เมนู

อรรถกถามหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร



มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับ มาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโปทาราเม ความว่า ในอารามที่มีชื่อ
อย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งสระชื่อ ตโปทะ คือ มีน้ำร้อน. ได้ยินว่า ภายใต้
เวภารบรรพตมีภพนาคประมาณห้าร้อยโยชน์ของนาคที่อยู่ ในแผ่นดินทั้งหลาย
เป็นเช่นกับเทวโลก ถึงพร้อมด้วยพื้นอันสำเร็จด้วยแก้วมณี และสวนอันเป็น
ที่รื่นรมย์ทั้งหลาย. ในสถานที่เป็นที่เล่นของนาคทั้งหลายในภพนาคนั้น มี
สระน้ำให้ แม่น้ำชื่อ ตโปทา มีน้ำร้อนเดือดพล่านไหลจากสระนั้น. ก็เพราะ
เหตุไร แม่น้ำนั้นจึงเป็นเช่นนี้. ได้ยินว่า โลกแห่งเปรตใหญ่ล้อมกรุงราชคฤห์.
แม่น้ำตโปทา นี้มาในระหว่างมหาโลหกุมภีนรก ทั้งสองในมหาเปรต โลกนั้น.
เพราะฉะนั้น แม่น้ำตโปทานั้น จึงเดือดพล่านไหลมา. สมจริงดังพระดำรัส
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำตโปทานี้ย่อม
ไหลโดยประการที่สระนั้น มีน้ำใสสะอาด. เย็น ขาว มีท่าดี รื่นรมย์ มีปลาและ
เต่ามาก และมีปทุมประมาณวงล้อบานสะพรั่ง อนึ่ง แม่น้ำตโปทานี้ ไหลผ่าน
ระหว่างมหานรกทั้งสอง เพราะเหตุนั้น แม่น้ำตโปทานี้จึงเดือดพล่านไหลมา
ดังนี้. ก็สระน้ำใหญ่ เกิดข้างหน้าพระอารามนี้ ด้วยอำนาจแห่งชื่อ สระน้ำ
ใหญ่นั้น วิหารนี้ จึงเรียกว่า ตโปทาราม. บทว่า สมิทฺธิ ความว่า นัยว่า
อัตภาพของพระเถระนั้น ละเอียด มีรูปสวย น่าเลื่อมใส เพราะฉะนั้น จึงถึง
อันนับว่า สมิทธิ. บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยโก ได้แก่เป็นเบื้องต้นแห่งมรรค
พรหมจรรย์ คือเป็นข้อปฏิบัติ ในส่วนเบื้องต้น. บทว่า อทํ ว วา สุคโต
อฏฺฐายาสนา
เป็นต้น พึงให้พิสดารโดยนัยที่กล่าวแล้วในมธุบิณฑิกสูตร.

บทว่า อิติ เม จกฺขุํ ความว่า นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งมาติกา ด้วย
อำนาจแห่งอายตนะ 12 ในสูตรนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำมาติกาและ
วิภังค์ด้วยอำนาจแห่งขันธ์ห้า ในสามสูตรนี้ คือ ในหนก่อนสองสูตร และ
ในข้างหน้าหนึ่งสูตรซึ่งเป็นสูตรที่สี่ แต่ในสูตรนี้ ฝ่ายพระเถระได้นัยว่า
มาติกาว ฐปิตา จึงกล่าวอย่างนี้ เพื่อจำแนกอายตนะสิบสอง. ก็พระเถระ
เมื่อได้นัยนี้ได้ทำภาระหนัก. คือ แสดงรอยเท้าในที่ไม่มีรอยเท้า การทำรอย
เท้าในอากาศด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงพระสูตรนี้ นั้นเทียว
จึงทรงตั้งพระเถระนั้น ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหา-
กัจจานะเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของเราที่จำแนกเนื้อความแห่ง
ภาษิตโดยย่อ ให้พิสดารได้.
ก็ในสูตรนี้ บทว่า จกฺขุํ ได้แก่ จักษุประสาท. บทว่า รูปา ได้แก่
รูปทั้งหลายอันมีสมุฏฐานสี่. พึงทราบแม้อายตนะที่เหลือ โดยนัยนี้ บทว่า
วิญฺญาณํ ได้แก่ วิญญาณอันเที่ยง. บทว่า ตทภินนฺทติ ความว่า เพลิด-
เพลินจักษุและรูปนั้น ด้วยอำนาจแห่งตัณหาและทิฐิ. บทว่า อนฺวาคเมติ
ความว่า ไปตามด้วยตัณหาและทิฐิทั้งหลาย. ก็ในบทว่า อิติ เม มโน อโหสิ
อิติ ธมฺมา
นั้นบทว่า มโน ได้แก่ ภวังคจิต. บทว่า ธมฺมา ได้แก่ธัม-
มารมณ์อันเป็นไปในภูมิสาม. บทว่า ปณิทหติ คือตั้งไว้ด้วยอำนาจแห่งความ
ปรารถนา บทว่า ปณิธานปจฺจยา ได้แก่ เพราะตั้งความปรารถนาไว้ คือ
เพราะเหตุ. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถามหากัจจานภัทเทกรัตตสูตรที่ 3

4.โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร



ว่าด้วยลักษณะผู้มีราตรีเดียวเจริญ


[565] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล ท่านพระโลมสกัง-
คิยะอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท. ครั้ง
นั้นแล ล่วงปฐมยามไปแล้ว จันทนเทวบุตร มีรัศมีงามยิ่ง ส่องพระวิหาร
นิโครธารามให้สว่างทั่ว เข้าไปหาท่านพระโลมสกังคิยะยังที่อยู่ แล้วได้ยืน ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[566] จันทนเทวบุตรพอยืนเรียบร้อยแล้ว จึงกล่าวกะท่านพระโลม-
สกังคิยะดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ท่านทรงจำอุเทศและวิภังค์ ของบุคคลผู้มีราตรี
หนึ่งเจริญได้ไหม.
ท่านพระโลมสกังคิยะกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราทรงจำไม่ได้ ก็
ท่านทรงจำได้หรือ.
จันทนะ. ดูก่อนภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็ทรงจำไม่ได้ และท่านทรงจำคาถา
แสดงราตรีหนึ่งเจริญได้ไหม.
โลม. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราทรงจำไม่ได้ ก็ท่านทรงจำได้หรือ.
จันทนะ. ดูก่อนภิกษุ ข้าพเจ้าทรงจำได้.
โลม. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็ท่านทรงจำได้อย่างไรเล่า.
[567] จันทนะ. ดูก่อนภิกษุสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ
อยู่ ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ที่ควงไม้ปาริฉัตร ในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์