เมนู

อรรถกถาอุทเทสวิภังคสูตร



อุทเทสวิภังคสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทฺเทสวิภงฺคํ ได้แก่ อุเทศ และ
วิภังค์. อธิบายว่า มาติกาและการจำแนก. บทว่า อุปปริกฺเขยฺย ความว่า
พึงเทียบเคียง พึงพิจารณา พึงถือเอา พึงกำหนด. บทว่า พหิทฺธา ได้แก่
ในอารมณ์ภายนอกทั้งหลาย. บทว่า อวิกฺขิตฺตํ อวิสฏํ ความว่า ความ
ตั้งมั่นในอารมณ์ ด้วยอำนาจความใคร่ ฟุ้งไป ชื่อว่า ซ่านไป. เมื่อทรง
ปฏิเสธความรู้สึกซ่านไปนั้น จึงตรัสอย่างนี้ . บทว่า อชฺฌตฺตํ อสณฺฐิตํ
ความว่า ไม่ตั้งสงบอยู่ด้วยอำนาจแห่งความใคร่ในอารมณ์ภายใน. บทว่า อนุ-
ปาทาย น ปริตสฺเสยฺย
มีอธิบายว่า ความรู้สึกนั้นไม่สะดุ้ง เพราะไม่
ถือมั่น คือไม่ถือเอาความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่สงบอยู่ใน
ภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่นฉันใด ภิกษุพึงพิจารณาฉันนั้น. บทว่า ชาติ-
ชรา มรณทุกฺขสมุทยสมฺภโว
ความว่า ย่อมไม่มีความเกิดแห่งชาติ ชรา
มรณะ และทุกข์ที่เหลือ. บทว่า รูปนิมิตฺตานุสารี ได้แก่ชื่อว่า แล่นไป
ตามนิมิต คือ รูป เพราะอรรถว่า แล่นไป วิ่งไป ตามนิมิต คือ รูป. บทว่า
เอวํ โข อาวุโส อชฺฌตฺตํ จิตฺตํ อสณฺฐิตํ ความว่า ไม่สงบอยู่ด้วย
อำนาจแห่งความใคร่. ก็จิตไม่ตั้งมั่นอยู่ด้วยอำนาจแห่งความใคร่ย่อมไม่เป็น
ส่วนในการละ แต่เป็นส่วนในคุณวิเศษอย่างเดียว. บทว่า อนุปาทาปริตสุ-
สนา
ความว่า พระศาสดาทรงแสดงความสะดุ้งเพราะยึดถือ และความ
สะดุ้ง เพราะไม่ยึดถือ ในขันติยวรรคอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจัก
แสดงความสะดุ้งเพราะถือมั่น และความไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น. พระมหาเถร