เมนู

อรรถกถาพาลบัณฑิตสูตร



พาลบัณฑิตสูตร มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาลลกฺขณานิ ความว่า ที่ชื่อว่า
พาลลักขณะ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องกำหนด คือเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่า
ผู้นี้เป็นคนพาล. พาลลักษณะเหล่านั้นแหละ ท่านเรียกว่า พาลนิมิต เพราะ
เป็นเหตุแห่งการหมายรู้ว่า ผู้นั้นเป็นคนพาล. เรียกว่า พาลาปทาน เพราะ
คนพาลประพฤติไม่ขาด. บทว่า ทุจฺจินฺติตฺจินฺตี ความว่า ธรรมดาคนพาล
แม้เมื่อคิดย่อมคิดแต่เรื่องชั่ว ๆ ด้วยอำนาจอภิชฌา พยาบาทและความเห็นผิด
ฝ่ายเดียว. บทว่า ทุพฺภาสิตภาสี ความว่า แม้เมื่อพูด ก็พูดแต่คำชั่ว ๆ
ต่างโดยวจีทุจริตมีมุสาวาทเป็นต้น. บทว่า ทุกฺกฏกมฺมการี ความว่าแม้
เมื่อทำก็ทำจำเพาะแต่กรรมชั่ว ๆ ด้วยสามารถแห่งกายทุจริต มีปาณาติบาต
เป็นต้น.
บทว่า ตตฺร เจ ได้แก่ ในบริษัทที่คนพาลนั่งแล้วนั้น. บทว่า ตชฺชํ
ตสฺสารุปฺปํ
ความว่า จะพูดด้วยถ้อยคำที่พอเหมาะแก่เขา คือเหมาะสมแก่เขา
อธิบายว่า ได้แก่ถ้อยคำที่ปฏิสังยุตด้วยโทษ ทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน และ
สัมปรายิกภพของเวรทั้ง 5. บทว่า ตตฺร ได้แก่ ถ้อยคำที่พูดถึงกันอยู่นั้น.
บทว่า พาลํ เป็นต้น เป็นทุติยาวิภัต ใช้ในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ.
บทว่า โอลมฺพนฺติ ความว่า ย่อมเข้าไปตั้งอยู่. สองบทที่เหลือ
เป็นไวพจน์ของ บทว่า โอลมฺพนฺติ นั้น ลักษณะคนพาลเหล่านั้น ย่อม