เมนู

บัณฑิตจักไม่เป็นผู้คิดความคิดที่ดี พูดคำพูดที่ดี และทำการทำที่ดี บัณฑิต
พวกไหนจะพึงรู้จักเขาได้ว่าผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นสัตบุรุษ เพราะบัณฑิตมักคิด
ความคิดที่ดี มักพูดคำพูดที่ดี และมักทำการทำที่ดี ฉะนั้น พวกบัณฑิตจึงรู้
ด้วยว่า ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นสัตบุรุษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตนั้นนั่นแล
ย่อมเสวยสุขโสมนัส 3 อย่างในปัจจุบัน.

ว่าด้วยบัณฑิตเสวยสุขในปัจจุบัน


[485] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าบัณฑิตนั่งในสภาก็ดี ริมถนนรถก็ดี
ริมทางสามแพร่งก็ดี ชนในที่นั้น ๆ จะพูดถ้อยคำที่พอเหมาะพอสมแก่เขา ถ้า
บัณฑิตเป็นผู้ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจาก
กาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากเหตุเป็นที่ทั้งความประมาท
เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ในเรื่องที่ชนพูดถ้อยคำที่พอเหมาะพอสมแก่
เขานั้น บัณฑิตจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า สภาพเหล่านั้นมีอยู่ในเรา และเราก็
ปรากฏในสภาพเหล่านั้นด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัส
ข้อที่หนึ่งนี้ในปัจจุบัน.
[486] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอันยังมีอีก บัณฑิตเห็นพระ
ราชาทั้งหลายจับ โจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลงกรรมกรณ์ต่างชนิด คือ
1. โบยด้วยแส้
2. โบยด้วยหวาย
3. ตีด้วยตะบองสั้น
4. ตัดมือ
5. ตัดเท้า
6. ตัดทั้งมือทั้งเท้า


7. ตัดหู
8. ตัดจมูก
9. ตัดทั้งหูทั้งจมูก
10. หม้อเคี่ยวน้ำส้ม
11. ขอดสังข์
12. ปากราหู
13. มาลัยไฟ
14. คบมือ
15. ริ้วส่าย
16. นุ่งเปลือกไม้
17. ยืนกวาง
18. เกี่ยวเหยื่อเบ็ด
19. เหรียญกษาปณ์
20. แปรงแสบ
21. กางเวียน
22. ตั่งฟาง
23. น้ำมันเดือด
24. ให้สุนัขทึ้ง
25. ให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็น ๆ
26. ตัดศีรษะด้วยดาบ.
ในขณะที่เห็นนั้น บัณฑิตจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า เพราะเหตุแห่ง
กรรมชั่ว ปานใดแล พระราชาทั้งหลายจึงจับโจรผู้ประพฤติผิดมา แล้วสั่งลง
กรรมกรณ์ต่างชนิด คือ โบยด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง สภาพ

เหล่านั้นไม่มีอยู่ในเรา และเราก็ไม่ปรากฏในสภาพเหล่านั้นด้วย ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสข้อที่สองนี้ในปัจจุบัน.
[487] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอันยังมีอีก กรรมงามที่บัณฑิต
ทำไว้ในก่อน คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ย่อมปกคลุม ครอบงำ
บัณฑิตผู้อยู่บนตั่ง หรือบนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น เปรียบ
เหมือนเงายอดภูเขา ย่อมปกคลุม ครอบงำแผ่นดินในสมัยเวลาเย็น ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล กรรมงามที่บัณฑิตทำไว้ในก่อน
คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ย่อมปกคลุม ครอบงำบัณฑิตผู้อยู่
บนตั่ง หรือบนเตียงหรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน
สมัยนั้น บัณฑิตจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ทำความชั่ว ไม่ได้ทำความร้าย
ไม่ได้ทำความเลว ทำแต่ความดี ทำแต่กุศล ทำแต่เครื่องป้องกันความหวาด
กลัวไว้ ละโลกนี้ไปแล้ว จะไปสู่คติของตนที่ไม่ได้ทำความชั่ว ไม่ได้ทำความ
เลว ทำแต่ความดี ทำแต่กุศล ทำแต่เครื่องป้องกันความหวาดกลัวไว้เป็น
กำหนด บัณฑิตนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ร่ำไห้ทุ่ม
อก ไม่ถึงความหลงพร้อม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัส
ข้อที่สามดังนี้ในปัจจุบัน.
[488] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตนั้นนั่นแลประพฤติสุจริตทาง
กาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงสุดซึ่งเราพูดหมายถึงสวรรค์นั้นแลโดย
ชอบ พึงกล่าวได้ว่าเป็นสถานที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจส่วนเดียว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพียงเท่านี้แม้จะเปรียบอุปมาจนถึงสวรรค์เป็นสุขก็ไม่ใช่
ง่ายนัก.

[489] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาจเปรียบอุปมา
ได้หรือไม่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ อาจเปรียบได้ แล้วตรัส
ต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงประกอบ
ด้วยแก้ว 7 ประการและความสัมฤทธิผล 4 อย่าง จึงเสวยสุขโสมนัสอัน มีสิ่ง
ประกอบนั้นเป็นเหตุได้ พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยแก้ว 7 ประการ
เป็นไฉน.

ว่าด้วยจักรแก้ว


[490] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชามหากษัตริย์ในโลกนี้ผู้ทรงได้
มูรธาภิเษกแล้ว ทรงสรงสนานพระเศียร ทรงรักษาอุโบสถในดิถีที่ 15 ซึ่ง
วันนั้นเป็นวันอุโบสถ เมื่อประทับอยู่ในพระมหาปราสาทชั้นบน ย่อมปรากฏ
จักรแก้วทิพมีกำตั้งพัน พร้อมด้วยกงและดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง
ครั้น ทอดพระนครแล้วได้มีพระราชดำริดังนี้ว่า ก็เราได้สดับมาดังนี้แล พระ
ราชาพระองค์ใด ผู้ทรงได้มูรธาภิเษกแล้ว ทรงสรงสนานพระเศียร ทรงรักษา
อุโบสถในดิถีที่ 15 ซึ่งวันนั้น เป็นวันอุโบสถ เมื่อประทับอยู่ในพระมหาปราสาท
ชั้นบน ย่อมปรากฏจักรแก้วทิพมีกำตั้งพัน พร้อมด้วยกงและคุม บริบูรณ์
ด้วยอาการทุกอย่าง พระราชานั้น ย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เราเป็นพระเจ้า
จักรพรรดิหรือหนอ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต่อนั้น พระองค์เสด็จลุกจากราชอาสน์ ทรงจับ
พระเต้าน้ำด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงหลั่งรดจักรแก้วด้วยพระหัตถ์ขวา รับสั่งว่า
จงพัดผันไปเถิดจักรแก้วผู้เจริญ จักรแก้วผู้เจริญจงพิชิตให้ยิ่งเถิด ลำดับนั้น
จักรแก้วนั้นก็พัดผันไปทางทิศตะวันออก พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรง-