เมนู

หลีกออกแล้ว ยินดียิ่งแล้วในเนกมักมะ มีภายในปราศจากธรรมเป็นทีตั้งแห่ง
อาสวะโดยประการทั้งปวง จะเป็นผู้ทำการเจรจาแต่ที่ชักชวนให้ออกเท่านั้น
ในบริษัทนั้น ๆ โดยแท้ ดูก่อนอานนท์ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุถ้าแม้หวังว่า
จะเข้าถึงสุญญตสมาบัติภายในอยู่ เธอพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ
ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในให้มั่นเถระ.

ว่าด้วยสัมปชานะ


[347] ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ
ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร ดูก่อนอานนท์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(1) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่.
(2) เข้าทุติยฌาณ มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุกเกิดแต่
สมาธิอยู่.
(3) เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข
ด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้อย่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่
เป็นสุข อยู่.
(4) เจ้าจตตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่.
ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมดำรงจิตภายใน ให้จิตภายใน
สงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่น.

ภิกษุนั้น ย่อมใส่ใจความวางภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน
จิตยังแล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั่งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่าง
ภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้น. ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่าง
ภายใน จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปใน
ความว่างภายในด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่างภายใน
นั้นได้. ภิกษุนั้น ย่อมใส่ใจความว่างภายนอก. ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างทั้ง
ภายในและภายนอก. ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอกำลังใส่ใจ
อาเนญชสมาบัติ จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อม
ไปในอาเนญชสมาบัติ เมื่อเป็นเช่นนั้น. ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลัง
ใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่
นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่อง
อาเนญชสมาบัตินั้นได้.
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุนั้นพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิต
ภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในให้มั่น ในสมาธินิมิตข้างต้นนั้นแล
เธออันใส่ใจความว่างภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อม
แล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในความว่างภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้น
ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในความว่างภายใน ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็น
อันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่างภายในนั้นได้. ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่าง
ภายนอก ภิกษุนั้น ย่อมใส่ใจความว่างทั้งภายในและภายนอก ภิกษุนั้นย่อม
ใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอกำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตย่อมแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้

ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส
ตั้งมั่น นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัว
ในเรื่องอาเนญชสมาบัตินั้นได้.
[348] ดูก่อนอานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิต
ย่อมน้อมไปเพื่อจะจงกรม เธอย่อมจงกรมด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคือ
อภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้จงกรมอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล
เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการจงกรม.
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะยืน เธอ
ย่อมยืนด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำ
เราผู้ยืนอยู่แล้วอย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการยืน.
หากเมื่อภิกษุนั้น อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนั่ง เธอ
ย่อมนั่งด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำ
เราผู้นั่งอยู่แล้วอย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนั่ง.
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนอน
เธอย่อมนอนด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่
ครอบงำ เราผู้นอนอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่อง
การนอน.
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะพูด
เธอย่อมใส่ใจว่า เราจักไม่พูดเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องเลวทราม
เป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นเรื่องของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส

เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องพระราชา
เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบกัน เรื่องข้าว
เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ
เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องคน
กล้าหาญ เรื่องถนนหนทาง เรื่องทาสีในสถานที่ตักน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว
เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยเหตุ
นั้นเหตุนี้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด และเธอใส่ใจว่า
เราจักพูดเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบาย
แก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี
เรื่องปรารภความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ
เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะตรึก เธอ
ย่อมใส่ใจว่า เราจักไม่ตรึกในวิตกเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นวิตกที่เลวทราม เป็น
ของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นไป เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบ
กิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ กามวิตก พยาบาท
วิตก วิหิงสาวิตก ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการตรึก และ
เธอใส่ใจว่า เราจักตรึกในวิตกเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นวิตกของพระอริยะ เป็น
เครื่องนำออก ที่นำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ทำตาม คือ
เนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตก ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้
สึกตัวในการตรึก.

[349] ดูก่อนอานนท์ กามคุณนี้มี 4 อย่างแล 5 อย่างเป็นไฉน
คือ รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประ-
กอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่รู้ด้วยโสด... กลิ่นที่รู้ได้ด้วย
ฆานะ... รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา... โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจเป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูก่อน
อานนท์ นี้แล กามคุณ 5 อย่าง ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุพึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ
ว่า มีอยู่หรือหนอแล ที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ 5 นี้
อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง ดูก่อนอานนท์ ถ้า
ภิกษุพิจารณาอยู่ รู้ชัดอย่างนี้ว่า มีอยู่แลที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เรา
เพราะกามคุณ 5 นี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความกำหนัดพอใจในกามคุณ 5 นี้
แล เรายังละไม่ได้แล้ว แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่าไม่มีเลยที่ความ
ฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้น แก่เราเพราะกามคุณ 5 นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะ
อายตนะใดอายตนะหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความ
กำหนัดพอใจในกามคุณ 5 นี้แล เราละได้แล้ว ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอ
รู้สึกตัวในเรื่องกามคุณ 5. .
[350] ดูก่อนอานนท์ อุปาทานขันธ์ทั้ง 5 นี้แล ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุ
พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอยู่ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความ
เกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้น
แห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้น
แห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้น
แห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้น

แห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ เธอผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิด
และความดับในอุปาทานขันธ์ 5 นี้อยู่ ย่อมละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ 5 ได้
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ 5
ของเราได้แล้ว ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอุปาทานขันธ์ 5.
ดูก่อนอานนท์ ธรรมนั้น ๆ เหล่านี้แล เนื่องมาแต่กุศลส่วนเดียว
ไกลจากข้าศึก เป็นโลกุตตระ อันมารผู้มีบาปหยั่งลงไม่ได้ ดูก่อนอานนท์
เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สาวกมองเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงควร
ใกล้ชิดติดตามศาสดา.
ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของ
พวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเหตุ มี่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นแบบ
อย่าง มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย ขอได้โปรดเถิดพระพุทธเจ้าข้า
เนื้อความแห่งพระภาษิตนี้แจ่มแจ้งเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น ภิกษุทั้ง
หลายพึงต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักทรงจำไว้.

ว่าด้วยกถาวัตถุ 10


[351] พ. ดูก่อนอานนท์ สาวกไม่ควรจะติดตามศาสดาเพียงเพื่อ
ฟังสุตตุ เคยยะ และไวยากรณ์เลย นั้น เพราะเหตุไร เพราะธรรมทั้งหลาย
อันพวกเธอสดับแล้ว ทรงจำแล้ว คล่องปากแล้ว เพ่งตามด้วยใจแล้ว แทง
ตลอดดีแล้วด้วยความเห็น เป็นเวลานาน ดูก่อนอานนท์ แต่สาวกควรจะใกล้
ชิดติดตามศาสดาเพื่อฟังเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่าง
ยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว
เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ