เมนู

วิภังควัคควัณณนา



อรรถกถาภัทเทกรัตตสูตร



ภัทเทกรัตตสูตร มีคำขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
ในภัทเทกรัตตสูตรนั้น บทว่า ภทฺเทกรตฺตสฺส ความว่า ชื่อว่า ผู้มี
ราตรีหนึ่งเจริญ เพราะความที่เขาเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยการตามประกอบวิปัสสนา.
บทว่า อุทฺเทสํ ได้แก่ มาติกา. บทว่า วิภงฺคํ ได้แก่ บทที่พึงแจกแจง
โดยพิสดาร. บทว่า อตีตํ ได้แก่ในขันธ์ห้าที่ล่วงแล้ว. บทว่า นานฺวาคเมยฺย
ความว่า ไม่ควรนึกถึงด้วยตัณหาและทิฐิทั้งหลาย. บทว่า นปฺปฏิกงฺเข
ความว่า ไม่พึงปรารถนาด้วยตัณหาและทิฐิทั้งหลาย. บทว่า ยทตีตํ
นี้ในคาถานี้เป็นการกล่าวถึงเหตุ. เพราะสิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละไปแล้ว
ดับแล้ว ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้น บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่
ล่วงไปแล้วนั้นอีก. อนึ่ง เพราะสิ่งใดยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็ยังไม่ถึง ยังไม่เกิด
ยังไม่บังเกิด เพราะฉะนั้น บุคคลไม่พึงปรารถนาสิ่งที่ยังไม่มาถึงแม้นั้น บทว่า
ตตฺถ ตตฺถ ความว่า บุคคลผู้เข้าถึงธรรมแม้ปัจจุบันในธรรมใด ๆ เห็นแจ้ง
ธรรมนั้น ด้วยอนุปัสสนา 7 อย่าง มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น ในธรรมนั้น ๆ
เที่ยว. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลเห็นแจ้งในธรรมนั้น ๆ ในที่ทั้งหลายมีป่าเป็นต้น .
บทว่า อสํหิรํ อสงฺกุปฺปํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อทรงแสดงวิปัสสนา
และปฏิวิปัสสนา. จริงอยู่วิปัสสนาย่อมไม่ง่อนแง่น ย่อมไม่คลอนแคลนด้วย
กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น เพราะฉะนั้น วิปัสสนานั้น ชื่อว่า อสํหิรํ ไม่
ง่อนแง่น ชื่อว่า อสํกุปฺปํ ไม่คลอนแคลน. ท่านกล่าวอธิบายว่า บุคคลพึง

พอกพูน พึงเจริญ พึงเห็นแจ้งเฉพาะวิปัสสนานั้น. อีกประการหนึ่ง นิพพาน
ย่อมไม่ง่อนแง่น ย่อมไม่คลอนแคลนด้วยกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น เพราะ
ฉะนั้น นิพพานนั้น จึงชื่อว่า อสํหิรํ อสํกุปฺปํ แปลว่า ไม่ง่อนแง่น ไม่
คลอนแคลน. อธิบายว่า ภิกษุผู้บัณฑิตรู้แจ้งแล้ว พึงพอกพูนนิพพานนั้น คือ
เมื่อยังไม่บรรลุผลสมาบัติซึ่งมีนิพพานนั้นเป็นอารมณ์ ก็พึงเจริญบ่อย ๆ. ก็
เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุผู้พอกพูนนั้น. บทว่า อชฺเชว กิจฺจํ อาตปฺปํ ความ
ว่า ความเพียรที่ได้ชื่อว่า อาตัปปะ เพราะเผากิเลสทั้งหลายหรือยังกิเลสทั้งหลาย
ให้เร่าร้อนทั่ว พึงทำในวันนี้แหละ. บาทคาถาว่า โก ชญฺญา มรณํ สุเว
ความว่า ใครเล่าจะรู้ความเป็นอยู่ หรือความตายในวันพรุ่ง. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงแสดงว่า พึงทำความเพียรอย่างนี้ว่า ก็ความเนิ่นช้าย่อมมีในวันนี้
เท่านั้นว่า เราจักทำทาน หรือจักรักษาศีล ก็หรือจักทำกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในวันนี้แหละ เราไม่ยังจิตให้เกิดขึ้นว่า เราจักรู้ในวันพรุ่งหรือในวันมะรืน
จักทำในวันนี้แหละ. บทว่า มหาเสเนน ความว่า ก็การณ์แห่งความตาย มี
หลายอย่างมีไฟ ยาพิษ และศัสตรา เป็นต้น คือ เสนาของมัจจุราชนั้น ความ
ผิดเพี้ยนกล่าวคือ การทำสันถวไมตรีอย่างนี้ว่า ท่านจงรอสอง - สามวันก่อน
จนกว่าข้าพเจ้าจะทำกรรมเป็นที่พึงของคนมีการบูชาพระพุทธเจ้าเป็นต้น หรือ
กล่าวคือ การให้สินจ้างอย่างนี้ว่า ท่านจงถือเอาหนึ่งร้อย หรือ หนึ่งแสนนี้
แล้ว รอสอง - สามวัน หรือ กล่าวคือ กองพลอย่างนี้ว่า เราจักต้านทานด้วย
กองพลนี้ ดังนี้ กับมัจจุราชเห็นปานนี้ ซึ่งมีเสนาใหญ่ ด้วยอำนาจแห่งเสนา
ใหญ่นั้น ย่อมไม่มี. ก็บทว่า สงฺคโร ความผิดเพี้ยนนั้น เป็นชื่อแห่งการทำ
สันถวไมตรี การให้สินจ้างและกองพล. เพราะฉะนั้น เนื้อความนี้ได้กล่าว
แล้ว. บทว่า อตนฺทิตํ ได้แก่ ผู้ไม่เกียจคร้าน คือขยัน. บุคคลนั้น ชื่อว่า
ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ เพราะความที่บุคคลนั้นเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ เพราะฉะนั้น

บุคคลนั้น ชื่อว่า ภทฺเทกรตฺโต ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ. พระมุนีคือ พระพุทธ-
เจ้า ชื่อว่า ทรงสงบแล้ว เพราะความที่กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น สงบแล้ว
ตรัสเรียกบุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้นั้นว่า บุคคลนี้ ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ด้วยประการ
ฉะนี้.
ในบททั้งหลาย มีอาทิว่า เอวํรูโป แม้มีรูปคำมีวรรณะดุจแก้วมณี
อินทนีล. หรือ บทว่า อโหสึ ความว่าเรามีรูปอย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งรูปอัน
พึงพอใจอย่างนี้นั้นเทียว. เรามีเวทนาอย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งสุขเวทนาและ
โสมนัสเวทนาอันเป็นกุศล มีสัญญาอย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งธรรมทั้งหลาย มี
สัญญาเป็นต้น ซึ่งประกอบพร้อมด้วยเวทนานั้นเทียว มีสังขารอย่างนี้ มี
วิญญาณอย่างนี้. บทว่า อตีตมาทฺธานํ ความว่า รำพึงถึงความเพลิดเพลิน
ในเรื่องนั้น ๆ ได้แก่ รำพึง คล้อยตามตัณหาในรูปเป็นต้นเหล่านั้น. ย่อมไม่
สำคัญว่า เราเป็นผู้มีรูปอย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งรูปที่เลวเป็นต้น ฯสฯ มีวิญญาณ
อย่างนี้. บทว่า นนฺทึ น สมนฺวาเนติ ความว่า ตัณหา หรือ ทิฐิอัน
สัมปยุตด้วยตัณหา อันบุคคลย่อมไม่ให้เป็นไป. พึงทราบความรำพึงถึงความ
เพลิดเพลิน กล่าวคือ ความเป็นไปแห่งตัณหาและทิฐิ ด้วยอำนาจแห่งรูปอัน
ประณีต และพึงพอใจเป็นต้นเทียว แม้ในบทว่า เอวํรูโป สิยํ เป็นต้น
บทว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ปจฺจุปนฺเนสุ ธมฺเมสุ สํหรต นี้ ตรัสเพื่อทรง
แสดงขยายอุทเทสว่า ก็บุคคลเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันในธรรมนั้น ๆ อันไม่
ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน. ก็บทว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ปจฺจุปฺปนฺนํ ธมฺมํ
น วิปสฺสติ เป็นต้น พึงตรัสไว้ในพระสูตรนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ยังตรัส
ถึงวิปัสสนาว่า ไม่ง่อนแง่นและว่าไม่คลอนแคลน เพราะฉะนั้น เพื่อทรงแสดง

ความมีและความไม่มีแห่งวิปัสสนานั้นเทียว จึงทรงยกมาติกาว่า บุคคลง่อนแง่น
ไม่ง่อนแง่น ดังนี้ แล้วตรัสความพิสดาร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สํหรติ
ความว่า บุคคลชื่อว่า ถูกตัณหาและทิฐิคร่าไป เพราะไม่มีวิปัสสนา. บทว่า
น สํหรติ ความว่า ชื่อว่าไม่ถูกตัณหาและทิฐิคร่าไป เพราะมีวิปัสสนา.
บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาภัทเทกรัตตสูตรที่ 1

2. อานันทภัทเทกรัตตสูตร



ว่าด้วยผู้มีราตรีเดียวเจริญ


[535] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์
สนทนากะภิกษุทั้งหลายในอุปัฏฐานศาลา ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถา
ประกอบด้วยธรรมและกล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.
[536] ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่ทรง
หลีกเร้นเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ครั้นแล้วจึงประทับ นั่ง ณ อาสนะที่เขา
แต่งตั้งไว้ พอประทับ นั่งเรียบร้อยแล้ว จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ใครหนอแล สนทนากะพวกภิกษุในอุปัฏฐานศาลา ชักชวน
ให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรม และกล่าวอุเทศและวิภังค์ของ
บุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.
ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า ท่านพระอานนท์ พระพุทธเจ้าข้า
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อน
อานนท์ เธอสนทนากะภิกษุทั้งหลาย ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประ-
กอบด้วยธรรม ได้กล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญอย่างไร
เล่า.
[537] ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า
พระองค์ สนทนากะภิกษุทั้งหลาย ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบ
ด้วยธรรม ได้กล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญอย่างนี้ว่า