เมนู

อานนท์ สาวกนี้เรียกว่าศิษย์มีอุปัทวะด้วยอุปัทวะของศิษย์ อกุศลธรรม
อันลามก เศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์
เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรามรณะต่อไป ได้ฆ่าสาวกนั้นเสียแล้ว
ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แลอุปัทวะของศิษย์ย่อมมีได้.

อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์


[358] ดูก่อนอานนท์ ก็อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมี
ได้อย่างไร ดูก่อนอานนท์ ตถาคตอุบัติในโลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส
รู้เองโดยชอบถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ. ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถี
ผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดา และมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ตถาคตนั้นย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด
คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และ
ล้อมฟาง เมื่อตถาคตนั้นหลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี
ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเขาไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี
ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว ตถาคตนั้นย่อมไม่ปรารถนา
อย่างหมกมุ่น ไม่ถึงความวุ่นวาย ไม่เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูก่อน
อานนท์ ส่วนสาวกของตถาคตผู้ศาสดานั้นแล เมื่อเพิ่มพูนวิเวกตามคถาคตผู้
ศาสดา ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ
บนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อสาวกนั้นหลีกออกแล้ว
อย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากัน
เข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้า
ไปหาแล้ว สาวกนั้นย่อมปรารถนาอย่างหมกมุ่น ถึงความวุ่นวาย เวียนมา

เพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูก่อนอานนท์ สาวกนี้เรียกว่าผู้ประพฤติพรหมจรรย์
มีอุปัทวะด้วยอุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ อกุศลธรรมอันลามก
เศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก
เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรามรณะต่อไป ได้ฆ่าสาวกนั้นเสียแล้ว ดูก่อนอานนท์
อย่างนี้แล อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้.
ดูก่อนอานนท์ ในอุปัทวะทั้ง 3 นั้น อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหม-
จรรย์นี้ มีวิบากเป็นทุกข์ มีวิบากเผ็ดร้อนกว่าอุปัทวะของอาจารย์และ
อุปัทวะของศิษย์ทั้งเป็นไปเพื่อความตกต่ำด้วย ดูก่อนอานนท์ เพราะฉะนั้น
แล พวกเธอจงเรียกร้องเราด้วยความเป็นมิตร อย่าเรียกร้องเราด้วยความเป็น
ข้าศึก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเธอตลอด
กาลนาน.
[355] ดูก่อนอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความ
เป็นข้าศึก ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นมิตรอย่างไร ดูก่อนอานนท์ ศาสดา
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดู
แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี้เพื่อความ
สุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้นไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิต
รับรู้และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เหล่า
สาวกชื่อว่าเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นข้าศึก ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความ
เป็นมิตร.

ว่าด้วยมิตรปฏิบัติ


[356] ดูก่อนอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความ
เป็นมิตร ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึกอย่างไร ดูก่อนอานนท์ ศาสดา