เมนู

อรรถกถาอรณวิภังคสูตร



อรณวิภังคสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
ในบทเหล่านั้น บทว่า เนวุสฺสาเทยฺย น อปสาเทยฺย ความว่า
ไม่ยกยอ ไม่พึงตำหนิบุคคลใด ด้วยอำนาจอาศัยเรือน. บทว่า ธมฺมเมว
เทเสยฺย
คือ พึงพูดแต่ความจริงเท่านั้น. บทว่า สุขวินิจฺฉยํ ได้แก่สุขที่
ตัดสินแล้ว. บทว่า รโห วาทํ ได้แก่ กล่าวโทษลับหลัง อธิบายว่า
กล่าวคำส่อเสียด. บทว่า สุมฺมุขา นาติขีณํ ความว่า ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกิน
คำฟุ่มเฟือย คำสกปรกต่อหน้า. บทว่า นาภินิเวเสยฺยํ ความว่า ไม่พึงพูด
รีบด่วนเอาแต่ได้. บทว่า สมญฺญํ ได้แก่ โลกสมัญญาคือ โลกบัญญัติ.
บทว่า นาติธาเวยฺยํ คือ ไม่พึงล่วงละเมิด. บทว่า กามปฏิสนฺธิสุขิโน
ความว่า ผู้มีความสุข ด้วยความสุขโดยสืบต่อกาม คือ ประกอบด้วยกาม
บทว่า สทุกฺโข ได้แก่มีทุกข์ ด้วยวิบากทุกข์บ้าง ด้วยกิเลสทุกข์บ้าง บทว่า
สอุปฆาโฏ ได้แก่มีความคับใจ ด้วยความคับใจในวิบากและความคับใจใน
กิเลสนั้นเทียว มีความเร่าร้อนเหมือนอย่างนั้น. บทว่า มิจฺฉาปฏิปทา ได้แก่
ความปฏิบัติไม่เป็นความจริง คือ ความปฏิบัติอันเป็นอกุศล. บทว่า อิตฺเถเก
อปสาเทติ
ความว่า ตำหนิบุคคลบางพวก ด้วยอำนาจอาศัยเรือนอย่างนี้
แม้ในการยกยอก็มีนัยนี้เช่นกัน. บทว่า ภวสํโยชนํ ได้แก่ ผูกพันในภพ
นั่นเป็นชื่อของตัณหา. ได้ยินว่า พระสุภูติเถระ อาศัยจตุกะนี้ ดำรงอยู่ใน
ตำแหน่งเอตทัคคะ. จริงอยู่เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่ ความ
ยกยอและการตำหนิย่อมปรากฏแก่บุคคลทั้งหลาย. เมื่อพระเถระทั้งหลายมีพระ-
สารีบุตรเถระเป็นต้นแสดงธรรม ความยกยอและการตำหนิก็ปรากฏอย่างนั้น.