เมนู

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นได้อยู่ในภูเขานั้นมาแต่กาลครั้ง
นั้น. และแต่ครั้งนั้นมา ภูเขานั้นจึงได้เกิดชื่อว่า อิสิคิลิ.

พระนามของพระปัจเจกพุทธเจ้า



บทว่า เย สตฺตสารา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสชื่อของ
พระปัจเจกพุทธเจ้า 13 พระองค์คือ พระอริฏฐะ พระอุปริฏฐะ พระ-
ตัคครสิขี พระยสัสสี พระสุทัสสนะ พระปิยทัสสี พระคันธาระ
พระปิณโฑละ พระอุปาสภะ พระนิถะ พระตถะ พระสุตวา
พระภาวิตัตตะ
บัดนี้ เมื่อจะตรัสบอกชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น
กับชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์อื่น ด้วยการผูกเป็นคาถา จึงตรัสคำเป็น
ต้นว่า เย สตุตสารา ดังนี้.
ในพระนามเหล่านั้น พระนามว่า สตฺตสารา แปลว่า เป็นหลัก
ของสัตว์ทั้งหลาย. พระนามว่า. อนีฆา แปลว่า ไม่มีทุกข์ พระนามว่า
นิราสา แปลว่า ไม่มีความอยาก.
พระนามว่า เทฺว ชาลิโน ความว่า พระนามว่า ชาลีมี 2 องค์
คือ จุลลชาลี มหาชาลี. แม้คำว่า สันตจิตตะ ก็เป็นพระนามของพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง.
ข้อว่า ปสฺสี ชหิ อุปธึ ทุกขมูลํ นี้เป็นคำสรรเสริญพระปัจเจก-
พุทธเจ้าองค์นั้นว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นั้นทรงพระนามว่า ปัสสี ก็
เพราะพระองค์ทรงละอุปธิอันเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ได้แล้ว.
แม้คำว่า อปราชิตะ ก็เป็นชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง
เหมือนกัน. ท่านทั้ง 5 เหล่านี้ คือ พระสัตถา พระปวัตตา พระสร-
ภังคะ พระโลมหังสะ พระอุจจังคมายะ
ท่านทั้ง 3 แม้เหล่านี้ คือ
พระอสิตะ พระอนาสวะ พระอโนมยะ.

บทว่า พนฺธุมา ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรง
พระนามว่า พันธุมา เรียกกันว่าพระมานัจฉิทะ เพราะท่านตัดมานะได้
เด็ดขาด.
แม้บทว่า ตทาธิมุตตะก็เป็นพระนามพระปัจเจกพุทธเจ้าเหมือนกัน.
ท่านทั้ง 3 เหล่านี้ คือ พระเกตุมภราคะ พระมาตังคะ พระอริยะ.
บทว่า อถจฺจุโต แยกบทออกเป็น อถ อจฺจุโต (แปลว่า อนึ่ง
พระอัจจุตะ) ท่านทั้งสองเหล่านี้ คือ พระอัจจุตะ พระอจัจุตคาม-
พยามกะ
ทั้งสองท่านเหล่านี้ คือ พระเขมาภิรตะ พระโสรตะ.
บทว่า สยฺโห อโนมนิกฺกโม ความว่า พระพุทธะองค์นั้นชื่อสัยหะ
แต่เขาเรียกกันว่า อโนมนิกกมะ เพราะมีความเพียรไม่ต่ำต้อย.
บทว่า อานนฺทนนฺโท อุปนนฺโท ทฺวาทส ความว่า พระปัจเจก-
พุทธ 12 องค์อย่างนี้ คือ พระอานันทะ 4 องค์ พระนันทะ 4 องค์
พระอุปนันทะ 4 องค์

บทว่า ภารทฺวาโช อนฺติมเทหธารี เป็นคำสรรเสริญว่า พระ
ปัจเจกพุทธะองค์นั้นชื่อภารทวาชะ ผู้ทรงพระสรีระเป็นครั้งสุดท้าย.
บทว่า ตณฺหจฺฉิโท ได้แก่ นี้เป็นคำสรรเสริญพระปสีทรี. แม้
บทว่า วีตราโค ก็เป็นคำสรรเสริญพระมังคละ
บทว่า อุสภจฺฉิทา ชาลินึ ทุกฺขมูลํ ความว่า พระพุทธะองค์นั้น
ชื่อ อุสภะ ได้ตัดตัณหาเพียงดังข่ายอันเป็นรากเหง่าแห่งทุกข์ได้แล้ว
บทว่า สนฺตํ ปทํ อชฺฌคมูปนีโต ความว่า พระปัจเจกพุทธะพระ
องค์นั้นชื่ออุปนียะ ได้บรรลุสันตบทแล้ว. แม้บทว่า วีตราคะ ก็เป็นพระ
นามของพระปัจเจกพุทธะพระองค์หนึ่งเหมือนกัน

บทว่า สุวิมุตฺตจิตฺโต ได้แก่ นี้เป็นคำสรรเสริญพระกัณหะ.
บทว่า เอเต จ อญฺเญ จ ความว่า พระปัจเจกพุทธะทั้งหลาย
เหล่านี้ ทั้งที่มาในพระบาลีและไม่ได้มาในพระบาลี กับพระปัจเจกพุทธะเหล่า
อื่น พระปัจเจกพุทธะเหล่านี้ มีพระนามอย่างเดียวเท่านั้น.
ก็บรรดาพระปัจเจกพุทธะ 500 เหล่านี้ พระปัจเจกพุทธะ 2 องค์ก็ดี
3 องค์ก็ดี 10 องค์ก็ดี 12 องค์ก็ดี ได้มีพระนามอย่างเดียวกัน เหมือน
พระปัจเจกพุทธะทั้งหลายมีพระอานันทะ เป็นต้น.
ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ย่อมเป็นอันระบุพระนามของพระปัจเจก-
พุทธะทั้งหลายโดยพระนามอันมาในพระบาลีเท่านั้น เพราะเหตุนั้นต่อแต่นี้ไป
ไม่ตรัสแยกเป็นรายองค์ ตรัส (รวม) ว่า เหล่านี้และเหล่าอื่นดังนี้. คำที่
เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถาอิสิคิลิสูตรที่ 6

7. มหาจัตตารีสกสูตร



ว่าด้วยมรรคที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ



[252] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธ-
ดำรัสแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
สัมมาสมาธิที่เป็นอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ แก่เธอทั้งหลาย. พวก
เธอจงฟังสัมมาสมาธินั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป. ภิกษุเหล่านั้นทูล
รับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

องค์ประกอบอริยสมาธิ 7



[253] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็สัมมาสมาธิที่เป็นอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือสัมมาทิฏฐิ สัมมา-
สังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ
เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
ประกอบแล้วด้วยองค์ 7 เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิที่เป็นอริยะ อัน
มีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง.
[254] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง 7 นั้น สัมมาทิฏฐิ
ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร? คือ ภิกษุรู้จัก
มิจฉาทิฏฐิว่ามิจฉาทิฏฐิ รู้จักสัมมาทิฏฐิว่าสัมมาทิฏฐิ ความรู้ของเธอ
นั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ.