เมนู

ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเจ้าของธรรม
ทรงยับยั้งก่อน ขอได้โปรดทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อย ทรงประกอบเนือง ๆ
แต่สุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด พวกข้าพระองค์ยังจักปรากฏอยู่ด้วยการ
ขัดใจ ทะเลาะ แก่งแย่ง วิวาทกันเช่นนี้.
[442] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะภิกษุเหล่านั้นแม้ในวาระที่ 3
ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่าเลย อย่าขัดใจ อย่าทะเลาะ อย่าแก่งแย่ง
อย่าวิวาทกันเลย ภิกษุรูปนั้นก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ในวาระที่ 3
ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเจ้าของธรรม
ทรงยับยั้งก่อน ขอได้โปรดทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อย ทรงประกอบเนือง ๆ
แต่สุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด พวกข้าพระองค์ยังจักปรากฏอยู่ด้วยการ
ขัดใจ ทะเลาะแก่งแย่ง วิวาทกันเช่นนี้.

ว่าด้วยภาษิตคาถา


[443] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งสบง ทรงบาตร
จีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงโกสัมพีในเวลาเช้า ครั้นเสด็จกลับจาก
บิณฑบาต ภายหลังเวลาพระกระยาหารแล้ว ทรงเก็บเสนาสนะ กำลังประทับ
ยืนอยู่นั่นแหละ ได้ตรัสพระคาถา ดังนี้ว่า
ภิกษุมีเสียงดังเสมอกัน ไม่มีใคร ๆ
สำคัญตัวว่าเป็นพาล เมื่อสงฆ์แตกกัน
ต่างก็มิได้สำคัญตัวกันเองให้ยิ่ง พวกที่
เป็นบัณฑิต ก็พากันหลงลืม มีปากพูด
ก็มีแต่ตำพูดเป็นอารมณ์พูดไป เท่าที่
ปรารถนาแสดงฝีปาก ไม่รู้เหตุที่ตนนำไป

ก็ชนเหล่าใดผูกโกรธเขาว่า คนโน้นได้
ด่าเรา คนโน้นได้ประหารเรา คนโน้น
ได้ชนะเรา คนโน้นได้ลักของของเรา
เวรของตนเหล่านั้น ย่อมไม่สงบ ส่วนชน
เหล่าใดไม่ผูกโกรธเขาว่า คนโน้นได้ด่า
เรา คนโน้นได้ประหารเรา ตนโน้นได้
ชนะเรา คนโน้นได้ลักของของเรา เวร
ของชนเหล่านั้น ย่อมเข้าไปสงบได้ เวรใน
โลกนี้ ย่อมไม่ระงับได้ด้วยเวรเลย ใน
กาลไหน ๆ แต่จะระงับได้ด้วยไม่มีเวรกัน
นี้เป็นธรรมดามีมาเก่าแก่ ก็คนพวกอื่น
ย่อมไม่รู่สึกว่า พวกเราจะย่อยยับในที่นี้
แต่ชนเหล่าใดที่นั้นรู้สึก ความมุ่งร้าย
กัน ย่อมสงบแต่ชนเหล่านั้นได้ คนพวกอื่น
ตัดกระดูกกัน ผลาญชีวิตกัน ลักโค ม้า
ทรัพย์กัน แม้ชิงแว่นแคว้นกัน ยังมีคืนดี
กันได้
เหตุไร พวกเธอจึงไม่มีเล่า ถ้าบุคคล
ได้สหายที่มีปัญญารักษาตัวร่วมทางจร
เป็นนักปราชญ์ มีปกติให้สำเร็จประโยชน์
อยู่ คุ้มอันตรายทั้งปวงได้ พึงชื่นชมมี
สติเที่ยวไปกับสหายนั้นเถิด ถ้าไม่ได้สหาย
ที่มีปัญญารักษาตัวร่วมทางจร เป็นนัก-

ปราชญ์ มีปกติให้สำเร็จประโยชน์อยู่
พึงเป็นผู้ผู้เดียวเที่ยวไป เหมือนพระราชา
ที่ทรงสละราชสมบัติ และเหมือนช้างมา-
ตังคะในป่า ฉะนั้น การเที่ยวไปคนเดียว
ประเสริฐกว่า เพราะความเป็นสหายกันใน
คนพาลไม่มี พึงเป็นผู้ผู้เดียวเที่ยวไป และ
ไม่พึงทำบาป เหมือนช้างมาตังคะมีความ
ขวนขวายน้อยในป่าฉะนั้น.

[444] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นประทับยืนตรัสพระคาถา
นี้แล้ว ได้เสด็จเข้าไปยังบ้านพาลกโลณการ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระภคุอยู่ใน
บ้านพาลกโลณการ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว
จึงแต่งตั้งอาสนะและน้ำสำหรับล้างพระบาทไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง
บนอาสนะที่แต่งตั้งไว้แล้วทรงล้างพระบาท ท่านพระภคุถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่าน
พระภคุผู้นั่งเรียบร้อยแล้วดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ พอทน พอเป็นไปได้หรือ
เธอไม่ลำบากด้วยเรื่องบิณฑบาตบ้างหรือ.
ท่านพระภคุกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พอทน พอเป็น
ไปได้ และข้าพระองค์ไม่ลำบากด้วยเรื่องบิณฑบาตเลย พระพุทธเจ้าข้า ต่อนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ท่านพระภคุให้เห็น แจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ
ให้ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรมแล้ว ทรงลุกจากอาสนะเสด็จเข้าไปประทับ
นั่งยังป่าปาจีนวงสทายวัน .
[445] ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่าน
พระกิมพิละ อยู่ในป่าปาจีนวงสทายวัน คนรักษาป่าได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว ได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่-

ท่านสมณะ ท่านอย่าเข้าไปยังป่านี้ ในป่านี้ มีกุลบุตร 3 คน กำลังหวังอัตตา
อยู่ ท่านอย่าได้ทำความไม่สำราญแก่เขาเลย ท่านพระอนุรุทธะได้ยินคนรักษาป่า
พูดกับพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ ครั้นได้ยินแล้ว จึงบอกคนรักษาป่าดังนี้ ว่า
ดูก่อนท่านผู้รักษาป่า ท่านอย่าห้ามพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย พระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นพระศาสดาของพวกเราได้เสด็จถึงแล้วโดยลำดับ ต่อนั้น ท่านพระอนุรุทธะ
เข้าไปหาท่านพระนันทิยะและท่านพระกิมพิละยังที่อยู่ แล้วบอกดังนี้ว่า นิมนต์
ท่านทั้งสองไปข้างหน้า ๆ กันเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระศาสดาของ
พวกเรา เสด็จถึงแล้วโดยลำดับ ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระ-
นันทิยะ และท่านพระกิมพิละต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้า รูปหนึ่งรับบาตร
จีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า รูปหนึ่งแต่งตั้งอาสนะ รูปหนึ่งตั้งน้ำสำหรับ
ล้างพระบาท พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่แต่งตั้งแล้ว ทรงล้าง
พระบาท แม้ท่านทั้ง 3 นั้นก็ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[446] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธะผู้นั่งเรียบร้อย
แล้ว ดังนี้ว่า ดูก่อนอนุรุทธะ เธอพอทน พอเป็นไปได้หรือ พวกเธอไม่
ลำบากด้วยเรื่องบิณฑบาตบ้างหรือ.
ท่านพระอนุรุทธะกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พอทนได้
พอเป็นไปได้ พวกข้าพระองค์ไม่ลำบากด้วยเรื่องบิณฑบาตเลย พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอนุรุทธะ...ก็พวกเธอพร้อมเพรียงกันยินดีต่อกัน ไม่วิวาท
กัน เข้ากันได้ดังนมสดกับน้ำ มองดูซึ่งกันและกันด้วยนัยน์ตาที่น่ารักอยู่หรือ.
อ. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์พร้อมเพรียงกัน ยินดี
ต่อกัน ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้ดังนมสดกับน้ำ มองดูซึ่งกัน และกันด้วยนัยน์ตา
ที่น่ารักอยู่.

พ. ดูก่อนอนุรุทธะ อย่างไรเล่า พวกเธอจึงพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน
ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้ดังนมสดกับน้ำ มองดูซึ่งกันและกันด้วยนัยน์ตาที่น่ารัก
อยู่ได้.

ว่าด้วยเอกจิต


[447] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความ
ดำริอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเรา เราได้ดีแล้วหนอที่อยู่กับเพื่อนภิกษุผู้ประพฤติ
พรหมจรรย์ร่วมกันเห็นปานนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้นเข้าไปตั้ง
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา ในท่านผู้มีอายุเหล่านี้
ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ และมีความดำริว่า ไฉนหนอ เราพึงวางจิตของตน
ให้เป็นไปตามอำนาจจิตของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ข้าพระองค์นั้นแล จึงวางจิต
ของตนให้เป็นไปตามอำนาจจิตของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ก็พวกข้าพระองค์ต่าง
กันแต่กายเท่านั้น ส่วนจิตคงเป็นอันเดียวกัน.
[448] แม้ท่านพระนันทิยะและท่านพระกิมพิละ ก็กราบทูลพระผุ้มี-
พระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็มีความดำริอย่างนี้
ว่า เป็นลาภของเรา เราได้ดีแล้วหนอที่อยู่กับเพื่อนภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์
ร่วมกันเห็นปานนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้นเข้าไปตั้งกายกรรม
วจีกรรม มโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา ในท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ทั้งในที่
แจ้ง ทั้งในที่ลับ และมีความดำริว่า ไฉนหนอ เราพึ่งวางจิตของตนให้เป็น
ไปตามอำนาจจิตของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ข้าพระองค์นั้นแล จึงวางจิตของตน
ให้เป็นไปตามอำนาจจิตของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ก็พวกข้าพระองค์ต่างกันแต่กาย
เท่านั้น ส่วนจิตคงเป็นอันเดียวกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อย่างนี้แลพวกข้า