่อยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ เสด็จมาทาง
ไกลประมาณเท่านี้ กิจที่ทำได้ยากอันกุลบุตรได้ทำแล้ว เราจักสักการะเข้า
ด้วยเครื่องสักการะของบรรพชิต ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า พวกท่านจงไปตามหา
พระสหายของเรา ดังนี้. ราชบริวารทั้งหลายที่ถูกส่งไปในที่นั้น ๆ ได้เห็น
กุลบุตรนั้น. เห็นเขาล้มลงที่กองขยะ กลับมาทูลแด่พระราชา. พระราชาเสด็จ
ไปทรงเห็นกุลบุตรแล้ว ทรงคร่ำครวญว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราไม่ได้เพื่อ
ทำสักการะแก่พระสหายหนอ พระสหายของเราไม่มีที่พึ่งแล้ว ตรัสสั่งให้นำ
กุลบุตรด้วยเตียง ทรงตั้งไว้ในโอกาสอันสมควร ตรัสสั่งให้เรียกผู้อาบน้ำให้
และช่างกัลบกเป็นต้น โดยให้รู้ถึงการทำสักการะแก่กุลบุตรผู้ยังไม่ได้อุปสมบท
ทรงให้อาบพระเศียรของกุลบุตร ทรงไห้นุ่งผ้าอันบริสุทธิ์เป็นต้น ทรงให้ตก
แต่งด้วยเพศของพระราชา ทรงยกขึ้นสู่วอทอง ทรงให้ทำการบูชา ด้วยวัตถุ
ทั้งหลายมีดนตรี ของหอมและมาลาทุกอย่างเป็นต้น ทรงนำออกจากพระนคร
ทรงให้ทำมหาจิตกาธาน ด้วยไม้หอมเป็นอันมาก ครั้นทรงทำสรีรกิจของกุล-
บุตรแล้ว ทรงนำเอาพระธาตุมาประดิษฐ์ไว้ในพระเจดีย์. คำที่เหลือในบททั้ง
ปวงง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาธาตุวิภังคสูตรที่ 10

11. สัจจวิภังคสูตร



[698] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน เขต
เมืองพาราณสี. สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว.
[699] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประกาศธรรมจักรอัน ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน เขตเมืองพาราณสี อันสมณะ หรือพราหมณ์ หรือ
เทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใคร ๆ ในโลก ยังไม่เคยประกาศ ได้ทรง
บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ 4
อริยสัจ 4 เหล่าไหน คือ ทรงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่ายซึ่งทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาอริยสัจ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประกาศธรรมจักร
อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน เขตเมืองพาราณสี อันสมณะ
หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใคร ๆ ในโลก
ยังไม่เคยประกาศ ได้ทรง บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ 4 นี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเสพ จงคบสารี
บุตรและโมคคัลลานะเถิด ทั้งสองรูปนี้เป็นบัณฑิตภิกษุ ผู้อนุเคราะห์ผู้ร่วม
ประพฤติพรหมจรรย์ สารีบุตรเปรียบเหมือนผู้ให้กำเนิด โมคคัลลานะเปรียบ
เหมือนผู้บำรุงเลี้ยงทารกที่เกิดแล้ว สารีบุตรย่อมแนะนำโสดาปัตติผล โมคคัล-
ลานะ ย่อมแนะนำในผลชั้นสูง สารีบุตรพอที่จะบอก แสดงบัญญัติ แต่งตั้ง