เมนู

ในบทว่า อารติ ดังนี้เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ชื่อว่า อารติ
เพราะยินดีความห่างไกลจากวจีทุจริต.
ชื่อว่า วิรติ เพราะเว้นจากวจีทุจริตเหล่านั้น.
ชื่อว่า ปฏิวิรติ เพราะถอยกลับจากวจีทุจริตนั้น ๆ แล้วงดเว้น
จากวจีทุจริตเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเพิ่มบทด้วยอำนาจอุปสรรค. บท
ทั้งหมดนี้เป็นชื่อของภาวะคือ การงดเว้นทั้งนั้น.
ชื่อว่า เวรมณี เพราะย่ำยีเวร ได้แก่ ทำเวรให้พินาศไป แม้บท
นี้ก็เป็นไวพจน์ของความงดเว้นเหมือนกัน.
แม้คำทั้งสองว่า เจตนา 1 วิรติ 1 ย่อมใช้ได้เหมือนกัน แม้ในคำว่า
ปาณาติปาตา เวรมณี เป็นต้น.

อธิบกยกุหนาเป็นต้น



ในบทว่า กุหนา เป็นต้น
ชื่อว่า กุหนา (วาจาล่อลวง) เพราะลวงโลกใช้งงงวยด้วยวาจานั้น
ด้วยเรื่องหลอกลวง 3 ประการ.
ชื่อว่า ลปนา (วาจายกยอ) เพราะคนผู้ต้องการลาภ สักการะยกยอ
ด้วยวาจานั้น.
ชื่อว่า ผู้ทำบุ้ยใบ้ เพราะมี (แต่ทำ) บุ้ยใบเป็นปกติ. ภาวะของผู้
ทำบุ้ยใบ้เหล่านั้น ชื่อว่า เนมิตฺตกตา (ความเป็นผู้ทำบุ้ยใบ้)
ชื่อว่า ผู้ทำอุบายโกง เพราะคนเหล่านั้นมีการทำอุบายโกงเป็นปกติ
ภาวะของคนผู้ทำอุบายโกงเหล่านั้น ชื่อว่า นิปฺเปสิกตา (ความเป็นผู้ทำ
อุบายโกง)
ชื่อว่าการแลกลาภด้วยลาภ เพราะแลก คือหา ได้แก่แสวงหาลาภ
ด้วยลาภ ภาวะแห่งการแลกลาภด้วยลาภเหล่านั้น ชื่อว่า การหาลาภด้วย
ลาภ.
ความย่อในที่นี้มีเพียงเท่านี้.

ก็กิริยามีการล่อลวงเป็นต้น เหล่านี้ ข้าพเจ้านำเอามาทั้งพระบาลีและ
อรรถกถา กล่าวไว้โดยพิสดารแล้วในสีลนิทเทสในวิสุทธิมรรคนั่นแล.
ในบทว่า มิจฺฉาอาชีวสฺส ปหานาย นี้ มิจฉาอาชีวะที่มาในพระ-
บาลีเท่านั้นยังไม่พอ ก็แม้เจตนาที่เป็นกรรมบถ 7 ประการ มีปาณาติบาต
เป็นต้น ซึ่งเป็นไปเพราะอาชีวะเป็นเหตุก็เป็นมิจฉาอาชีวะด้วย.
วิรัติ (ความงดเว้น) อันกระทำการตัดทางดำเนินของเจตนา 7 ประการ
นั้นนั่นแหละ ให้ถอนรากถอนโคน ทำองค์มรรคให้บริบูรณ์เกิดขึ้น ชื่อว่า
สัมมาอาชีวะ.

ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ก็มีสัมมาสังกัปปะด้วย



บทว่า สมฺมาทิฏฐิสฺส ได้แก่ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิในมรรค.
บทว่า สมฺมาสงฺกปฺโป ปโหติ ความว่า สัมมาสังกัปปะ ใน
มรรคย่อมมีพอเหมาะ สัมมาสังกัปปะในผล ก็มีพอเหมาะแม้แก่ผู้มีสัมมา-
ทิฏฐิในผล พึงทราบความหมายในบททั้งปวง ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้.

ผู้มีสัมมาสมาธิก็มีสัมมาญาณญาณะและสัมมาวิมุตติด้วย



ก็ในบทว่า สมฺมาญาณํ สมฺมาวิมุตฺติ นี้มีอธิบายว่า สัมมาญาณะ
อันเป็นเครื่องพิจารณามรรค ก็มีพอเหมาะพอดีกับบุคคลผู้ตั้งอยู่ในสัมมาสมาธิ
ในมรรค สัมมาญาณะอันเป็นเครื่องพิจารณาผล ก็มีพอเหมาะพอดีแก่บุคคลผู้
ตั้งอยู่ในสัมมาสมาธิในผล สัมมาวิมุตติในมรรค ก็มีพอเหมาะพอดีแก่บุคคล
ผู้ตั้งอยู่ ในญาณอันเป็นเครื่องพิจารณามรรค สัมมาวิมุตติในผลก็มีพอเหมาะ
พอดีแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณอันเป็นเครื่องพิจารณาผล.
ก็ในอธิการนี้ ท่านกล่าวไว้ว่า เว้นองค์แห่งผลทั้ง 8 ประการเสีย
กระทำสัมมาญาณะให้เป็นเครื่องพิจารณาแล้วทำสัมมาวิมุตติให้เป็นผลก็ควร.