เมนู

อรรถกถาอรณวิภังคสูตร



อรณวิภังคสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
ในบทเหล่านั้น บทว่า เนวุสฺสาเทยฺย น อปสาเทยฺย ความว่า
ไม่ยกยอ ไม่พึงตำหนิบุคคลใด ด้วยอำนาจอาศัยเรือน. บทว่า ธมฺมเมว
เทเสยฺย
คือ พึงพูดแต่ความจริงเท่านั้น. บทว่า สุขวินิจฺฉยํ ได้แก่สุขที่
ตัดสินแล้ว. บทว่า รโห วาทํ ได้แก่ กล่าวโทษลับหลัง อธิบายว่า
กล่าวคำส่อเสียด. บทว่า สุมฺมุขา นาติขีณํ ความว่า ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกิน
คำฟุ่มเฟือย คำสกปรกต่อหน้า. บทว่า นาภินิเวเสยฺยํ ความว่า ไม่พึงพูด
รีบด่วนเอาแต่ได้. บทว่า สมญฺญํ ได้แก่ โลกสมัญญาคือ โลกบัญญัติ.
บทว่า นาติธาเวยฺยํ คือ ไม่พึงล่วงละเมิด. บทว่า กามปฏิสนฺธิสุขิโน
ความว่า ผู้มีความสุข ด้วยความสุขโดยสืบต่อกาม คือ ประกอบด้วยกาม
บทว่า สทุกฺโข ได้แก่มีทุกข์ ด้วยวิบากทุกข์บ้าง ด้วยกิเลสทุกข์บ้าง บทว่า
สอุปฆาโฏ ได้แก่มีความคับใจ ด้วยความคับใจในวิบากและความคับใจใน
กิเลสนั้นเทียว มีความเร่าร้อนเหมือนอย่างนั้น. บทว่า มิจฺฉาปฏิปทา ได้แก่
ความปฏิบัติไม่เป็นความจริง คือ ความปฏิบัติอันเป็นอกุศล. บทว่า อิตฺเถเก
อปสาเทติ
ความว่า ตำหนิบุคคลบางพวก ด้วยอำนาจอาศัยเรือนอย่างนี้
แม้ในการยกยอก็มีนัยนี้เช่นกัน. บทว่า ภวสํโยชนํ ได้แก่ ผูกพันในภพ
นั่นเป็นชื่อของตัณหา. ได้ยินว่า พระสุภูติเถระ อาศัยจตุกะนี้ ดำรงอยู่ใน
ตำแหน่งเอตทัคคะ. จริงอยู่เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่ ความ
ยกยอและการตำหนิย่อมปรากฏแก่บุคคลทั้งหลาย. เมื่อพระเถระทั้งหลายมีพระ-
สารีบุตรเถระเป็นต้นแสดงธรรม ความยกยอและการตำหนิก็ปรากฏอย่างนั้น.

แต่ธรรมเทศนาของสุภูติเถระไม่มีว่า บุคคลนี้ไม่ปฏิบัติ ปฏิบัติผิด หรือว่าบุคคล
นี้มีศีล มีคุณ มียางอาย มีศีลเป็นที่รัก ถึงพร้อมด้วยมรรยาท ดังนี้. ก็ธรรม
เทศนาของพระสุภูติเถระนั้น ย่อมปรากฏว่า นี้เป็นการปฏิบัติผิด นี้เป็นการปฏิบัติ
ชอบดังนี้เท่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สุภูติเป็นเลิศแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้สาวกของเรา ผู้มีปกติอยู่ด้วยความสงบ.
บทว่า กาลญฺญู อสฺส ความว่า ไม่กล่าวในกาลที่ยังไม่ถึง และที่ล่วงแล้ว
และกล่าวถึงกาลที่ควรประกอบความเพียร อันควรกล่าวในบัดนี้ว่า มหาชนจัก
ถือเอา ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง. แม้ในขีณาวาทะก็มีนัยเช่นเดียวกัน. บทว่า
อุปหญฺญติ ได้แก่ กระทบกระทั่ง. บทว่า สโร อุปหญฺญติ คือ แม้เสียงย่อม
แตกพร่า. บทว่า อาตุริยติ ได้แก่ เป็นผู้เดือดร้อน. ถึงความเป็นผู้เจ็บไข้
ได้อาพาธ. บทว่า อวิสฏฺฐํ ได้แก่ คำไม่สละสลวย คือ คลุมเคลือ. บทว่า
ตเทว ได้แก่ ภาชนะนั้นเทียว. บทว่า อภินิวิสฺส โวหรติ ความว่า ปุถุชน
คนโง่ ไปสู่ชนบทที่รู้จำว่า ปัตตะ ฟังว่า พวกเจ้าจงนำมา จงล้างปัตตะ
รีบพูดว่า นี้ไม่ใช่ปัตตะ นั้นชื่อว่าปาตี เจ้าจงพูดอย่างนี้. พึงประกอบด้วย
บททั้งหลายในที่ทั้งปวงอย่างนี้. บทว่า อติสาโร ได้แก่ อภิวาทนะ. บทว่า
ตถา ตถา โวหรติ อปราปรํ ความว่า ภาชนะในชนบทของพวกเราเรียก
ว่าปาตี. ส่วนชนเหล่านี้ กล่าวภาชนะนั้น ว่า ปัตตะ. จำเดิมแต่นั้นแก้คำพูดของ
ชนบทกล่าวเนือง ๆ ว่า ปัตตะ ปัตตะ ดังนี้เทียว. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้
เช่นกัน.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงกระทำบทมริยาทภาชนียะ จึง
ตรัสว่า ตตฺร ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น . บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สรโณ
ได้แก่ มีธุลี มีกิเลส. บทว่า อรโณ ได้แก่ ไม่มีธุลีปราศจากกิเลส. บทว่า

สุภูติ จ ปน ภิกขเว ความว่า พระเถระนี้ ขึ้นสู่ตำแหน่งเอตทัคคะ 2
อย่าง คือ สุภูติเลิศในทางอรณวิหารี และเลิศในทางทักขิไณย. ได้ยินว่า
พระธรรมเสนาบดี ยังวัตถุให้บริสุทธิ์. สุภูติเถระยังทักขิณาให้บริสุทธิ์. จริง
อย่างนั้น พระธรรมเสนาบดีเที่ยวบิณฑบาต ยืนอยู่ใกล้ประตูเรือน กำหนดใน
บุพภาคแล้ว เข้านิโรธจนกว่าบุคคลทั้งหลายนำภิกษามาถวาย. ออกจากนิโรธ
แล้ว รับไทยธรรม. พระสุภูติเถระเข้าเมตตาฌานเหมือนอย่างนั้น. ออกจาก
เมตตาฌานแล้วรับไทยธรรม. ถามว่า ก็พระเถระอาจทำอย่างนี้หรือ. ตอบว่า
เออ อาจ. การที่พระสาวกทั้งหลายผู้ถึงมหาภิญญา พึงทำอย่างนี้ นั้นไม่น่า
อัศจรรย์เลย. จริงอยู่ ในกาลแห่งโบราณกราชในตัมพปัณณิทวีปนั้น พระ-
เถระชื่อปิงคลพุทธรักขิต อยู่อาศัยอุตตรคาม. ในอุตตรคามนั้น มีตระกูล 700
ตระกูล. พระเถระไม่เคยเข้าสมาบัติที่ประตูตระกูลใด ประตูตระกูลนั้นแม้หนึ่ง
ก็ไม่มี. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอรณวิภังคสูตรที่ 9

10. ธาตุวิภังคสูตร



[673า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อเสด็จจาริกไปในมคธชนบท ทรง-
แวะยังพระนครราชคฤห์ เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อชื่อภัคควะยังที่อยู่ แล้ว
ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนนายภัคควะ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพัก
อยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด. นายภัคควะทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มี
ความหนักใจเลย แต่ในโรงนี้มีบรรพชิตเข้าไปอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตนั้น
อนุญาต ก็นิมนต์ท่านพักตามสบายเถิด.
[674] ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยศรัทธา. ปุกกุสาติกุลบุตรนั้นเข้าไปพักอยู่
ในโรงของนายช่างหม้อนั้นก่อนแล้ว. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้า
ไปหาท่านปุกกุสาติยังที่พัก แล้วตรัสกะท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้า
ไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด. ท่านปุกกุสาติ
ตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โรงช่างหม้อกว้างขวาง นิมนต์ท่านผู้มีอายุพัก
ตามสบายเถิด.
[675] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปสู่โรงช่างหม้อแล้ว
ทรงลาดสันถัดหญ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง
ดำรงพระสติมั่นเฉพาะหน้า พระองค์ประทับนั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมาก.
แม้ท่านปุกกุสาติก็นั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมากเหมือนกัน . ครั้งนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ เราควร
ถามดูบ้าง. ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ