เมนู

ว่าด้วยการเกิดปริวิตก


[464] ดูก่อนอนุรุทธะ... เรานั้นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตน
ส่งไปแล้ว ย่อมรู้สึกแสงสว่างอย่างเดียวแล แต่ไม่เห็นรูป เห็นรูปอย่างเดียว
แล แต่ไม่รู้สึกแสงสว่าง ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้ง
กลางคืนและกลางวันบ้าง เรานั้น จึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้เรารู้สึกแสงสว่างอย่างเดียวแล แต่ไม่เห็นรูป เห็นรูปอย่างเดียว
แล แต่ไม่รู้สึกแสงสว่าง ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้ง
กลางคืนและกลางวันบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า สมัยใด
เราไม่ใส่ใจ นิมิตหรือรูป ใส่ใจแต่นิมิตคือแสงสว่าง สมัยนั้น เรารู้สึก
แสงสว่างอย่างเดียวแล แต่ไม่เห็นรูป ส่วนสมัยใดเราไม่ใส่ใจนิมิตคือแสงสว่าง
ใส่ใจแต่นิมิตคือรูป สมัยนั้น เราย่อมเห็นรูปอย่างเดียวแล แต่ไม่รู้สึกแสงสว่าง
ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันบ้าง.

ว่าด้วยสมาธิภาวนา 3 อย่าง


[465] ดูก่อนอนุรุทธะ... เรานั้น รู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตน
ส่งไปแล้ว ย่อมรู้สึกแสงสว่างเพียงนิดหน่อย เห็นรูปได้นิดหน่อย และรู้ลึก
แสงสว่างอย่างหาประมาณมิได้ เห็นรูปอย่างหาประมาณมิได้ ตลอดกลางคืน
บ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันบ้าง เราจึงมีความดำริ
ดังนี้ว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้เรารู้สึกแสงสว่างเพียงนิดหน่อย
เห็นรูปได้นิดหน่อย และรู้สึกแสงสว่างอย่างหาประมาณมิได้ เห็นรูปอย่างหา
ประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและ
กลางวันบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้น ได้มีความรู้ดังนี้ว่า สมัยใด เรามีสมาธิ
นิดหน่อย สมัยนั้น เราก็มีจักษุนิดหน่อย ด้วยจักษุนิดหน่อย เรานั้นจึงรู้สึก

แสงสว่างเพียงนิดหน่อย เห็นรูปได้นิดหน่อย ส่วนสมัยใด เรามีสมาธิหา
ประมาณมิได้ สมัยนั้น เราก็มีจักษุหาประมาณมิได้ ด้วยจักษุหาประมาณมิได้
เรานั้น จึงรู้สึกแสงสว่างหาประมาณมิได้ แลเห็นรูปหาประมาณมิได้ ตลอด
กลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันบ้าง.
ดูก่อนอนุรุทธะ เพราะเรารู้ว่าวิจิกิจฉาเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง
แล้ว เป็นอันละวิจิกิจฉาอันเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่าอมนสิการเป็นเครื่อง
เกาะจิตให้เศร้าหมองแล้วเป็นอันละอมนสิการอัน เกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่า
ถีนมิทธะเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละถีนมิทธะอัน เกาะจิตให้
เศร้าหมองได้ รู้ว่าความหวาดเสียวเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็น
อันละความหวาดเสียวอันเกาะจิตให้เศร้าหมองได้รู้ว่า ความตื่นเต้นเป็นเครื่อง
เกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละความตื่นเต้นอันเกาะจิตให้เศร้าหมองได้
รู้ว่าความชั่วหยาบเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้วเป็นอันละความชั่วหยาบ
อันเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่า ความเพียรที่ปรารภเกินไปเป็นเครื่องเกาะ
จิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละความเพียรที่ปรารภเกินไปอันเกาะจิตให้เศร้า
หมองได้ รู้ว่าความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นเครื่องเกาะจิตไห้เศร้าหมองแล้ว
เป็นอันละความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปอันเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่าตัณหา
ที่คอยกระซิบเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละตัณหาที่คอย
กระซิบอันเกาะจิตให้เศร้าหมองได้รู้ว่า ความสำคัญสภาวะว่าต่างกันเป็นเครื่อง
เกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละความสำคัญสภาวะว่าต่างกันอันเกาะจิตให้
เศร้าหมองได้ รู้ว่า ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง
แล้ว เป็นอันละลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปอันเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ เรานั้น
จึงได้มีความรู้ดังนี้ว่า เครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองนั้น ๆ ของเรา เราละได้แล้วแล
ดังนี้ เราจึงเจริญสมาธิโดยส่วนสามได้ในบัดนี้.

[466] ดูก่อนอนุรุทธะ... เรานั้นได้เจริญสมาธิมีวิตกมีวิจารบ้าง ได้
เจริญสมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง ได้
เจริญสมาธิมีปีติบ้าง ได้เจริญสมาธิไม่มีปิติบ้าง ได้เจริญสมาธิสหรคตด้วยสุข
บ้าง ได้เจริญสมาธิสหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง.
ดูก่อนอนุรุทธะ เพราะสมาธิชนิดที่มีวิตกมีวิจารบ้าง ชนิดที่ไม่มีวิตก
มีแต่วิจารบ้าง ชนิดที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง ชนิดที่มีปีติบ้าง ชนิดที่ไม่มีปีติ
บ้าง ชนิดที่สหรคตด้วยสุขบ้าง ชนิดที่สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง เป็นอันเกิด
เจริญแล้ว ฉะนั้นแล ความรู้ความเห็นจึงได้เกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่
กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้ความเกิดใหม่ย่อมไม่มี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอนุรุทธะ จึง
ชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบอุปักกิเลสสูตรที่ 8

อรรถกถาอุปักกิเลสสูตร



อุปักกิเลสสูตร มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตทโวจ ความว่า มิใช่กราบทูล
ด้วยความประสงค์จะให้แตกแยกกัน และมิใช่เพื่อจะประจบ แท้จริง ภิกษุนั้น
ได้ความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้เชื่อฟังเราแล้ว จักงดเว้น และธรรมดา
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงมุ่งอนุเคราะห์เพื่อประโยชน์สถานเดียว พระองค์จัก
ตรัสบอกเหตุอย่างหนึ่งแก่ภิกษุเหล่านี้เป็นแน่ ภิกษุเหล่านั้นฟังเหตุเหล่านั้นแล้ว
จักงดเว้น แต่นั้นภิกษุเหล่านั้น จักอยู่อย่างผาสุก. เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นจึง
กราบทูลคำมีอาทิว่า อิธ ภนฺเต ดังนี้. ในบทเป็นต้นว่า มา ภณฺฑนํ พึง
เติมปาฐะที่เหลือว่า อกตฺถ เป็นต้นเข้าไปด้วย แล้วถือเอาความอย่างนี้ว่า
มา ภณฺฑนํ อย่าทำการขัดแย้งกัน. บทว่า อญฺญตโร ความว่า ได้ยินว่า
ภิกษุนั้น มุ่งประโยชน์ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า คือได้ยินว่า ภิกษุนั้นมีความ
ประสงค์อย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ ถูกความโกรธครอบงำแล้ว จะไม่เชื่อฟัง
คำสอนของพระศาสดา ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า เนื้อกล่าวสอนภิกษุเหล่านี้อยู่
อย่าทรงลำบากเลยดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงกราบทูลอย่างนี้.
บทว่า ปิณฺฑาย ปาวิสิ ความว่า มิใช่เสด็จเข้าไปเพื่อบิณฑบาต
อย่างเดียว แต่ได้ทรงอธิฏฐานพระหฤทัยว่า คนที่เห็นเราแล้ว จงเข้าเฝ้าเรา.
ถามว่า ทรงอธิฏฐานเพื่อประโยชน์อะไร.
ตอบว่า เพื่อทรงทรมานภิกษุเหล่านั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
กลับจากบิณฑบาตโดยอาการอย่างนั้นแล้ว ตรัสคาถามีอาทิว่า ปุถุสทฺโท
สมชโน
ดังนี้แล้ว เสด็จออกจากกรุงโกสัมพีตรงไปยังพาลกโลณการคาม.