เมนู

ไม่เป็นการยกย่อง ไม่เป็นการตำหนิ เป็นการแสดงธรรมแท้. ข้อที่เรากล่าว
ดังนี้ว่า พึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้วไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ
พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.

ความรู้ตัดสินความสุข


[659] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้ตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว.
พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสุขภายใน นั่น เราอาศัยอะไร กล่าวแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณนี้มี 5 อย่างแล 5 อย่าง เป็นไฉน คือ รูปที่รู้
ได้ด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่รู้ได้ด้วยโสต... กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ...
รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา... โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด นี้แล
กามคุณ 5. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุขโสมนัสใดแล อาศัยกามคุณ 5 เหล่านี้
เกิดขึ้น สุขโสมนัสนี้ เรียกว่าสุขอาศัยกาม สุขของปุถุชน สุขอากูล ไม่ใช่
สุขของพระอริยะ. เรากล่าวว่า ไม่พึงเสพ ไม่พึงให้เจริญ ไม่พึงทำให้มาก
พึงกลัวสุขนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุสลธรรม
เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่. เข้าทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและ
วิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้วางเฉย
เพราะหน่ายปีติมีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน...
อยู่ เข้าจตุตถฌาน ... อยู่ นี้เรียกว่า สุขอาศัยเนกขัมมะ. สุขเกิดแค่ความสุข
สุขเกิดแต่ความสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ เรากล่าวว่า พึงเสพให้มาก
ให้เจริญ พึงทำให้มาก ไม่พึงกลัวสุขนี้ . ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้ตัดสิน-