เมนู

เทวโลก. ดังกล่าวมานั้น ชื่อว่า ความพร้อมเพรียงแห่งการปรากฏ
เพราะสัตว์เหล่านั้นยังไม่พ้นการปรากฏแห่งนิมิตของการเกิดนี้.
ความพร้อมเพรียงแห่งการปรากฏนั้นย่อมเปลี่ยนได้ แต่ความ
พรอ้มเพรียงที่เหลือเปลี่ยนไม่ได้. เพราะเมื่อนรกแม้ปรากฏแล้ว เทวโลกก็ย่อม
ปรากฏได้ เมื่อเทวโลกแม้ปรากฏแล้ว นรกก็ย่อมปรากฏได้. เมื่อมนุษย์โลก
แม้ปรากฏแล้ว กำเนิดเดียรัจฉานก็ย่อมปรากฏได้ และเมื่อกำเนิดเดียรัจฉานแม้
ปรากฏแล้ว มนุษย์โลกก็ย่อมปรากฏได้เหมือนกัน ในข้อที่กล่าวนั้น มีเรื่องดัง
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง

ตัวอย่างนิมิตปรากฏ



ได้ยินว่า ในอเจลวิหาร ใกล้เคียงเชิงเขาโสภณ มีพระธรรมกถึก
รูปหนึ่ง ชื่อพระโสณเถระ โยมผู้ชายของท่านเป็นนายพรานสุนัข (อาศัย
สุนัขล่าเนื้อ) พระเถระห้ามโยม เมื่อไม่อาจจะให้ตั้งอยู่ในศีลสังวรได้ จึงคิดว่า
คนแก่1 อย่าได้ฉิบหายเสียเลย จึงให้โยมบิดาบวชทั้งที่ไม่อยากบวช ในกาลเป็น
คนแก่. เมื่อโยมบิดานอนบนเตียงคนไข้ นรกก็ปรากฏขึ้น. (คือ) สุนัขทั้ง-
หลายตัวใหญ่ๆ มาจากเชิงเขาโสณะ ล้อมท่านไว้ ทำทีเหมือนจะกัด. ท่าน
กลัวต่อมหาภัยจึงกล่าวว่า พ่อโสณะห้ามที พ่อโสณะห้ามที.
พระโสณเถระถามว่า อะไรครับหลวงพ่อ.
ท่านกล่าวว่า ท่านไม่เห็นหรือ แล้วจึงบอกเรื่องราวนั้น.
พระโสณะเถระคิดว่า บิดาของคนเช่นเราจักเกิดในนรกได้อย่างไร
เล่า เราจักช่วยท่าน แล้วจึงให้พวกสามเณรไปนำดอกไม้นานาชนิดมาให้
1. บาลี เป็น วราโก แต่บางแห่งเป็น ชรโก แปลตามคำหลัง

ตกแต่งเครื่องลาดพื้นสำหรับบูชาและอาสนะสำหรับบูชาที่ลานเจดีย์และลานโพธิ์
แล้วเอาเตียงหามหลวงพ่อไปยังลานเจดีย์ ให้นั่งบนเตียงแล้วกล่าวว่า หลวงพ่อ
ขอรับ บูชานี้จัดไว้เพื่อหลวงพ่อ บูชานี้จัดไว้เพื่อหลวงพ่อ ขอให้หลวงพ่อ
กล่าวว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นี้เป็นทุคคตบรรณาการ. ของข้าพระ-
องค์ ดังนี้แล้ว ขอถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทำจิตให้เสื่อมใส.
มหาเถระนั้นเห็นเครื่องบูชาแล้วจึงทำอย่างนั้น ทำจิตให้เลื่อมใสแล้ว ทันใด
นั้นเทวโลกปรากฏขึ้นแก่ท่าน สวนนันทวัน สวนจิตรลดาวัน สวน
มิสสกวัน สวนปารุสกวัน
และวิมานทั้งหลาย และเหล่านางฟ้าฟ้อนรำ
ได้เป็นเหมือนประดิษฐานล้อมท่านไว้.
ท่านกล่าวว่า หลีกไปเถิดโสณะ หลีกไปเถิดโสณะ.
นี่อะไรกันหลวงพ่อ.
หญิงเหล่านี้ คือ โยมผู้หญิงของคุณ กำลังมา.
พระเถระคิดว่า สวรรค์ปรากฏแก่หลวงพ่อแล้ว.
พึงทราบว่า ความพร้อมเพรียงแห่งการปรากฏขึ้นย่อมเปลี่ยน
ไปได้อย่างนี้
ในความพร้อมเพรียงเหล่านี้ ในที่นี้ ท่านกล่าวคำเป็นต้น
ว่า "ความพร้อมเพรียงแห่งกายทุจริต" ดังนี้ ด้วยอำนาจแห่งอายูหนสมังคี
เจตนาสมังคี และกัมมสมังคี.
บทว่า เอวํ วุตฺเต อายสฺมา อานนฺโท ความว่า เมื่อพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสสูตรนี้อย่างนี้แล้ว พระเถระคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
ประมวลสูตรทั้งหมดมาตั้งแต่ต้น กระทำให้งดงามอย่างนี้แล้ว มิได้ทรงตั้งชื่อ
ของพระสูตรที่ทรงแสดงไว้ เอาเถิด เราจักขอให้ทรงตั้งชื่อของพระสูตรนี้ ดังนี้
จึงได้กราบทูลคำนั้นกับพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ในบทเป็นต้นว่า ตสฺมาติห ตฺวํ มีการประกอบความหมาย ดังต่อ
ไปนี้.
ดูก่อน อานนท์ เพราะเหตุที่เราตถาคตจำแนกธาตุไว้มากในธรรม
บรรยายนี้อย่างนี้ว่า ดูก่อน อานนท์ ธาตุเหล่านี้ 18 ประการแล ดูก่อน
อานนท์ ธาตุเหล่านี้ 6 ประการ ดังนี้ เพราะเหตุนั้นแล เธอจงทรงจำ
ธรรมบรรยายนี้ว่า พหุธาตุกสูตร ก็ได้. ก็เพราะเหตุที่ในธรรมบรรยายนี้
เราตถาคตจำแนกปริวัฏ (การเวียนรอบ) 4 ประการ เนื่องด้วยธาตุ อายตนะ
ปฏิจจสมุปบาท และฐานาฐานะ เพราะฉะนั้น เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนั้น
ว่า จตุปริวัฏฏสูตร ก็ได้ แลเพราะเหตุที่ข้อความมีธาตุเป็นต้นเหล่านี้
ย่อมปรากฏแก่ผู้ดูธรรมบรรยายนี้ เหมือนเงาหน้าปรากฏแก่ผู้ส่องกระจกเพราะ
ฉะนั้น เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนั้นว่า ธรรมาทาสสูตร ก็ได้ อนึ่ง
เพราะเหตุที่พระโยคีเหยียบย่ำเสนาคือกิเลส เรียนเอาวิปัสสนาตามที่กล่าวไว้ใน
สูตรนี้ แล้วย่ำยีกิเลสทั้งหลายถือเอาชัยชนะคือพระอรหัตให้แก่ตนได้ เหมือน
ทหารทั้งหลายผู้จะปราบเสนาฝ่ายตรงข้าม ลั่นกลองศึกวิ่งเข้าใส่กองทัพฝ่ายอื่น
เข้าประจัญบาน คว้าเอาชัยด้วยตัวเอง ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น เธอจงทรงจำ
ธรรมบรรยายนั้นว่า ชื่ออมตทุนทุภีสูตร ก็ได้. และเพราะเหตุที่ ทหาร
ในสงครามถืออาวุธ 5 ประการ กำจัดกองทัพฝ่ายอื่นได้ชัยชนะ ฉันใด แม้
พระโยคีทั้งหลายก็ฉันนั้น ถืออาวุธคือวิปัสสนาดังกล่าวไว้ในสูตรนี้ ถือเอาชัย
คือพระอรหัตไว้ได้ เพราะเหตุนั้น เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนั้นไว้ว่า ชื่อ
อนุตตรสังคามวิชัยสูตร ก็ได้แล.
จบ อรรถกถาพหุธาตุกสูตรที่ 5

6. อิสิคิลิสูตร



ว่าด้วยเหตุที่เรียกชื่อภูเขาอิสิคิลิ



[247] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลิ กรุง
ราชคฤห์ สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธดำรัสแล้ว.
[248] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บรรดาเราทั้งหลายนี่ พวกเธอแลเห็นภูเขาเวภาระนั่นหรือไม่ ?
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภูเขาเวภาระนั่นแล มีชื่อเป็นอย่างหนึ่งมี
บัญญัติเป็นอีกอย่างหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอแลเห็นภูเขาปัณฑวะ
นั่นหรือไม่ ?
ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภูเขาปัณฑวะนั่นแล ก็มีชื่อเป็นอย่าง
หนึ่ง มีบัญญัติเป็นอย่างหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอแลเห็นภูเขาเว-
ปุลละ
นั่นหรือไม่ ?
ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภูเขาเวปุลละนั่นแล ก็มีชื่อเป็นอย่าง
หนึ่ง มีบัญญัติเป็นอีกอย่างหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอแลเห็นภูเขา
คิชฌกูฏ
นั่นหรือไม ?
ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภูเขคิชฌกูฏนั่นแล ก็มีชื่อเป็นอย่าง
หนึ่ง มีบัญญัติเป็นอีกอย่างหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอแลเห็นภูเขา
อิสิคิลิ
นี้หรือไม่ ?
ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.