เมนู

ที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ
บูชาคนที่ควรบูชา.

ความไม่สอบถาม


[594] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษ
ก็ตาม ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็น
กุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่
ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน.
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้
พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญาทราม.
ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทรามนี้ คือ ไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะ
หรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ
อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไป
เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน.
[595] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษ
ก็ตาม ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล
อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไร
เมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน. เขาตายไป

จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้
อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญามาก. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมี
ปัญญามากนี้ คือ เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไร
เป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ
อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน.
[596] ดูก่อนมาณพ ด้วยประการฉะนั้นแล ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมี
อายุสั้น ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุสั้น ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืน
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุยืน ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมาก ย่อมนำ
เข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคมาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคน้อย ย่อมนำเข้าไป
สู่ความเป็นคนมีโรคน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทราม ย่อมนำเข้าไป
สู่ความเป็นคนมีผิวพรรณทราม ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใส ย่อมนำ
เข้าไปสู่ความเป็นคนน่าเลื่อมใส ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อย ย่อมนำเข้าไป
สู่ความเป็นคนมีศักดาน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามาก ย่อมนำเข้าไปสู่
ความเป็นคนมีศักดามาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อย ย่อมนำเข้าไปสู่ความ
เป็นคนมีโภคะน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็น
คนมีโภคะมาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำ ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็น
คนเกิดในสกุลต่ำ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลสูง ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็น
คนเกิดในสกุลสูง ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทราม ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็น
คนมีปัญญาทราม ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็น
คนมีปัญญามาก. ดูก่อนมาณภพ สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน เป็น

ทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง
อาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีต.
[597] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ สุภมาณพ โตเทยย
บุตรได้กราลทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า แจ่มแจ้ง
แล้ว พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย
เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอกทางแก่คนหลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีตาดีจักเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้
ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดม
ผู้เจริญ จงทรงจำ ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่
บัดนี้ เป็นต้นไป.
จบ จูฬกัมมวิภังคสูตรที่ 5

อรรถกถาสุภสูตร



สุภสูตร1 มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
ในสูตรนั้น บทว่า สุโภ ความว่า ได้ยินว่า เขาเป็นคนน่าดู
น่าเลื่อมใส. ด้วยเหตุนั้นญาติทั้งหลายจึงตั้งชื่อเขาว่า สุภะ เพราะความที่เขามี
อวัยวะงาม แต่ได้เรียกเขาว่า มาณพในกาลเป็นหนุ่ม. เขาถูกเรียกโดยโวหาร
นั้นแล แม้ในกาลเป็นคนแก่. บทว่า โตเทยฺยปุตฺโต ได้แก่บุตรของพราหมณ์
ปุโรหิต ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ชื่อว่า โตเทยยะ. ได้ยินว่า เขาถึงอัน
นับว่าโตเทยยะ เพราะเขาเป็นใหญ่แห่งบ้านชื่อว่า ตุทิคาม ซึ่งมีอยู่ใกล้กรุง
สาวัตถี. ก็เขาเป็นผู้มีทรัพย์มาก มีสมบัติ ถึง 87 โกฏิ แต่มีความตระหนี่จัด.
เมื่อจะให้ก็คิดว่า ขึ้นชื่อว่า ความไม่สิ้นเปลืองของโภคะทั้งหลายไม่มี จึงไม่ให้
อะไรแก่ใคร ๆ. สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
บัณฑิตเห็นความสิ้นไปแห่งยาหยอด
ตาทั้งหลาย การสะสมของตัวปลวกทั้ง
หลาย และการรวบรวมของตัวผึ้งทั้งหลาย
แล้ว พึงอยู่ครองเรือน.

เขาให้สำคัญอย่างนี้ ตลอดกาลนานทีเดียว. เขาไม่ให้วัตถุสักว่ายาคูกระบวยหนึ่ง
หรือภัตสักทัพพีแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ประทับอยู่ในวิหารใกล้ ทำกาละ
ด้วยความโลภในทรัพย์ ไปเกิดเป็นสุนัขในเรือนนั้นเทียว. สุภะรักสุนัขนั้นมา
เหลือเกิน ให้กินภัตที่คนบริโภคนั้นแหละ ยกขึ้นให้นอนในที่นอนอันประเสริฐ.
1. บาลีว่า จูฬกัมมวิภังคสูตร