เมนู

ผู้ไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน


[560] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรม
ปัจจุบันอย่างไร คือ มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปทั้ง 2 อย่าง
ที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแล เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ จึงเพลิดเพลิน
จักษุและรูปนั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่า ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียง.. .
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่น...
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรส. . .
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ. . .
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ทั้ง 2 อย่างที่
เป็นปัจจุบันด้วยกันแล เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ จึงเพลิดเพลิน
มโนและธรรมารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่า ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.
[561] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรม.
ปัจจุบันอย่างไร คือ มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปทั้ง 2
อย่างที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแล เพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ จึง
ไม่เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลินจึงชื่อว่า ไม่ง่อนแง่นในธรรม
ปัจจุบัน.
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียง...
มีความร้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่น...
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรส...
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ...

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในมโนแลธรรมารมณ์ทั้ง 2 อย่าง
ที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแล เพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ จึงไม่
เพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่ง่อนแง่น
ในธรรมปัจจุบัน. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่ง่อนแง่น
ในธรรมปัจจุบัน.
[562] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงอุเทศ โดยย่อแก่เราทั้งหลายว่า
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ฯลฯ พระมุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคล...
นั้นแลว่า ผู้มีราตีหนึ่งเจริญ

ดังนี้ มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร แล้วทรงลุกจากอาสนะ เสด็จเข้า
ไปยังพระวิหารนี้แล ข้าพเจ้าทราบเนื้อความโดยพิสดารอย่างนี้ ก็แหละท่าน
ทั้งหลายหวังอยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลสอบถามเนื้อความ
นั้นเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่ท่านทั้งหลายอย่างใด พวกท่าน
พึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น.
[563] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้น ยินดีอนุโมทนาภาษิตของท่าน
พระมหากัจจานะแล้วลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่ง
เรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศโดยย่อแก่พวกข้าพระองค์ว่า
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ฯลฯ พระมุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคล...
นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ

ดังนี้ มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร แล้วทรงลุกจากอาสนะ เสด็จเข้า
ไปยังพระวิหาร พอพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน พวกข้า
พระองค์นั้น ได้มีข้อปรึกษากันอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศโดยย่อแก่พวกเราว่า
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วง
ไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และ
สิ่งที่ยังมีมาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคล
ใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่
คลอนแคลนในธรรมนั้นๆได้ บุคคลนั้น
พึงเจริญธรรมนั้นเนือง ๆ ให้ปรุโปร่งเถิด
พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่า
จะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความ
ผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่ นั้นย่อม
ไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบ ย่อม
เรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีความ
เพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลาง-
คืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ

ดังนี้แล มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ก็ทรงลุกจากอาสนะ เสด็จเข้า
ไปยังพระวิหาร ใครหนอแลจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์นั้น
ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านพระมหากัจจานะนี้แล อันพระศาสดาและพวก

ภิกษุร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้อันวิญญูชนยกย่อง สรรเสริญแล้ว ก็ท่าน
พระกัจจานะนี้พอจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
โดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะยัง
ที่อยู่ แล้วพึงสอบถามเนื้อความนี้กะท่านพระมหากัจจานะเถิด ลำดับนั้นแล
พวกข้าพระองค์จึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะยังที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความ
นั้นกะท่าน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระมหากัจจานะ จำแนกเนื้อความแก่
พวกข้าพระองค์นั้นแล้วโดยอาการดังนี้ โดยบทดังนี้ โดยพยัญชนะดังนี้.
[574] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหากัจจานะ
เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก แม้หากพวกเธอสอบถามเนื้อความนั้นกะเรา เราก็
จะพยากร์เนื้อความนั้นอย่างเดียวกับที่มหากัจจานะพยากรณ์แล้วเหมือนกัน ก็
แหละเนื้อความของอุเทศนั้นเป็นดังนี้แล พวกเธอจงทรงจำเนื้อความนั้นไว้
อย่างนั้นเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม
ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ มหากัจจนภัทเทกรัตตสูตร ที่ 3

อรรถกถามหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร



มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับ มาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโปทาราเม ความว่า ในอารามที่มีชื่อ
อย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งสระชื่อ ตโปทะ คือ มีน้ำร้อน. ได้ยินว่า ภายใต้
เวภารบรรพตมีภพนาคประมาณห้าร้อยโยชน์ของนาคที่อยู่ ในแผ่นดินทั้งหลาย
เป็นเช่นกับเทวโลก ถึงพร้อมด้วยพื้นอันสำเร็จด้วยแก้วมณี และสวนอันเป็น
ที่รื่นรมย์ทั้งหลาย. ในสถานที่เป็นที่เล่นของนาคทั้งหลายในภพนาคนั้น มี
สระน้ำให้ แม่น้ำชื่อ ตโปทา มีน้ำร้อนเดือดพล่านไหลจากสระนั้น. ก็เพราะ
เหตุไร แม่น้ำนั้นจึงเป็นเช่นนี้. ได้ยินว่า โลกแห่งเปรตใหญ่ล้อมกรุงราชคฤห์.
แม่น้ำตโปทา นี้มาในระหว่างมหาโลหกุมภีนรก ทั้งสองในมหาเปรต โลกนั้น.
เพราะฉะนั้น แม่น้ำตโปทานั้น จึงเดือดพล่านไหลมา. สมจริงดังพระดำรัส
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำตโปทานี้ย่อม
ไหลโดยประการที่สระนั้น มีน้ำใสสะอาด. เย็น ขาว มีท่าดี รื่นรมย์ มีปลาและ
เต่ามาก และมีปทุมประมาณวงล้อบานสะพรั่ง อนึ่ง แม่น้ำตโปทานี้ ไหลผ่าน
ระหว่างมหานรกทั้งสอง เพราะเหตุนั้น แม่น้ำตโปทานี้จึงเดือดพล่านไหลมา
ดังนี้. ก็สระน้ำใหญ่ เกิดข้างหน้าพระอารามนี้ ด้วยอำนาจแห่งชื่อ สระน้ำ
ใหญ่นั้น วิหารนี้ จึงเรียกว่า ตโปทาราม. บทว่า สมิทฺธิ ความว่า นัยว่า
อัตภาพของพระเถระนั้น ละเอียด มีรูปสวย น่าเลื่อมใส เพราะฉะนั้น จึงถึง
อันนับว่า สมิทธิ. บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยโก ได้แก่เป็นเบื้องต้นแห่งมรรค
พรหมจรรย์ คือเป็นข้อปฏิบัติ ในส่วนเบื้องต้น. บทว่า อทํ ว วา สุคโต
อฏฺฐายาสนา
เป็นต้น พึงให้พิสดารโดยนัยที่กล่าวแล้วในมธุบิณฑิกสูตร.