เมนู

บทวา เจตโส อภินิโรปนา แปลวา ยกจิตขึ้น. เพราะเมื่อมีวิตก
วิตกย่อมยกจิตขึ้นในอารมณ์.
แต่เมื่อไม่มีวิตก จิตก็ขึ้นสู่อารมณ์ได้ตามธรรมดาของตนเองเหมือน
คนที่ชำนาญ มีชาติตระกูลสูง ย่อมเข้าพระราชวังได้ฉะนั้น เพราะสำหรับผู้
ไม่ชำนาญ (การเข้าพระราชวัง ย่อมต้องการคนนำทางหรือคนเฝ้าประตู. พระ
ราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาทรงรู้และรู้จักคนผู้ชำนาญ มีชาติอันสมบูรณ์
เพราะเหตุนั้น เขาจึงออกและเข้า (พระราชวัง) ได้ โดยธรรมดาของตน
(ฉันใด) พึงทราบข้ออุปไมยนี้ฉันนั้น.
ชื่อว่า วจีสังขาร เพราะปรุงแต่งวาจา. ก็ในเรื่องวจีสังขารนี้โลกิย-
วิตก ย่อมปรุงแต่งวาจา โลกุตรวิตก ไม่ปรุงแต่ง. โลกุตรวิตก ไม่
ปรุงแต่ง ก็จริงอยู่ ถึงกระนั้น วิตกนั้นก็ย่อมมีชื่อว่า วจีสังขารเหมือนกัน.
บทว่า สมฺมาสงฺกปฺปํ อนุปริธาวนฺติ ความว่า ย่อมห้อมล้อม
สัมมาสังกัปปะอันเป็นโลกุตระ.
ก็ในการนี้ ธรรมแม้ 3 ประการมีเนกขัมสังกัปปะ (ดำริในอันออก
จากกาม) เป็นต้น ย่อม (มี) ได้ในจิตต่าง ๆ ในกาลอันเป็นเบื้องต้น.
แต่ในขณะแห่งมรรค สัมมาสังกัปปะองค์เดียวเท่านั้น ตัดทางดำเนินแห่งสัง-
กัปปะทั้ง 3 มีกามสังกัปปะเป็นต้นให้เป็นการถอน (ราก) ขึ้น ทำองค์มรรค
ให้บริบูรณ์เกิดขึ้น ย่อมได้ชื่อ 3 ชื่อเนื่องด้วยเนกขัมสังกัปปะเป็นต้น. แม้
ในสัมมาวาจาเป็นต้นข้างหน้า ก็นัยนี้เหมือนกัน.

อารติ-วิรติ-ปฎิวิรติ-เวรมณี



แม้ในบทว่า มุทาวาทา เวรมณี ดังนี้เป็นต้น เป็นวิรัติก็ถูก เป็น
เจตนาก็ถูก.