เมนู

2. อานันทภัทเทกรัตตสูตร



ว่าด้วยผู้มีราตรีเดียวเจริญ


[535] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์
สนทนากะภิกษุทั้งหลายในอุปัฏฐานศาลา ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถา
ประกอบด้วยธรรมและกล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.
[536] ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่ทรง
หลีกเร้นเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ครั้นแล้วจึงประทับ นั่ง ณ อาสนะที่เขา
แต่งตั้งไว้ พอประทับ นั่งเรียบร้อยแล้ว จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ใครหนอแล สนทนากะพวกภิกษุในอุปัฏฐานศาลา ชักชวน
ให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรม และกล่าวอุเทศและวิภังค์ของ
บุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.
ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า ท่านพระอานนท์ พระพุทธเจ้าข้า
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อน
อานนท์ เธอสนทนากะภิกษุทั้งหลาย ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประ-
กอบด้วยธรรม ได้กล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญอย่างไร
เล่า.
[537] ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า
พระองค์ สนทนากะภิกษุทั้งหลาย ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบ
ด้วยธรรม ได้กล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญอย่างนี้ว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วง
ไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และ
สิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็
บุคคลใดเห็นแจ้ง ธรรมปัจจุบันไม่ง่อน-
แง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ ได้
บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนือง ๆ ให้
ปรุโปร่งเถิด พึงทำความเพียรเสียในวันนี้
แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนา
ใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระ
มุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคล ผู้มีปกติอยู่
อย่างนี้ มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้ง
กลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรี
หนึ่งเจริญ.

[538] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วง
แล้วอย่างไร คือ รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า เราได้มีรูป
อย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้
ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ใน
กาลที่ล่วงแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า คำนึงถึงสิ่งที่
ล่วงแล้ว.
[539] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วง
แล้วอย่างไร คือ ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า เราได้มีรูป

อย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่าง
นี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้
ในกาลที่ล่วงแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่คำนึงถึง
สิ่งที่ล่วงแล้ว.
[540] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มา
ถึงอย่างไร คือ รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า ขอเราพึงมีรูป
อย่างนี้ ในกาลอนาคต พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้
ในกาลอนาคต พึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาล
อนาคต ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่า มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.
[541] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่
มาถึงอย่างไร คือ ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า ขอเราพึงมี
รูปอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้
ในกาลอนาคต พึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาล
อนาคต. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มา
ถึง.
[542] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรม
ปัจจุบัน อย่างไร คือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระ
อริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่
ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมเล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูป
ในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา
บ้าง ฯลฯ ย่อมเล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมเล็งเห็น
สังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา

บ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็น
อัตตาในวิญญาณบ้าง. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า ง่อนแง่น
ในธรรมปัจจุบัน.
[543] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นใน
ธรรมปัจจุบันอย่างไร คือ อริยสาวกผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็น
พระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้
เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็น
อัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่เล็ง
เห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อม
ไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่
เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็น
อัตตาในวิญญาณบ้าง. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่ง่อน
แง่นในธรรมปัจจุบัน.
[544] บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใด
ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้น ก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันไม่ถึง ก็
บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อน-
แง่น ไม่คลอนแคลน ในธรรมนั้น ๆ
ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนือง ๆ
ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทำความเพียรเสีย
ในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายใน

วันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับ
มัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่
เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียก
บุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สนทนากะภิกษุทั้งหลาย ชักชวน
ให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรม ได้กล่าวอุเทศและวิภังค์ของ
บุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญอย่างนี้แล.
[545] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ดีแล้ว ๆ เธอ
สนทนากะภิกษุทั้งหลาย ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรม
ได้กล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญว่า
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ฯลฯ พระมุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคล...
นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ดังนี้ ถูก
แล้ว.

[546] ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร
ฯลฯ ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่า คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.
ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร ฯลฯ ดู
ก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.
ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร ฯลฯ ดู
ก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่า มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร ฯลฯ ดู
ก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.
ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร ฯลฯ
ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.
ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร ฯลฯ
ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.
[547] บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งล่วงแล้ว ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคล ...นั้นแลว่า
ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ก็ชื่นชม
ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ อานันทภัทเทกรัตตสูตร ที่ 2

อรรถกถาอานันทภัทเทกรัตตสูตร



อานันทภัทเทกรัตตสูตรมีคำขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺฐิโต โดยความว่า เสด็จ
ออกจากผลสมาบัติ. บทว่า โก นุโข ภิกฺขเว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรู้อยู่นั้นเทียว ตรัสถามเพื่อทรงตั้งเรื่องขึ้น. บทว่า สาธุ สาธุ
ความว่า ทรงประทานสาธุการแก่พระเถระ. บทว่า สาธุ โข ตฺวํ ความว่า
ทรงสรรเสริญเทศนาแล้วตรัส เพราะความที่เทศนาอันพระเถระแสดงด้วยบท
และพยัญชนะทั้งหลาย กลมกล่อม บริสุทธิ์ดี. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง ง่าย
ทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอานันทภัทเทกรัตตสูตรที่ 2