เมนู

4.โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร



ว่าด้วยลักษณะผู้มีราตรีเดียวเจริญ


[565] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล ท่านพระโลมสกัง-
คิยะอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท. ครั้ง
นั้นแล ล่วงปฐมยามไปแล้ว จันทนเทวบุตร มีรัศมีงามยิ่ง ส่องพระวิหาร
นิโครธารามให้สว่างทั่ว เข้าไปหาท่านพระโลมสกังคิยะยังที่อยู่ แล้วได้ยืน ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[566] จันทนเทวบุตรพอยืนเรียบร้อยแล้ว จึงกล่าวกะท่านพระโลม-
สกังคิยะดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ท่านทรงจำอุเทศและวิภังค์ ของบุคคลผู้มีราตรี
หนึ่งเจริญได้ไหม.
ท่านพระโลมสกังคิยะกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราทรงจำไม่ได้ ก็
ท่านทรงจำได้หรือ.
จันทนะ. ดูก่อนภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็ทรงจำไม่ได้ และท่านทรงจำคาถา
แสดงราตรีหนึ่งเจริญได้ไหม.
โลม. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราทรงจำไม่ได้ ก็ท่านทรงจำได้หรือ.
จันทนะ. ดูก่อนภิกษุ ข้าพเจ้าทรงจำได้.
โลม. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็ท่านทรงจำได้อย่างไรเล่า.
[567] จันทนะ. ดูก่อนภิกษุสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ
อยู่ ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ที่ควงไม้ปาริฉัตร ในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์

ณ ที่นั้นแล. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่ง
เจริญแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไป
แล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่
ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใด
เห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่
คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ ได้ บุคคลนั้น
พึงเจริญธรรมนั้นเนือง ๆ ไห้ปรุโปร่งเถิด
พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใคร
เล่าจะพึงรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่า
ความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบ
ย่อมเรียกบุคคลผู้มีปกติเป็นอยู่อย่างนี้มี
ความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและ
กลางคน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

[568] ดูก่อนภิกษุ ข้าพเจ้าทรงจำคาถาแสดงราตรีหนึ่งเจริญได้
อย่างนี้แล ขอท่านจงเล่าเรียน และทรงจำอุเทศและวิภังค์ของบุรุษผู้มีราตรีหนึ่ง
เจริญเถิด เพราะอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ประกอบด้วย
ประโยชน์เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ จันทนเทวบุตรกล่าวดังนี้แล้ว จึงหาย
ไป ณ ที่นั้นเอง.
[569] ครั้งนั้นแล ท่านพระโลมสกังคิยะ. พอล่วงราตรีนั้น ไปแล้ว
จึงเก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวรมุ่งจาริกไปยังพระนครสาวัตถี. เมื่อจาริกไปโดย

ลำดับ ถึงพระนครสาวัตถี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ประทับ
พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนึ่งเรียบร้อยแล้ว ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ข้าพระ-
องค์อยู่ที่พระวิหารนิโครธารามเขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท ขณะนั้น
ล่วงปฐมยามไปแล้ว เทวบุตรองค์หนึ่ง มีรัศมีงามยิ่ง ส่องพระวิหารนิโครธาราม
ให้สว่างทั่ว เข้าไปหาข้าพระองค์ยังที่อยู่ แล้วได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พอยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะข้าพระองค์ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ท่านทรงจำ
อุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญได้ไหม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อเทวบุตรนั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้กล่าวกะเทวบุตรนั้นดังนี้ว่า
ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราทรงจำไม่ได้ ก็ท่านทรงจำได้หรือ เทวบุตรนั้นกล่าวว่า
ดูก่อนภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็ทรงจำไม่ได้และท่านทรงจำคาถาแสดงราตรีหนึ่งเจริญ
ได้ไหม ข้าพระองค์ตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราทรงจำไม่ได้ ก็ท่านทรง
จำได้หรือ เทวบุตรนั้น กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุ ข้าพเจ้าทรงจำได้ ข้าพระองค์
ถามว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ท่านทรงจำได้อย่างไรเล่า เทวบุตรนั้นกล่าวว่า
ดูก่อนภิกษุ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์
ที่ดวงไม้ปาริฉัตร ในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ตรัสอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ฯลฯ พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคล...นั้น
แลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

ดูก่อนภิกษุ ข้าพเจ้าทรงจำคาถาแสดงราตรีหนึ่งเจริญได้อย่างนี้แล ท่านจงเล่า
เรียนและทรงจำอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญเถิด เพราะอุเทศ

และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้น
แห่งพรหมจรรย์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทวบุตรนั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงหายไป
ณ ที่นั้นเอง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรดแสดง
อุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่ข้าพระองค์เถิด.
[570] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ก็เธอรู้จักเทวดา
นั้นหรือไม่.
ท่านพระโลมสกังคิยะกราบทูลว่า ไม่รู้จักเลย พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุ เทวบุตรนั้นชื่อว่าจันทนะ จันทนเทวบุตรย่อมมุ่ง
ประโยชน์ใส่ใจ เอาใจฝักใฝ่สิ่งทั้งปวง เงี่ยโสตลงฟังธรรม ดูก่อนภิกษุ
ถ้าเช่นนั้น เธอจงพึง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป. ภิกษุนั้นทูลรับ
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่าชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.
[571] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วง
ไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และ
สิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็
บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น
ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ ได้ บุคคล
นั้นพึงเจริญธรรมนั้น เนือง ๆ ให้ปรุโปร่ง
เถิด พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ
ใครเล่าจะพึงรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะ
ว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่
นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้

สงบ ย่อมเรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้
มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและ
กลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

[572] ดูก่อนภิกษุ ก็บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร คือ
รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า เราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว.
ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มี
สังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ดูก่อน
ภิกษุ อย่างนี้แล ชื่อว่า คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.
[573] ดูก่อนภิกษุ ก็บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร คือ
ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า เราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วง
แล้ว ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
ดูก่อนภิกษุ อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.
[574] ดูก่อนภิกษุ ก็บุคคลจะมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร คือ
รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ในกาลอนาคต
พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสังขาร
อย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต ดูก่อนภิกษุ อย่างนี้
แล ชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.
[575] ดูก่อนภิกษุก็ภิกษุจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร คือ
ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ในกาล
อนาคต พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต
พึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต. ดูก่อน
ภิกษุ อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.

[576] ดูก่อนภิกษุ ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร
คือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมสัตบุรุษ ย่อมเล็งเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็ง
เห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อม
เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็น
อัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่า
มีวิญญาณบ้าง เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
ดูก่อนภิกษุ อย่างนี้แล ชื่อว่า ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.
[577] ดูก่อนภิกษุ ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร
คือ อรยสาวกผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ
ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็น
อัตตาในวิญญาณบ้าง. ดูก่อนภิกษุ อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่ง่อนแง่นในธรรม
ปัจจุบัน.

[578] บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ฯลฯ พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคล...
นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระโลมสกังคิยะจึง
ชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตรที่ 4

อรรถกาโลมสกังคยภัทเทกรัตตสูตร



โลมสกังคิยภัตเทกรัตตสูตร มีคำขึ้นต้น ว่าข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลมสกงฺคิโย คือ ได้ยินว่า โลมสกังคิยะ
นั้น เป็นชื่อพระอังคเถระ. ก็พระเถระนั้น ปรากฏชื่อว่า โลมสกังคิยะ เพราะ
ความที่กายมีอาการแห่งขน นิดหน่อย. บทว่า จนฺทโน เทวปุตฺโต ความว่า
ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะอุบาสกชื่อว่า
จันทนะ เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก บูชาพระรัตนะทั้งสาม ด้วยปัจจัยสี่
ตายไปเกิดในเทวโลก ถึงอันนับว่า จันทนเทพบุตรโดยชื่อที่มีในชาติก่อน.
บทว่า ปณฺฑุกัมพลศิลาอาสน์. ได้แก่ ณ กัมพลศิลาอาสน์สีแดง. ได้ยินว่า
สีของกัมพลศิลาอาสน์สีแดงนั้น มีสีเหมือนกองดอกชบา เพราะฉะนั้น จึง
เรียกว่า ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์. ถามว่า ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
ประทับ ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์นั้นในกาลใด. ตอบว่า ในปีที่เจ็ดจากการ
ตรัสรู้ ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ ในท่ามกลางแห่งบริษัทประมาณสิบสอง
โยชน์ ในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ใกล้กรุงสาวัตถี เสด็จลงประทับ นั่ง ณ
พุทธาสนะที่ปูไว้แล้วใกล้โคนต้นคัณฑามพะ ทรงถอนมหาชนออกจากทุกข์
ใหญ่ ด้วยพระธรรมเทศนา เพราะธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ครั้นทรง
ทำปาฏิหาริย์แล้ว จะไม่ประทับอยู่ในถิ่นมนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงทรงทำให้
พ้นจากขนมาเฝ้า เสด็จไปจำพระพรรษา ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ใกล้
ต้น ปาริฉัตร ในภพดาวดึงส์ ประทับอยู่ในสมัยนั้น.
บทว่า ตตฺร ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อประทับ อยู่ ณ
ภพดาวดึงส์นั้น อันเทวดาหมื่นจักรวาลโดยมาก มาประชุมแวดล้อมแล้ว