เมนู

ไม่เป็นการยกย่อง ไม่เป็นการตำหนิ เป็นการแสดงธรรมแท้. ข้อที่เรากล่าว
ดังนี้ว่า พึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้วไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ
พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.

ความรู้ตัดสินความสุข


[659] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้ตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว.
พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสุขภายใน นั่น เราอาศัยอะไร กล่าวแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณนี้มี 5 อย่างแล 5 อย่าง เป็นไฉน คือ รูปที่รู้
ได้ด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่รู้ได้ด้วยโสต... กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ...
รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา... โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด นี้แล
กามคุณ 5. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุขโสมนัสใดแล อาศัยกามคุณ 5 เหล่านี้
เกิดขึ้น สุขโสมนัสนี้ เรียกว่าสุขอาศัยกาม สุขของปุถุชน สุขอากูล ไม่ใช่
สุขของพระอริยะ. เรากล่าวว่า ไม่พึงเสพ ไม่พึงให้เจริญ ไม่พึงทำให้มาก
พึงกลัวสุขนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุสลธรรม
เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่. เข้าทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและ
วิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้วางเฉย
เพราะหน่ายปีติมีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน...
อยู่ เข้าจตุตถฌาน ... อยู่ นี้เรียกว่า สุขอาศัยเนกขัมมะ. สุขเกิดแค่ความสุข
สุขเกิดแต่ความสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ เรากล่าวว่า พึงเสพให้มาก
ให้เจริญ พึงทำให้มาก ไม่พึงกลัวสุขนี้ . ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้ตัดสิน-

ความสุข ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสุขภายใน นั่น เราอาศัย
เนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.
[660] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง ไม่พึงกล่าว
คำล่วงเกินต่อหน้า นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน
ประการแรกนั้น พึงรู้วาทะลับหลังใด ไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์ ไม่พึงกล่าววาทะลับหลังนั้นเป็นอันขาด แม้รู้วาทะลับหลังใดจริง
แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็พึงสำเหนียกเพื่อจะไม่กล่าววาทะลับหลัง
นั้น และรู้วาทะลับหลังใด จริง แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น
พึงเป็นผู้รู้จักกาล เพื่อจะกล่าววาทะลับหลังนั้น . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน
ประการหลังนั้น พึงรู้คำล่วงเกินต่อหน้าใด ไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้นเป็นอันขาด แม้รู้คำล่วงเกิน
ต่อหน้าใด จริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็พึงสำเหนียกเพื่อจะไม่
กล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้น และรู้คำล่วงเกินต่อหน้าใด จริง แท้ ประกอบ
ด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น พึงเป็นผู้รู้จักกาลเพื่อจะกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า
นั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อ
หน้า นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.
[661] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงเป็นผู้ไม่รีบด่วนพูด อย่าพูดรีบ
ด่วนนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในประการแรกนั้น
เมื่อรีบด่วนพูด กายก็ลำบาก จิตก็แกว่ง เสียงก็พร่า คอก็เครือ แม้คำพูด
ของผู้ที่รีบด่วนพูดก็ไม่สละสลวย ไม่พึงรู้ชัดได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน
ประการหลังนั้น เมื่อไม่รีบด่วนพูด กายไม่ลำบาก จิตก็ไม่แกว่ง เสียงก็ไม่
พร่า คอก็ไม่เครือ แม้คำพูดของผู้ที่ไม่รีบด่วนพูด ก็สละสลวย พึงรู้ชัดได้.

ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงเป็นผู้ไม่รีบด่วนพูด อย่าพูดรีบด่วน นั่น เราอาศัย
เนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.
[662] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงปรักปรำภาษาชนบท ไม่พึง
ล่วงเลยคำพูดสามัญเสีย นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็อย่างไรเล่า เป็นการปรักปรำภาษาชนบท และเป็นการล่วงเลยคำพูดสามัญ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภาชนะนั้น แลในโลกนี้ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปาตี
ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปัตตะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิฏฐะ
ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า สราวะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หโรสะ
ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า โปณะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หนะ
ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิปิละ. ภิกษุพูดปรักปรำโดยประการที่ชนทั้ง
หลายหมายรู้เรื่องภาชนะนั้นกันดังนี้ ในชนบทนั้น ๆ ตามกำลังและความแน่ใจ
ว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า อย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นการปรักปรำภาษาชนบท
และเป็นการล่วงเลยคำพูดสามัญ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า เป็นการ
ไม่ปรักปรำภาษาชนบท และเป็นการไม่ล่วงเลยคำพูดสามัญ. ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ภาชนะนั่นแลในโลกนี้ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปาตี ในบาง-
ชนบท เขาหมายรู้ว่า ปัตตะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิฏฐะ ในบาง-
ชนบท เขาหมายรู้ว่า สราวะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หโรสะ ในบาง-
ชนบท เขาหมายรู้ว่า โปณะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หนะ ในบาง-
ชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิปิละ. ภิกษุพูดโดยประการที่ชนทั้งหลาย หมาย
รู้เรื่องภาชนะกันดังนี้ ในชนบทนั้น ๆ อย่างไม่ใช่ความแน่ใจว่า เป็นอันทำ
ผู้มีอายุทั้งหลาย พูดแก่ข้าพเจ้าหมายถึงภาชนะนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้
แล ชื่อว่าเป็นการไม่ปรักปรำภาษาชนบท และเป็นการไม่ล่วงเลยคำพูดสามัญ.

ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงปรักปรำภาษาชนบท ไม่พึงล่วงเลยคำพูดสามัญ
นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.
[663] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ความประกอบเนืองๆ
ซึ่งโสมนัสของตนที่มีความสุขเพราะสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็น
ของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์
มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะ
ฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์. แต่การไม่ตามประกอบความประ-
กอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของตนทีมีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของ
ชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้
เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน
เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์.
[664] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ความเพียรเครื่อง
ประกอบคนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน
เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์. แต่การ
ไม่ตามประกอบความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่
ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความ
คับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะ-
ฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์.
[665] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ความปฏิบัติปาน
กลาง อันตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้มีจักษุ ทำให้
มีญาณเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อ

นิพพาน นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มี
ความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้อง
รณรงค์.
[666] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น การยกย่อง การ
ตำหนิ และไม่ใช่เป็นการแสดงธรรม นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มี
ความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้
จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์ แต่การไม่ยกย่อง การไม่ตำหนิ การแสดงแต่ธรรม
เท่านั้น นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มี
ความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้อง
รณรงค์.
[667] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น กามสุขนี้ใด เป็น
สุขอากูล สุขของปุถุชน สุขไม่ประเสริฐ ธรรมนั้นมีทุกข์ มีความคับใจ มี
ความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึง
มีกิเลสต้องรณรงค์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น สุขอาศัยเนกขัมมะ
สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ นี้เป็นธรรม
ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะ-
ฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์.
[668] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น วาทะลับหลังซึ่งไม่
เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ
มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้
จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์. แม้วาทะลับหลังซึ่งจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน

เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้ก็ยังมีกิเลสต้องรณรงค์ ส่วนวาทะ
ลับหลังซึ่งจริง แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มี
ความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ
เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์.
[669] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น คำกล่าวล่วงเกินต่อ
หน้าซึ่งไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มี
ความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะ-
ฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์. แม้คำกล่าวล่วงเกินต่อหน้าซึ่งจริง
แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความ
แค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมี
กิเลสต้องรณรงค์. แต่คำกล่าวล่วงเกินต่อหน้าซึ่งจริง แท้ ประกอบด้วย
ประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มี
ความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้อง
รณรงค์.
[670] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น คำที่ผู้รีบด่วนพูด นี้
เป็นธรรมมีทุกข์ มิความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความ
ปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์. แต่คำที่ผู้ไม่รีบ
ด่วนพูด นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความ
เร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์.
[671] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น การปรักปรำภาษา
ชนบทและการล่วงเลยคำพูดสามัญ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความ
แค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมี

กิเลสต้องรณรงค์ แต่การไม่ปรักปรำภาษาชนบท และการไม่ล่วงเลยคำพูด
สามัญ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความ
เร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์
[672] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้
แลว่า เราทั้งหลายจักรู้ธรรมยังมีกิเลสต้องรณรงค์ และรู้ธรรมไม่มีกิเลสต้อง
รณรงค์ ครั้นรู้แล้ว จักปฏิบัติปฏิปทา ไม่มีกิเลสต้องรณรงค์ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็แหละกุลบุตรสุภูติ ปฏิบัติปฏิปทาไม่มีกิเลสต้องรณรงค์แล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส พระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม
ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ อรณวิภังคสูตรที่ 9

อรรถกถาอรณวิภังคสูตร



อรณวิภังคสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
ในบทเหล่านั้น บทว่า เนวุสฺสาเทยฺย น อปสาเทยฺย ความว่า
ไม่ยกยอ ไม่พึงตำหนิบุคคลใด ด้วยอำนาจอาศัยเรือน. บทว่า ธมฺมเมว
เทเสยฺย
คือ พึงพูดแต่ความจริงเท่านั้น. บทว่า สุขวินิจฺฉยํ ได้แก่สุขที่
ตัดสินแล้ว. บทว่า รโห วาทํ ได้แก่ กล่าวโทษลับหลัง อธิบายว่า
กล่าวคำส่อเสียด. บทว่า สุมฺมุขา นาติขีณํ ความว่า ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกิน
คำฟุ่มเฟือย คำสกปรกต่อหน้า. บทว่า นาภินิเวเสยฺยํ ความว่า ไม่พึงพูด
รีบด่วนเอาแต่ได้. บทว่า สมญฺญํ ได้แก่ โลกสมัญญาคือ โลกบัญญัติ.
บทว่า นาติธาเวยฺยํ คือ ไม่พึงล่วงละเมิด. บทว่า กามปฏิสนฺธิสุขิโน
ความว่า ผู้มีความสุข ด้วยความสุขโดยสืบต่อกาม คือ ประกอบด้วยกาม
บทว่า สทุกฺโข ได้แก่มีทุกข์ ด้วยวิบากทุกข์บ้าง ด้วยกิเลสทุกข์บ้าง บทว่า
สอุปฆาโฏ ได้แก่มีความคับใจ ด้วยความคับใจในวิบากและความคับใจใน
กิเลสนั้นเทียว มีความเร่าร้อนเหมือนอย่างนั้น. บทว่า มิจฺฉาปฏิปทา ได้แก่
ความปฏิบัติไม่เป็นความจริง คือ ความปฏิบัติอันเป็นอกุศล. บทว่า อิตฺเถเก
อปสาเทติ
ความว่า ตำหนิบุคคลบางพวก ด้วยอำนาจอาศัยเรือนอย่างนี้
แม้ในการยกยอก็มีนัยนี้เช่นกัน. บทว่า ภวสํโยชนํ ได้แก่ ผูกพันในภพ
นั่นเป็นชื่อของตัณหา. ได้ยินว่า พระสุภูติเถระ อาศัยจตุกะนี้ ดำรงอยู่ใน
ตำแหน่งเอตทัคคะ. จริงอยู่เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่ ความ
ยกยอและการตำหนิย่อมปรากฏแก่บุคคลทั้งหลาย. เมื่อพระเถระทั้งหลายมีพระ-
สารีบุตรเถระเป็นต้นแสดงธรรม ความยกยอและการตำหนิก็ปรากฏอย่างนั้น.