เมนู

ก็กิริยามีการล่อลวงเป็นต้น เหล่านี้ ข้าพเจ้านำเอามาทั้งพระบาลีและ
อรรถกถา กล่าวไว้โดยพิสดารแล้วในสีลนิทเทสในวิสุทธิมรรคนั่นแล.
ในบทว่า มิจฺฉาอาชีวสฺส ปหานาย นี้ มิจฉาอาชีวะที่มาในพระ-
บาลีเท่านั้นยังไม่พอ ก็แม้เจตนาที่เป็นกรรมบถ 7 ประการ มีปาณาติบาต
เป็นต้น ซึ่งเป็นไปเพราะอาชีวะเป็นเหตุก็เป็นมิจฉาอาชีวะด้วย.
วิรัติ (ความงดเว้น) อันกระทำการตัดทางดำเนินของเจตนา 7 ประการ
นั้นนั่นแหละ ให้ถอนรากถอนโคน ทำองค์มรรคให้บริบูรณ์เกิดขึ้น ชื่อว่า
สัมมาอาชีวะ.

ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ก็มีสัมมาสังกัปปะด้วย



บทว่า สมฺมาทิฏฐิสฺส ได้แก่ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิในมรรค.
บทว่า สมฺมาสงฺกปฺโป ปโหติ ความว่า สัมมาสังกัปปะ ใน
มรรคย่อมมีพอเหมาะ สัมมาสังกัปปะในผล ก็มีพอเหมาะแม้แก่ผู้มีสัมมา-
ทิฏฐิในผล พึงทราบความหมายในบททั้งปวง ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้.

ผู้มีสัมมาสมาธิก็มีสัมมาญาณญาณะและสัมมาวิมุตติด้วย



ก็ในบทว่า สมฺมาญาณํ สมฺมาวิมุตฺติ นี้มีอธิบายว่า สัมมาญาณะ
อันเป็นเครื่องพิจารณามรรค ก็มีพอเหมาะพอดีกับบุคคลผู้ตั้งอยู่ในสัมมาสมาธิ
ในมรรค สัมมาญาณะอันเป็นเครื่องพิจารณาผล ก็มีพอเหมาะพอดีแก่บุคคลผู้
ตั้งอยู่ในสัมมาสมาธิในผล สัมมาวิมุตติในมรรค ก็มีพอเหมาะพอดีแก่บุคคล
ผู้ตั้งอยู่ ในญาณอันเป็นเครื่องพิจารณามรรค สัมมาวิมุตติในผลก็มีพอเหมาะ
พอดีแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณอันเป็นเครื่องพิจารณาผล.
ก็ในอธิการนี้ ท่านกล่าวไว้ว่า เว้นองค์แห่งผลทั้ง 8 ประการเสีย
กระทำสัมมาญาณะให้เป็นเครื่องพิจารณาแล้วทำสัมมาวิมุตติให้เป็นผลก็ควร.

ผู้มีสัมมาทิฏฐิก็สลัดมิจฉาทิฏฐิได้



ในบทว่า สมฺมาทิฏฺฐิสฺส ภิกฺขเว มิจฺฉาทิฏฺฐิ นิชฺชิณฺณา โหติ
(ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาทิฏฐิย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฏฐิ) ดังนี้เป็นต้น
ท่านอาจารย์ผู้กล่าวนิกายที่เหลือกล่าวว่า ตรัสถึงผล ส่วนอาจารย์ผู้กล่าว
มัชฌิมนิกาย กล่าวอาคตสถานของนิชชรวัตถุ 10 ประการ ว่า ตรัสถึงมรรค.
บรรดาธรรมเหล่านั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เพราะ
อรรถว่าเห็น พระนิพพาน พึงทราบว่าชื่อว่า สัมมาญาณะ เพราะอรรถว่า
กระทำให้แจ่มแจ้งพระนิพพาน พึงทราบว่า ชื่อว่า สัมมาวิมุตติ เพราะ
อรรถว่าน้อมใจไปในพระนิพพานนั้น.
บทว่า วีสติ กุสลปกฺขา ความว่า เป็นธรรมฝ่ายกุศล 20
ประการอย่างนี้ คือ ธรรม 10 ประการมี สัมมาทิฏฐิ เป็นต้น และธรรม
10 ประการ ที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า กุศลธรรมเป็นอเนกประการที่มี
สัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย.
บทว่า วีสติ อกุสลปกฺขา ความว่า พึงทราบธรรมฝ่ายอกุศล
20 ประการอย่างนี้ คือ ธรรม 10 ประการมี มิจฉาทิฏฐิ เป็นต้นที่ตรัสไว้
โดยนัยเป็นต้นว่า มิจฉาทิฏฐิย่อมเป็นเครื่องให้เสื่อมแล้ว และธรรม 10ประการ
ที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า ธรรมอันลามกมิใช่น้อย มีมิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัย.
บทว่า มหาจตฺตารสโก ความว่า ชื่อว่า มหาจัตตารีสกะ
(หมวด 40 ใหญ่) เพราะประกาศธรรม 40 ประการ อันเป็นฝ่ายกุศล และ
เป็นฝ่ายอกุศลอันเป็นข้อใหญ่ เพราะการให้วิบากมาก.
1. อัง. ทสก. 24/ข้อ 106.