เมนู

อรรถกถาอนุรุทธสูตร


อนุรุทธสูตร มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวมาหํสุ ความว่า เข้าไปหาในเวลา
ที่อุบาสกนั้น ไม่สบาย จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า อปณฺณถํ แปลว่า ไม่ผิด
พลาด. บทว่า เอกตฺถ ได้แก่ เป็นทั้งเจโตวิมุตติ ที่หาประมาณมิได้ หรือ
เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ. ท่านถือเอาคำนี้ว่าฌานก็เรียกอย่างนั้น เพราะความ
ที่จิตนั้น แหละมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.
บทว่า ยาวตา เอกํ รุกฺขมูลํ มหคฺคตนฺติ ผริตฺวา อธิมุจฺจิตฺวา
วิหรติ
ความว่า น้อมใจแผ่ไปสู่มหัคคตฌานในกสิณนิมิตนั้น ปกคลุมโคน
ต้นไม้แห่งหนึ่ง เป็นที่พอประมาณโดยกสิณนิมิตอยู่. บทว่า มหคฺคตํ ความว่า
ก็ความผูกใจไม่มีแก่ภิกษุนั้น ท่านจึงกล่าวบทนี้ไว้ด้วยสามารถแห่งความเป็น
ไปแห่งมหัคคตฌานอย่างเดียว. ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้. บทว่า อิมินา โข
เอตํ คหปติ ปริยาเยน
ความว่า ด้วยเหตุนี้. ก็ในข้อนี้มีวินิจฉัยว่า ก็
นิมิตแห่งพรหมวิหารที่ท่านกล่าวไว้ว่า เป็นอัปปมาณานี้ ย่อมไม่ควร คือยัง
ไม่เกิดการแผ่ขยาย และทั้งฌานเหล่านั้น ก็ยังไม่เป็นบาทแห่งอภิญญาหรือ
นิโรธ ก็ฌานที่เป็นบาทแห่งวิปัสสนา ย่อมเป็นทั้งบาทแห่งวัฏฏะ และเป็น
การก้าวลงสู่ภพ. แต่นิมิตแห่งฌานที่เป็นกสิณ ซึ่งท่านกล่าวว่า เป็นมหัคคตะ
ย่อมควร คือย่อมเกิดการแผ่ขยายออกไป และย่อมก้าวล่วงได้ ฌานที่เป็น
บาทแห่งอภิญญา ย่อมเป็นบาทแห่งนิโรธด้วย เป็นบาทแห่งวัฏฏะด้วย ทั้ง
ก้าวลงสู่ภพได้ด้วย. ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกันอย่างนี้ และมีพยัญชนะต่าง
กันอย่างนี้ คือ เป็นอัปปมาณา และเป็นมหัคคตะ.