เมนู

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เรื่องนั้น เรามิได้ฟังต่อสมณะหรือพราหมณ์
อื่น ๆ แล้วจึงบอก ก็แล เราบอกเรื่องที่รู้เอง เห็นเอง ปรากฏเองทั้งนั้น.

นิคมคาถา


[525] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณภาษิตดังนี้ ครั้นแล้ว
พระสุคตผู้ศาสดา ก็ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกดังนี้ ว่า
นรชนเหล่าใดยังเป็นมาณพ อัน
เทวทูตตักเตือนแล้ว ประมาทอยู่ นรชน
เหล่านั้นจะเข้าถึงหมู่สัตว์เลว เศร้าโศก
สิ้นกาลนาน ส่วนนรชนเหล่าใด เป็น
สัตบุรุษผู้สงบระบับในโลกนี้ อันเทวทูต
ตักเตือนแล้ว ย่อมไม่ประมาทในธรรม
ของพระอริยะในกาลไหน ๆ เห็นภัยใน
ความถือมั่นอันเป็นเหตุ แห่งชาติและมรณะ
แล้ว ไม่ถือมั่น หลุดพ้นในธรรมเป็นที่สิ้น
ชาติและมรณะได้ นรชนเหล่านั้นเป็นผู้ถึง
ความเกษม มีสุข ดับสนิทในปัจจุบัน
ล่วงเวรและภัยทั้งปวงและเข้าไปล่วงทุกข์
ทั้งปวงได้.

จบเทวทูตสูตร ที่ 10
จบสุญญตวรรค ที่ 3

อรรถกถาเทวทูตสูตร



เทวทูตสูตร มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับ มาอย่างนี้:-
ในบทเหล่านั้น คำเป็นต้นว่า เทฺว อคารา ให้พิสดารไว้แล้วใน
อัสสบุรสูตร. บทว่า นิรยํ อุปปนฺนา ความว่า ในบางครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงยังเทศนาตั้งแต่นรกให้จบลงด้วยเทวโลก. บางครั้งตั้งแต่เทวโลกทรงให้
จบลงด้วยนรก. ถ้าประสงค์จะตรัสสวรรค์สมบัติให้พิสดาร ตรัสถึงทุกข์ในนรก
โดยเอกเทศ ทุกข์ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ทุกข์ในปิตติวิสัย ตรัสถึงสมบัติใน
มนุษยโลก โดยเอกเทศ. ถ้าว่าประสงค์จะตรัสทุกข์ในนรกให้พิสดาร ย่อม
ตรัสถึงสมบัติในเทวโลกมนุษยโลก และทุกข์ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานและปิตติ-
วิสัยโดยเอกเทศ ชื่อว่า ยังทุกข์ในนรกให้พิสดาร ในพระสูตรนี้ พระองค์
ประสงค์จะทรงยังทุกข์ในนรกให้พิสดาร เพราะฉะนั้น ทรงยังเทศนาตั้งแต่
เทวโลกให้จบลงด้วยนรก เพื่อจะตรัสถึงสมบัติในเทวโลกมนุษยโลก และทุกข์
ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานและในปิตติวิสัย โดยเอกเทศ แล้วตรัสถึงทุกข์ในนรก
โดยพิสดาร จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ตเมนํ ภิกฺขเว นิรยปาลา. ในบทนั้น
พระเถระบางพวกกล่าวว่า ชื่อว่า นายนิรยบาล ไม่มี กรรมเท่านั้นย่อมก่อเหตุ
เหมือนหุ่นยนต์. กรรมนั้นถูกปฏิเสธไว้ในอภิธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า เออนาย
นิรยบาลในนรกมีและผู้ก่อเหตุก็มี. เหมือนอย่างว่า ในมนุษย์โลกนี้ผู้ลงโทษ
ด้วยกรรมกรณ์ ฉันใด นายนิรยบาลก็มีอยู่ในนรก ฉันนั้น.
บทว่า ยมสฺส รญฺโญ ได้แก่พระราชาเวมานิกเปรต ชื่อว่า พญายม
ในเวลาหนึ่งเสวยต้นกัลปพฤษทิพย์ อุทยานทิพย์ นักฟ้อนรำทิพย์ สมบัติทิพย์
ในวิมานทิพย์ ในเวลาหนึ่งเป็นพระราชาผู้ทรงธรรมเสวยผลกรรม แต่ไม่ใช่