เมนู

อรรถกถาปัญจัตตยสูตร



ปัญจัตตยสูตร

เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
พึงทราบวินิจฉัยในปัญจัตตยสูตรนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า เอเก ได้แก่
บางพวก. บทว่า สมณพฺราหฺมณา ความว่า ชื่อว่า สมณะ โดยเป็นนัก
บวช ชื่อว่า พราหมณ์ โดยชาติ. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ที่โลกสมมติไว้อย่างนี้ว่า
สมณะและว่าพราหมณ์ ดังนี้. ชื่อว่า อปรันตกัปปิกะ เพราะกำหนดยึด
ซึ่งขันธ์ส่วนอนาคต. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อปรันตกัปปิกะ เพราะสมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นมีการกำหนดยึดขันธ์ส่วนอนาคต ดังนี้ก็มี ก็ในคำว่า-
อปรันตกัปปิกะ นั้น ในที่นี้ ส่วน ท่านประสงค์เอาส่วนว่า อนฺต ดุจใน
ประโยคเป็นต้นว่า ผู้มีอายุ สักกายะ (กายของตน) แล เป็นส่วนอันหนึ่ง
ดังนี้. ตัณหาและทิฏฐิ ชื่อว่า กัปปะ.
สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า โดยอุทานว่า กัปปะ ดังนี้ กัปปะ มี 2
อย่าง คือ ตัณหากัปปะ และ ทิฏฐิกัปปะ เพราะฉะนั้น พึงเห็นเนื้อความใน
คำว่า กัปปะ นี้อย่างนี้ว่า ชื่อว่า อปรันตกัปปิกะ เพราะกำหนด ซึ่งส่วน
แห่งขันธ์อันเป็นอนาคต โดยตัณหาและทิฏฐิ. ชื่อว่า อปรันตานุทิฏฐิ
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นกำหนดส่วนแห่งขันธ์อันเป็นอนาคต ยืนหยัดอยู่
อย่างนั้นแล้ว. มีความเห็นคล้อยตามส่วนแห่งขันธ์อันเป็นอนาคตนั่นแหละ
โดยที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ. สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีความเห็นอย่างนั้น เริ่มพึ่ง
พาอาศัยส่วนแห่งขันธ์อันเป็นอนาคตนั้น กระทำแม้คนอื่นให้ดำเนินไปตาม
ทิฏฐิ กล่าวยืนยัน อธิมุตติบท (บทคือ ความน้อมใจเชื่อ) หลายอย่าง.
บทว่า อเนกวิหิตานิ แปลว่า หลายอย่าง. บทว่า อธิมุตฺติปทานิ ได้