เมนู

2. มหาสุญญตสูตร



[343] ข้าพเจ้าได้สดับ มาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม
กรุงกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งสบง
ทรงบาตรจีวรแล้ว เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงกบิลพัสดุ์ในเวลาเช้า ครั้น
เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาพระกระยาหารแล้ว จึงเสด็จเข้าไปยัง
วิหารของเจ้ากาฬเขมกะ ศากยะ มีเสนาสนะที่แต่งตั้งไว้มากด้วยกัน พระผู้มี
พระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นเสนาสนะที่แต่งตั้งไว้มากด้วยกันแล้ว จึงมีพระ-
ดำริดังนี้ว่า ในวิหารของเจ้ากาฬเขมกะ ศากยะ เขาแต่งตั้งเสนาสนะไว้มาก
ด้วยกัน ที่นี้มีภิกษุอยู่มากมายหรือหนอ.
[344] สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์กับ ภิกษุมากรูป ทำจีวรกรรม
อยู่ในวิหารของเจ้าฆฏายะ ศากยะ ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จออกจากที่ทรงหลีกเร้นอยู่แล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังวิหารของเจ้าฆฏายะ
ศากยะ แล้วประทับนั่ง ณ อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว
จึงตรัสสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ในวิหารของเจ้ากาฬเขมกะ
ศากยะ เขาแต่งตั้งเสนาสนะไว้มากด้วยกัน ที่นั่นมีภิกษุอยู่มากมายหรือ.
ท่านพระอานนท์ทูลว่า มากมาย พระพุทธเจ้าข้า ข้าแด่พระองค์ผู้
เจริญ จีวรกาลสมัยของพวกพระองค์กำลังดำเนินอยู่.

ว่าด้วยฐานะและอฐานะ


[345] พ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการ
คลุกคลีกัน ประกอบเนื่อง ๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดี

ในหมู่ บันเทิงร่วมหนึ่ง ย่อมไม่งามเลย ดูก่อนอานนท์ ข้อที่ภิกษุผู้ชอบ
คลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกัน ประกอบเนื่อง ๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน
ชอบเป็นหมู่ยินดีในหมู่บันเทิงร่วมหมู่นั้นหนอจักเป็นผู้ได้สุขเกิดแค่เนกขัมมะ
สุเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้
ตามความปรารถนาโดยไม่ยากไม่ลำบาก นั้น ไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ส่วนข้อที่ภิกษุ
เป็นผู้เดียว หลีกออกจากหมู่อยู่พึงหวังเป็นผู้ได้สุขเกิดแต่เนกขัมมะ สุขเกิด
แต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ ตามความ
ปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก นั้นเป็นฐานะที่มีได้.
ดูก่อนอานนท์ ข้อที่ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกัน
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิง
ร่วมหมู่นั้นหนอ จักบรรลุเจโตวิมุตติอันปรารถนาเพียงชั่วสมัย หรือเจโตวิมุตติ
อันไม่กำเริบมิใช่เป็นไปชั่วสมัยอยู่ นั้นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ส่วนข้อที่ภิกษุเป็นผู้
ผู้เดียวหลีกออกจากหมู่อยู่ พึงหวังบรรลุเจโตวิมุตติอัน น่าปรารถนาเพียงชั่วสมัย
หรือเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบมิใช่เป็นไปชั่วสมัยอยู่ นั้นเป็นฐานะที่มีได้.
ดูก่อนอานนท์ เราย่อมไม่พิจารณาเห็นแม้รูปอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่ไม่
เกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส เพราะความแปรปรวนและความ
เป็นอย่างอื่นของรูปตามที่เขากำหนัดกัน อย่างยิ่งซึ่งบุคคลกำหนัดแล้ว.
[346] ดูก่อนอานนท์ ก็วิหารธรรมอันตถาคตตรัสรู้ในที่นั้น ๆ นี้แล
คือ ตถาคตเข้าถึงสุญญตสมาบัติภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่. ดูก่อน
อานนท์ ถ้าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของ
พระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์เข้าไปหาตถาคตผู้มีโชคอยู่ด้วยวิหารธรรม
นี้ในที่นั้น ๆ ตถาคตย่อมมีจิตน้อมไปในวิเวก โน้นไปในวิเวก โอนไปในวิเวก

หลีกออกแล้ว ยินดียิ่งแล้วในเนกมักมะ มีภายในปราศจากธรรมเป็นทีตั้งแห่ง
อาสวะโดยประการทั้งปวง จะเป็นผู้ทำการเจรจาแต่ที่ชักชวนให้ออกเท่านั้น
ในบริษัทนั้น ๆ โดยแท้ ดูก่อนอานนท์ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุถ้าแม้หวังว่า
จะเข้าถึงสุญญตสมาบัติภายในอยู่ เธอพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ
ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในให้มั่นเถระ.

ว่าด้วยสัมปชานะ


[347] ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ
ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร ดูก่อนอานนท์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(1) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่.
(2) เข้าทุติยฌาณ มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุกเกิดแต่
สมาธิอยู่.
(3) เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข
ด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้อย่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่
เป็นสุข อยู่.
(4) เจ้าจตตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่.
ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมดำรงจิตภายใน ให้จิตภายใน
สงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่น.