เมนู

ก็กิริยามีการล่อลวงเป็นต้น เหล่านี้ ข้าพเจ้านำเอามาทั้งพระบาลีและ
อรรถกถา กล่าวไว้โดยพิสดารแล้วในสีลนิทเทสในวิสุทธิมรรคนั่นแล.
ในบทว่า มิจฺฉาอาชีวสฺส ปหานาย นี้ มิจฉาอาชีวะที่มาในพระ-
บาลีเท่านั้นยังไม่พอ ก็แม้เจตนาที่เป็นกรรมบถ 7 ประการ มีปาณาติบาต
เป็นต้น ซึ่งเป็นไปเพราะอาชีวะเป็นเหตุก็เป็นมิจฉาอาชีวะด้วย.
วิรัติ (ความงดเว้น) อันกระทำการตัดทางดำเนินของเจตนา 7 ประการ
นั้นนั่นแหละ ให้ถอนรากถอนโคน ทำองค์มรรคให้บริบูรณ์เกิดขึ้น ชื่อว่า
สัมมาอาชีวะ.

ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ก็มีสัมมาสังกัปปะด้วย



บทว่า สมฺมาทิฏฐิสฺส ได้แก่ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิในมรรค.
บทว่า สมฺมาสงฺกปฺโป ปโหติ ความว่า สัมมาสังกัปปะ ใน
มรรคย่อมมีพอเหมาะ สัมมาสังกัปปะในผล ก็มีพอเหมาะแม้แก่ผู้มีสัมมา-
ทิฏฐิในผล พึงทราบความหมายในบททั้งปวง ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้.

ผู้มีสัมมาสมาธิก็มีสัมมาญาณญาณะและสัมมาวิมุตติด้วย



ก็ในบทว่า สมฺมาญาณํ สมฺมาวิมุตฺติ นี้มีอธิบายว่า สัมมาญาณะ
อันเป็นเครื่องพิจารณามรรค ก็มีพอเหมาะพอดีกับบุคคลผู้ตั้งอยู่ในสัมมาสมาธิ
ในมรรค สัมมาญาณะอันเป็นเครื่องพิจารณาผล ก็มีพอเหมาะพอดีแก่บุคคลผู้
ตั้งอยู่ในสัมมาสมาธิในผล สัมมาวิมุตติในมรรค ก็มีพอเหมาะพอดีแก่บุคคล
ผู้ตั้งอยู่ ในญาณอันเป็นเครื่องพิจารณามรรค สัมมาวิมุตติในผลก็มีพอเหมาะ
พอดีแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณอันเป็นเครื่องพิจารณาผล.
ก็ในอธิการนี้ ท่านกล่าวไว้ว่า เว้นองค์แห่งผลทั้ง 8 ประการเสีย
กระทำสัมมาญาณะให้เป็นเครื่องพิจารณาแล้วทำสัมมาวิมุตติให้เป็นผลก็ควร.