เมนู

แต่เมื่อใด ภิกษุ 4 รูป หรือเกินกว่า จับสลากอย่างนั้นแล้ว แยกทำกรรม
หรืออุเทส เมื่อนั้น สงฆ์ย่อมชื่อว่าแตกกัน. ข้อนี้ที่ว่าบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย
ทิฏฐิอย่างนี้ พึงทำลายสงฆ์ ดังนี้ ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. อนันตริยกรรม 5
มีการฆ่ามารดาเป็นต้น ย่อมเป็นอันแสดงแล้วด้วยเหตุ มีประมาณเท่านี้.

วินิจฉัยอนันตริยกรรม 5



เพื่อจะอธิบายอนันตริยกรรมที่ปุถุชนทำ แต่พระอริยสาวกไม่ทำให้
แจ่มแจ้ง

พึงทราบวินิจฉัยโดยกรรม โดยทวาร


โดยการตั้งอยู่ชั่วกัป โดยวิบาก และโดยสาธารณะ เป็นต้น____________


วินิจฉัยโดยกรรม


ใน 5 อย่างนั้น

พึงทราบวินิจฉัยโดย กรรม ก่อน. ก็ในเรื่อง
กรรมนี้ เมื่อบุคคลเป็นมนุษย์ปลงชีวิตมารดาหรือบิดาผู้เป็นมนุษย์ซึ่งไม่เปลี่ยน
เพศ กรรมเป็นอนันตริยกรรม. บุคคลนั้นคิดว่า เราจักห้ามผลของกรรมนั้น
จึงสร้างสถูปทองประมาณเท่ามหาเจดีย์ ให้เต็มจักรวาลทั้งสิ้นก็ดี ถวาย
ทานแก่พระสงฆ์ผู้นั่งเต็มจักรวาลทั้งสิ้นก็ดี เที่ยวไปไม่ปล่อยชายสังฆาฏิของ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าก็ดี เมื่อแตกกาย (ทำลายขันธ์) ย่อมเข้าถึงนรกเท่า
นั้น. ส่วนผู้ใด ตนเองเป็นมนุษย์ ปลงชีวิตมารดาบิดาผู้เป็นสัตว์เดรัจฉาน
หรือตนเองเป็นเดรัจฉาน ปลงชีวิตมารดาบิดาผู้เป็นมนุษย์ หรือเป็นเดียรัจฉาน
เหมือนกัน ปลงชีวิตมารดาบิดาผู้เป็นเดียรัจฉาน กรรมของผู้นั้น ยังไม่เป็น
อนันตริยกรรม แต่เป็นกรรมหนัก ตั้งอยู่ใกล้ชิดอนันตริยกรรม. แต่ปัญหา
นี้ท่านกล่าวเนื่องด้วยสัตว์ผู้มีกำเนิดเป็นมนุษย์.
ในปัญหานั้นควรกล่าว เอฬกจตุกกะ สังคามจตุกกะ และ
โจรจตุกกะ อธิบายว่า มนุษย์ฆ่ามารดาบิดาที่เป็นมนุษย์ซึ่งอยู่ในที่ที่แพะอยู่

แม้ด้วยความมุ่งหมายว่า เราจะฆ่าแพะ ย่อมต้องอนันตริยกรรม. แต่ฆ่า
แพะด้วยความมุ่งหมายว่าเป็นแพะ หรือด้วยความมุ่งหมายว่าเป็นมารดาบิดา
ย่อมไม่ต้องอนันตริยกรรม. ฆ่ามารดาบิดาด้วยความมุ่งหมายว่า เป็นมารดา
บิดา ย่อมต้องอนันตริยกรรมแน่. ใน 2 จตุกกะแม้ที่เหลือก็มีนัยดังกล่าวนี้
นั่นแหละ. พึงทราบจตุกกะเหล่านี้แม้ในพระอรหันต์เหมือนในมารดาบิดา.
ฆ่าพระอรหันต์ ที่เป็นมนุษย์เท่านั้น ต้องอนันตริยกรรม. ที่เป็น
ยักษ์ (เทวดา) ไม่ต้อง (อนันตริยกรรม). แต่กรรมเป็นกรรมหนัก เช่น
อนันตริยกรรมเหมือนกัน. ก็สำหรับพระอรหันต์ที่เป็นมนุษย์ เมื่อประหาร
ด้วยศัสตรา หรือแม้ใส่ยาพิษ ในเวลายังเป็นปุถุชน ถ้าท่านบรรลุพระอรหัต
แล้วตายด้วยการกระทำอันนั้น เป็นอรหันตฆาตแน่ ๆ. ส่วนทานที่ถวายใน
เวลาท่านเป็นปุถุชน ซึ่งท่านฉันแล้วบรรลุพระอรหัต ทานนั้นเป็นอันให้แก่
ปุถุชนนั่นแหละ. ไม่มีอนันตริยกรรม แก่คนผู้ฆ่าพระอริยบุคคลทั้งหลายที่
นอกเหนือจากพระอรหันต์ แต่กรรมเป็นกรรมหนัก เช่นเดียวกับอนันตริย-
กรรมนั้นแล.
พึงทราบวินิจฉัยใน โลหิตุปปาทกรรม (กรรมคือการทำพระโลหิต
ให้ห้อ) ต่อไป ชื่อว่าการทำให้หนังขาดด้วยความพยายามของคนอื่น แล้ว
ทำให้เลือดออก ไม่มีแก่พระตถาคต เพราะพระองค์มีพระวรกายไม่แตก แต่
พระโลหิตคั่งอยู่ในที่เดียวกันในภายในพระสรีระ. แม้สะเก็ดหินที่แตกกระเด็น
ไปจากศิลาที่พระเทวทัตกลิ้งลงไป กระทบปลายพระบาทของพระตถาคต
พระบาทได้มีพระโลหิตห้ออยู่ข้างในทีเดียว ประหนึ่งถูกขวานทุบ. เมื่อพระ-
เทวทัตทำเช่นนั้น จึงจัดเป็นอนันตริยกรรม. ส่วนหมอชีวกเอามีดตัดหนัง
พระบาท ตามที่พระตถาคตทรงเห็นชอบ นำเลือดเสียออกจากที่นั้น ทำให้
ทรงพระสำราญ เมื่อทำอย่างนั้น เป็นการกระทำที่เป็นบุญทีเดียว.

ถามว่า ต่อมา เมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วชนเหล่าใด
ทำลายเจดีย์ ทำลายต้นโพธิ์ ประทุษร้ายพระบรมธาตุ กรรมอะไรจะเกิดแก่
ชนเหล่านั้น ?
ตอบว่า (การทำเช่นนั้น) เป็นกรรมหนัก เสมอด้วยอนันตริยกรรม.
แต่การตัดกิ่งไม้โพธิ์ที่ขึ้นเบียดพระสถูปที่บรรจุพระธาตุ หรือพระปฏิมา ควร
ทำ แม้ถ้าพวกนกจับที่กิ่งโพธิ์นั้นถ่ายอุจจาระรดพระเจดีย์ ก็ควรตัดเหมือน
กัน. ก็เจดีย์ที่บรรจุพระสรีรธาตุสำคัญกว่าบริโภคเจดีย์ (เจดีย์ที่บรรจุเครื่อง
ใช้สอยของพระพุทธเจ้า). แม้รากโพธิ์ที่งอกออกไปทำลายพื้นที่ ที่ทั้งเจดีย์
จะตัดทิ้งก็ควร ส่วนกิ่งโพธิ์กิ่งใดขึ้นเบียดเรือนโพธิ์ จะตัดกิ่งโพธิ์นั้นเพื่อ
รักษาเรือน (โพธิ์) ไม่ควร. ด้วยว่า เรือนมีไว้เพื่อต้นโพธิ์ ไม่ใช่ต้นโพธิ์มี
ไว้เพื่อประโยชน์แก่เรือน แม้ในเรือนอาสนะก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ในเรือน
อาสนะใด เขาบรรจุพระบรมธาตุไว้ เพื่อจะรักษาเรือนอาสนะนั้น จะตัดกิ่ง
โพธิ์เสียก็ได้. เพื่อการบำรุงต้นโพธิ์จะตัดกิ่งที่ค้อมลง หรือที่ (เนื้อ) เสีย
ออกไปก็ควรเหมือนกัน. แม้บุญก็ได้ เหมือนในการปฏิบัติพระสรีระของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พึงทราบวินิจฉัยในการทำ สังฆเภท ต่อไป. ความแตกกัน และ
อนันตริยกรรม ย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้เมื่อสงฆ์ผู้อยู่ในสีมา ไม่ประชุมกัน พา
บริษัทแยกไป ทำการชักชวน การสวดประกาศ และการให้จับสลากผู้ทำ
กรรม หรือสวดอุทเทส. แต่เมื่อภิกษุทำกรรมด้วยคิดว่า ควร เพราะสำคัญว่า
เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน เป็นความแตกกันเท่านั้น ไม่เป็นอนันตริยกรรม.
เพราะบริษัทหย่อนกว่า 9 รูป ก็เหมือนกัน (เป็นความแตกกัน แต่ไม่เป็น
อนันตริยกรรม) โดยกำหนดอย่างต่ำที่สุด ในคน 9 คน คนใดทำลายสงฆ์ได้

อนันตริยกรรม ย่อมมีแก่คนนั้น. สำหรับพวกอธรรมวาทีผู้คล้อยตาม ย่อม
มีโทษมาก ผู้เป็นธรรมวาทีไม่มีโทษ.
ในการทำลายหมู่ของภิกษุทั้ง 9 รูปนั้น (สงฆ์ 9 รูป) นั้น (ปรากฏ)
พระสูตรเป็นหลักฐานดังนี้ ว่า ดูก่อนอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ 4 รูป อีกฝ่าย
หนึ่งมี 8 รูป รูปที่ 9 สวดประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุ
ศาสน์ พวกท่านจงถือเอาสิ่งนี้ จงชอบใจสิ่งนี้ ดูก่อนอุบาลี ความร้าวราน
แห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ย่อมมีอย่างนี้แล. ดูก่อนอุบาลี ความร้าวราน
แห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ย่อมมีแก่ภิกษุจำนวน 9 รูปหรือเกินกว่า 9 รูป
ได้ดังนี้.
ก็บรรดาอนันตริยกรรมทั้ง 5 ประการเหล่านั้น สังฆเภทเป็นวจีกรรม
ที่เหลือเป็นกายกรรม พึงทราบวินิจฉัยโดยกรรม ด้วยประการดังนี้แล.

วินิจฉัยโดยทวาร



บทว่า ทฺวารโต ความว่า ก็กรรมเหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ ย่อมตั้ง
ขึ้นทางกายทวารบ้าง วจีทวารบ้าง ก็ในเรื่องนี้ กรรม 4 ประการ เบื้องต้น
ถึงจะตั้งขึ้นทางวจีทวารด้วยอาณัตติกประโยค (การสั่งบังคับ) ก็ให้เกิดผลทาง
กายทวารได้เหมือนกัน สังฆเภทแม้จะตั้งขึ้นทางกายทวารของภิกษุ ผู้ทำการ
ทำลายด้วยใช้หัวแม่มือ ให้เกิดผลทางวจีทวารได้เหมือนกัน ในเรื่องที่ว่าด้วย
สังฆเภทนี้พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยทวาร ด้วยประการดังนี้.

วินิจฉัยโดยตั้งอยู่ชั่วกัป



บทว่า กปฺปฏฺฐิติยโต ความว่า ก็ในอธิการนี้ สังฆเภทเท่านั้นที่ตั้ง
อยู่ชั่วกัป. ด้วยว่าบุคคลทำสังฆเภทในคราวกัปเสื่อมหรือตอนกลางของกัป ใน
เมื่อกัปพินาศไป ย่อมพ้น (จากกรรมได้) ก็แม้ถ้าว่า พรุ่งนี้กัปเสื่อมพินาศ