เมนู

อรรถกาโลมสกังคยภัทเทกรัตตสูตร



โลมสกังคิยภัตเทกรัตตสูตร มีคำขึ้นต้น ว่าข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลมสกงฺคิโย คือ ได้ยินว่า โลมสกังคิยะ
นั้น เป็นชื่อพระอังคเถระ. ก็พระเถระนั้น ปรากฏชื่อว่า โลมสกังคิยะ เพราะ
ความที่กายมีอาการแห่งขน นิดหน่อย. บทว่า จนฺทโน เทวปุตฺโต ความว่า
ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะอุบาสกชื่อว่า
จันทนะ เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก บูชาพระรัตนะทั้งสาม ด้วยปัจจัยสี่
ตายไปเกิดในเทวโลก ถึงอันนับว่า จันทนเทพบุตรโดยชื่อที่มีในชาติก่อน.
บทว่า ปณฺฑุกัมพลศิลาอาสน์. ได้แก่ ณ กัมพลศิลาอาสน์สีแดง. ได้ยินว่า
สีของกัมพลศิลาอาสน์สีแดงนั้น มีสีเหมือนกองดอกชบา เพราะฉะนั้น จึง
เรียกว่า ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์. ถามว่า ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
ประทับ ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์นั้นในกาลใด. ตอบว่า ในปีที่เจ็ดจากการ
ตรัสรู้ ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ ในท่ามกลางแห่งบริษัทประมาณสิบสอง
โยชน์ ในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ใกล้กรุงสาวัตถี เสด็จลงประทับ นั่ง ณ
พุทธาสนะที่ปูไว้แล้วใกล้โคนต้นคัณฑามพะ ทรงถอนมหาชนออกจากทุกข์
ใหญ่ ด้วยพระธรรมเทศนา เพราะธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ครั้นทรง
ทำปาฏิหาริย์แล้ว จะไม่ประทับอยู่ในถิ่นมนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงทรงทำให้
พ้นจากขนมาเฝ้า เสด็จไปจำพระพรรษา ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ใกล้
ต้น ปาริฉัตร ในภพดาวดึงส์ ประทับอยู่ในสมัยนั้น.
บทว่า ตตฺร ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อประทับ อยู่ ณ
ภพดาวดึงส์นั้น อันเทวดาหมื่นจักรวาลโดยมาก มาประชุมแวดล้อมแล้ว

ทรงแสดงพระอภิธรรมปิฎกแก่พระมารดาให้เป็นกายสักขี ได้ตรัสอุทเทสและ
วิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ตามลำดับ เพื่อทรงให้เกิดความสังเวชแก่
ทวยเทพที่ไม่อาจเพื่อแทงตลอดซึ่งกถาที่กำหนดรูปและอรูป อันลึกซึ่งละเอียด
ประกอบด้วยไตรลักษณ์. ณ ที่นั้น เทวบุตร เมื่อจะเรียน ได้เรียนคาถา
เหล่านี้ พร้อมกับวิภังค์ แต่เพราะความที่เทวบุตรตั้งอยู่ในความประมาท ถูก
อารมณ์อันเป็นทิพย์ทั้งหลายครอบงำ จึงลืมพระสูตรโดยลำดับ ทรงจำได้
เพียงคาถาเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้น เทวบุตรจึงกล่าวว่า ดูก่อนภิกษุ ข้าพเจ้า
ทรงจำคาถาราตรีเดียวเจริญอย่างนี้แล. ในบทว่า อคฺคณฺห ตฺวํ เป็นต้น
เป็นผู้นิ่ง นั่ง ฟัง ชื่อว่า เรียน. เมื่อกระทำการสาธยายด้วยวาจา ชื่อว่า
เล่าเรียน. เมื่อบอกแก่บุคคลเหล่าอื่น ชื่อว่า ทรงจำ. บทที่เหลือในสูตรนี้
ง่ายทั้งนั้นแล.
อรรถกถาโสมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตรที่ 4

5. จูฬกัมมวิภังคสูตร



ว่าด้วยกฏแห่งกรรม


[579] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล สุภมาณพ โตเทยย
บุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[580] สุภมาณพ โตเทยยบุตร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความประณีต
มนุษย์ทั้งหลายย่อมปรากฏมีอายุสั้น มีอายุยืน มีโรคมาก มีโรคน้อย มีผิว
พรรณทราม มีผิวพรรณงาม มีศักดาน้อย มีศักดามาก มีโภคะน้อย มีโภคะ
มาก เกิดในสกุลต่ำ เกิดในสกุลสูง ไร้ปัญญา มีปัญญา ข้าแต่พระโคดม-
ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ไห้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่
ปรากฏความเลวและความประณีต.
[581] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาณพ สัตว์ทั้งหลายมี
กรรมเป็นของคน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็น
เผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึงอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้
สุภ. ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบเนื้อความโดยพิสดารของอุเทศที่พระ-
โคดมผู้เจริญตรัสโดยย่อ มิได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้ได้ ขอพระโคดม