เมนู

อรรถกถาอุทเทสวิภังคสูตร



อุทเทสวิภังคสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทฺเทสวิภงฺคํ ได้แก่ อุเทศ และ
วิภังค์. อธิบายว่า มาติกาและการจำแนก. บทว่า อุปปริกฺเขยฺย ความว่า
พึงเทียบเคียง พึงพิจารณา พึงถือเอา พึงกำหนด. บทว่า พหิทฺธา ได้แก่
ในอารมณ์ภายนอกทั้งหลาย. บทว่า อวิกฺขิตฺตํ อวิสฏํ ความว่า ความ
ตั้งมั่นในอารมณ์ ด้วยอำนาจความใคร่ ฟุ้งไป ชื่อว่า ซ่านไป. เมื่อทรง
ปฏิเสธความรู้สึกซ่านไปนั้น จึงตรัสอย่างนี้ . บทว่า อชฺฌตฺตํ อสณฺฐิตํ
ความว่า ไม่ตั้งสงบอยู่ด้วยอำนาจแห่งความใคร่ในอารมณ์ภายใน. บทว่า อนุ-
ปาทาย น ปริตสฺเสยฺย
มีอธิบายว่า ความรู้สึกนั้นไม่สะดุ้ง เพราะไม่
ถือมั่น คือไม่ถือเอาความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่สงบอยู่ใน
ภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่นฉันใด ภิกษุพึงพิจารณาฉันนั้น. บทว่า ชาติ-
ชรา มรณทุกฺขสมุทยสมฺภโว
ความว่า ย่อมไม่มีความเกิดแห่งชาติ ชรา
มรณะ และทุกข์ที่เหลือ. บทว่า รูปนิมิตฺตานุสารี ได้แก่ชื่อว่า แล่นไป
ตามนิมิต คือ รูป เพราะอรรถว่า แล่นไป วิ่งไป ตามนิมิต คือ รูป. บทว่า
เอวํ โข อาวุโส อชฺฌตฺตํ จิตฺตํ อสณฺฐิตํ ความว่า ไม่สงบอยู่ด้วย
อำนาจแห่งความใคร่. ก็จิตไม่ตั้งมั่นอยู่ด้วยอำนาจแห่งความใคร่ย่อมไม่เป็น
ส่วนในการละ แต่เป็นส่วนในคุณวิเศษอย่างเดียว. บทว่า อนุปาทาปริตสุ-
สนา
ความว่า พระศาสดาทรงแสดงความสะดุ้งเพราะยึดถือ และความ
สะดุ้ง เพราะไม่ยึดถือ ในขันติยวรรคอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจัก
แสดงความสะดุ้งเพราะถือมั่น และความไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น. พระมหาเถร

เมื่อจะแสดงความสะดุ้งนั้น ทำความสะดุ้งเพราะความถือมั่น ไห้เป็นความสะดุ้ง
เพราะไม่ถือมั่น จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ก็ความสะดุ้งเพราะ
ไม่ถือมั่นเป็นอย่างไร. เพราะไม่มีสังขารที่พึงถือมั่น ก็ผิว่า สังขารไร ๆ เป็น
ของเที่ยง หรือมั่นคง ไซร้ ก็จักเป็นของควรยึดถือว่า เป็นคน หรือ เนื่อง
กับตน. ความสะดุ้งนี้ เป็นความสะดุ้งเพราะตามถือมั่น. ก็เพราะธรรมดาสังขาร
ที่ควรถือมั่นอย่างนี้ ไม่มี เพราะฉะนั้น สังขารทั้งหลายแม้มีใจครองมีรูป
เป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า รูป อัตตา ก็เป็นของไม่ควรถือมั่นแท้. ความสะดุ้ง
นั้น แม้เป็นความสะดุ้งเพราะถือมั่นอย่างนี้เทียว โดยเนื้อความพึงทราบว่า
เป็นความสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น.
บทว่า อยฺญถา โหติ ความว่า รูปแปรปรวนไป. แต่ก็พินาศไป
เพราะการละปกติ. บทว่า รูปวิปริณามานุปริวตฺติ ความว่า กรรมวิญญาณ
ย่อมแปรปรวนไปตามความแตกสลายของรูปโดยนัยมีอาทิว่า รูปของเราแปร-
ปรวนไปแล้ว หรือว่า รูปใดมีอยู่ รูปนั้นแลของเราไม่มี ดังนี้. บทว่า
วิปริณามานุปริวตฺตชา ความว่า อันเกิดแต่ความแปรปรวนไปตามความ
แปรปรวน คือ แต่จิตซึ่งมีอารมณ์มีความแปรปรวน. บทว่า ปริตสฺสนา
ธมฺมสมุปฺปาทา ได้แก่ ความสะดุ้งเพราะตัณหา และความเกิดขึ้นแห่ง
อกุศลธรรม. บทว่า จิตฺตํ ปริยาทาย ติฏฺฐนฺติ ความว่า ย่อมตั้งครอบงำ
คือ ยึดถือ เวี่ยงไป ซึ่งอกุศลจิต. บทว่า อุตฺตาสวา ความว่า เขามีความ
หวาดเสียว เพราะความสะดุ้งจากภัยบ้าง มีความหวาดเสียว เพราะความสะดุ้ง
จากตัณหาบ้าง. บทว่า วิฆาฏวา ได้แก่ มีความคับแค้น มีทุกข์. บทว่า
อเปกฺขวา ได้แก่ มีอาลัย มีความห่วงใย. บทว่า เอวํ โข อาวุโส

อนุปาทาปริตสฺสนา โหติ ความว่า ความสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อมมีแก่
เขาเหมือนถือผอบเปล่าด้วยสำคัญว่า ผอบแก้วมณีอย่างนี้ ครั้นเมื่อผอบนั้น
พินาศแล้ว จึงถึงความคับแค้นในภายหลังฉะนั้น. บทว่า น รูปวิปริณา-
มานุปริวตฺติ ความว่า กรรมวิญญาณของขีณาสพนั้นเทียว ย่อมไม่มี. เพราะ
ฉะนั้น จึงสมควรเพื่อกล่าวว่า ความแปรปรวนไปตามความแตกสลายของรูป
ไม่มี ดังนี้. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอุทเทสวิภังคสูตรที่ 8

9. อรณวิภังคสูตร



[653] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดำรัส
แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
อรณวิภังค์แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงพึงอรณวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจัก
กล่าวต่อไป. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระพุทธ
เจ้าข้า.
[654] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ไม่พึงประกอบเนือง ๆ
ซึ่งสุขอาศัยกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระ-
อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเพียร
เครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุด 2 อย่างนี้นั้น อัน
ตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้มีจักษุ ทำให้มีญาณ เป็น
ไปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน. พึงรู้
จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดง
แต่ธรรมเท่านั้น พึงรู้ตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่ง
ความสุขภายใน ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า พึง
เป็นผู้ไม่รีบด่วนพูด อย่าพูดรีบด่วน ไม่พึงปรักปรำภาษาชนบท ไม่พึงล่วง
เลยคำพูดสามัญเสีย นี้อุเทศแห่งอรณวิภังค์.