เมนู

สติที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ว่ามีผลอานิสงส์มากนี้ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้อสนทนากัน ในระหว่างของพวกข้าพระองค์ได้ค้างอยู่เพียงนี้ พอดี
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จมาถึง.

วิธีเจริญกายคตาสติที่มีผลานิสงส์มาก



[294] พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กาย-
คตาสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลอานิสงส์
มาก ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่ควงไม้
ก็ดี อยู่ในเรือนร้างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า.
เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า
หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจ
ออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจ
เข้าสั้น. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ว่า เราจัก
ระงับกายสังขาร หายใจออก ว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า. เมื่อภิกษุ
นั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรม อยู่อย่างนี้ ย่อมละความ
ดำริพล่านที่เป็นเจ้าเรือนเสียได้. เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็น
ไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.
[295] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัด
ว่ากำลังเดิน หรือยืนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังยืน หรือนั่งอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนั่ง
หรือนอนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนอน. หรือเธอทรงกายโดยอาการใด ๆอยู่ ก็รู้
ชัดว่ากำลังทรงกายโดยอาการนั้น ๆ. เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร

ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่เป็นเจ้าเรือนเสียได้.
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่
นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็
ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.
[296] ดูก่อนภิกษุทั้งกลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้
ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ ในเวลาแลดู และเหลียวดู ใน
เวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลา
ฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลา เดิน
ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความ
เพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่เป็นเจ้าเรือนเสีย
ได้. เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่
แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุ
ก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.
[297] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณา
กายนี้แล ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา ข้างล่างแต่ปลายผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่
โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้คือ ผม ขน
เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด
ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด น้ำเหลือง
เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร. ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปากทั้งสองข้าง เต็มไปด้วยธัญชาตินานา
ชนิด คือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วทอง งา และข้าวสาร บุรุษ
ผู้มีตาดี แก้ไถ้นั้นออกแล้วพึงเห็นได้ว่านี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเหลือง

นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุ
ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป ข้างล่างแต่ปลายผมลงมา
มีหนึ่งหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ ในกายนี้
คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม
หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า
ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก
ไขข้อ มูตร เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรม
อยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่เป็นเจ้าเรือนเสียได้ เพราะละความ
ดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรม
เอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญ-
กายคตาสติ.

[298] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณา
กายนี้แล ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้คือ ธาตุดิน
ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโค
หรือลูกมือของคนฆ่าโค ผู้ฉลาด ฆ่าโคแล้วนั่งแบ่งเป็นส่วนๆ ใกล้ทางใหญ่
4 แยก ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณา
เห็นกายนี้แล ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุ
ดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม. เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่ง
ตนไปในธรรม อยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสีย
ได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่
แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดงขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุ
ก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.

[299] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขา
ทิ้งในป่าช้า อันตายได้วันหนึ่ง หรือสองวัน หรือสามวัน ที่ขึ้นพองเขียวช้ำ
มีน้ำเหลืองเยิ้ม จึงนำเขามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แลก็เหมือนอย่างนี้
เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อภิกษุนั้นไม่
ประมาท มีความเพียร ส่งตนไป ในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริ
พล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไป
ภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ.
[300] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขา
ทิ้งในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกิน
อยู่บ้าง หมู่สุนัขบ้านกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขป่ากัดกินอยู่บ้าง สัตว์เล็กสัตว์
น้อยต่างๆชนิดย่อมกินอยู่บ้าง จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล
ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อ
ภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไป ในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละ
ความดำริพล่านที่เป็นเจ้าเรือนเสียได้. เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิต
อันเป็นไปภายในเท่านั้นย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ.
[301] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขา
ทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างอยู่ด้วยกระดูก มีทั้งเนื้อและเลือดเส้นเอ็นผูกรัด
ไว้...
เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างด้วยกระดูก ไม่มีเนื้อ มีแต่
เลือดเปรอะเปื้อนอยู่ เส้นเอ็นยังผูกรัดไว้...

เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างด้วยกระดูก ปราศจากเนื้อ
และเลือดแล้ว แต่เส้นเอ็นยังผูกรัดอยู่...
เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นท่อนกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นเครื่อง
ผูกรัดแล้ว กระจัดกระจายไปทั่วทิศต่างๆคือ กระดูกมืออยู่ทางหนึ่ง กระดูก
เท้าอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแข้งอยู่ทางหนึ่ง กระดูกหน้าขาอยู่ทางหนึ่ง กระดูก
สะเอวอยู่ทางหนึ่ง กระดูกสันหลังอยู่ทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงอยู่ทางหนึ่ง
กระดูกหน้าอกอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแขนอยู่ทางหนึ่ง กระดูกไหล่อยู่ทางหนึ่ง
กระดูกคออยู่ทางหนึ่ง กระดูกคางอยู่ทางหนึ่ง กระดูกฟันอยู่ทางหนึ่ง กระ-
โหลกศีรษะอยู่ทางหนึ่ง จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกับกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็
เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้. เมื่อ
ภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไป ในธรรมอย่างนี้ ย่อมละ
ความดำริพล่านที่เป็นเจ้าเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.
[302] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่
เขาทิ้งในป่าช้า เป็นแต่กระดูก สีขาวเปรียบดังสีสังข์...
เห็นศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นท่อนกระดูกเรี่ยราดเป็นกอง ๆ มี
อายุเกินปีหนึ่ง...
เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นแต่กระดูกผุเป็นจุณ จึงนำเข้ามา
เปรียบเทียบกับกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็น
อย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียรส่งตน
ไปในธรรม อยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่เป็นเจ้าเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง

เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า
เจริญกายคตาสติ.
[303] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุสงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก
อยู่ เธอยังกายนี้แล ให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขเกิด
แต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก
จะไม่ถูกต้อง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือ
ลูกมือของพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด โรยจุณสำหรับสรงสนานลงในภาชนะ
สำริดแล้ว เคล้าด้วยน้ำให้เป็นก้อนๆ ก้อนจุณสำหรับสรงสนานนั้นมียางซึม
เคลือบ จึงจับกันทั้งข้างในข้างนอกและกลายเป็นผลึกด้วยยาง ฉันใด ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุกเคล้า
บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุข เกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุก
ส่วนของเธอ ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง. เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท
มีความเพียร ส่งตนไปในธรรม อยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่เป็น
เจ้าเรือนเสียได้. เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น
ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้
ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.
[304] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและ
วิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอยังกายนี้แล ให้
คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไรๆ
แห่งกายทุกส่วนของเธอ ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำพุ ไม่มีทางระบายน้ำทั้งในทิศตะวันออก
ทั้งในทิศตะวันตก ทั้งในทิศเหนือ ทั้งในทิศใต้เลย และฝนก็ยังไม่หลั่งสาย
น้ำโดยชอบตามฤดูกาล ขณะนั้นแล ธารน้ำเย็นจะพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้น แล้ว
ทำห้วงน้ำนั้นเอง ให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศ
ไรๆ แห่งห้วงน้ำทุกส่วนนั้นที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่าน
ด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไร ๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอ
ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง. เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร
ส่งตนไปในธรรม อยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้.
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่
แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุ
ก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.
[305] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้วางเฉย
เพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกายย่อมเข้าตติย-
ฌานที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ เธอยังกายนี้แล
ให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไรๆ
แห่งกายทุกส่วนของเธอ ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนดอกบัวขาบ หรือดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว แต่ละชนิด
ในกอบัวขาบ หรือในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว เกิดแล้วในน้ำ เนื่อง
อยู่ในน้ำ ขึ้นตามน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้ คลุก เคล้า บริบูรณ์
ซึมซาบด้วยน้ำเย็นจนถึงยอดและเง่า ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งดอกบัวขาบ หรือ
ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ทุกส่วนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุก
เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุก
ส่วนของเธอที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง. เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความ
เพียร ส่งตนไปแล้วในธรรม อยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัย
เรือนเสียได้. เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น
ย่อมคงที่ แน่นิ่งเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้
ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ.
[306] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าจตุตถ-
ฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัส
ก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เธอย่อมเป็นผู้นั่งเอาใจอันบริสุทธิ์
ผุดผ่องแผ่ไปทั่วกายนี้แล ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ใจอัน
บริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนบุรุษนั่งเอาผ้า
ขาวคลุมตลอดทั้งศีรษะ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของบุรุษนั้นที่ผ้า
ขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุ
ย่อมเป็นผู้นั่งเอาใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องแผ่ไปทั่วกายนี้แล ไม่มีเอกเทศไรๆ
แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง เมื่อภิกษุนั้นไม่
ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปแล้ว ในธรรม อยู่อย่างนี้ ย่อมละความ
ดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็น
ไปภายในเท่านั้นย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ.
[307] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติ
แล้ว ทำให้มากแล้ว ชื่อว่าเจริญและทำให้มากซึ่งกุศลธรรมส่วนวิชชาอย่าง

ใดอย่างหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน
บุคคลไรๆ ก็ตาม นึกถึงมหาสมุทรด้วยใจแล้ว ชื่อว่านึกถึงแม่น้ำน้อยที่ไหล
มาสู่สมุทรสายใดสายหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ฉันนั้นก็เหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว
ชื่อว่าเจริญและทำให้มาก ซึ่ง กุศลธรรมส่วนวิชชา อย่างใดอย่างหนึ่ง
อันรวมอยู่ในภายในด้วย.

ผู้ไม่เจริญกายคตาสติมารจะได้ช่อง



[308] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ ไม่ทำให้
มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเหวี่ยงก้อนศิลาหนักไปที่
กองดินเหนียวที่เปียก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความนั้นเป็น
ไฉน ? ก้อนศิลาหนักนั้น จะพึงได้ช่องในกองดินเปียก (เจาะให้เป็นรู )
บ้างไหม ?
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ได้ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามไม่
เจริญ ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์
[309] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้แห้งเกราะ จึงมี
บุรุษมาถือเอาเป็นไม้สีไฟด้วยตั้งใจว่า จักติดไฟ จักก่อไฟ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน ? บุรุษนั้นถือเอาไม้แห้งเกราะโน้นเป็น
ไม้สีไฟแล้วสีกันไป จะพึงติดไฟ จะพึงก่อไฟ ได้บ้างไหม ?
ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามไม่
เจริญ ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์