เมนู

อรรถกถาสฬตนวิภังคสูตร



สฬายตนวิภังคสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวทิตพฺพานิ ความว่า พึงรู้ด้วยมรรค
อันมีวิปัสสนา. บทว่า มโนปวิจารา ได้แก่ วิตกและวิจาร. จริงมนะที่ยัง
วิตกให้เกิดขึ้น ท่านประสงค์ว่า มนะ ในที่นี้. ชื่อว่า มโนปวิจารา เพราะ
อรรถว่า เป็นความนึกหน่วงของใจ. บทว่า สตฺตปทา ได้แก่ ทางดำเนิน
ของสัตว์ทั้งหลาย ที่อาศัยวัฏฏะและวิวัฏฏะ. ก็ในที่นี้ ทางดำเนินสู่วัฏฏะมี
18 ประการ ทางดำเนินสู่วิวัฏฏะมี 18 ประการ. ทางดำเนินแม้เหล่านั้น
พึงทราบด้วยมรรคอันมีวิปัสสนานั้นแล. บทว่า โยคาจริยานํ ความว่า ผู้
ให้ศึกษาอาจาระมี หัตถิโยคะ เป็นต้น ได้แก่ ผู้ฝึกบุคคลที่ควรฝึก. บทที่
เหลือจักแจ่มแจ้งในวิภังค์นั้นเทียว. บทว่า อยมุทฺเทโส นี้ เป็นบทตั้งมาติกา.
อายตนะทั้งหลายมีจักษุอายตนะเป็นต้น ให้พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค. บทว่า
จกฺขุวิญฺญาณํ ได้แก่ จักษะวิญญาณทั้งสอง โดยวิบากของกรรมที่เป็นกุศลและ
อกุศล. แม้ในปสาทวิญญาณที่เหลือทั้งหลายก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็วิญญาณที่
เหลือเว้น วิญญาณ 5 ประการนี้ ชื่อว่า มโนวิญญาณในที่นี้. บทว่า จกฺขุ-
สมฺผสฺโส
ได้แก่ สัมผัสในจักษุ. นั้นเป็นชื่อของสัมผัสที่ประกอบด้วยจักษุ
วิญญาณ. ในสัมผัสทั้งหลายแม้ที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า จกฺขุนา รูปํ
ทิสฺวา
ความว่า เพราะเห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณ. ในบททั้งปวงก็นัยนี้เหมือนกัน
บทว่า โสมนสฺสฏฺฐานียํ ได้แก่ เป็นเหตุด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ของโสมนัส.
บทว่า อปวิจรติ ความว่า ใจย่อมนึกหน่วง ด้วยความเป็นไปของวิตก ใน
ความนึกหน่วงของใจนั้น. พึงทราบความนึกหน่วงของใจ กล่าวคือ วิตก