เมนู

ธาตุเหล่านั้น เมื่อกำหนดเอาจักขุวิญญาณธาตุ ก็เป็นอันทรงกำหนดเอาธาตุทั้ง
สองเหมือนกันคือ จักขุธาตุ อันเป็นที่ตั้งของจักขุวิญญาณธาตุนั้น 1 รูปธาตุ
ที่เป็นอารมณ์ 1 แม้ในธาตุทั้งปวงก็นัยนี้นั่นแล. แต่เมื่อกำหนดมโนวิญญาณ
ธาตุ ธาตุทั้งสองคือมโนธาตุโดยเป็นธาตุที่มาก่อนมโนวิญญาณธาตุนั้น 1
ธรรมธาตุ โดยเป็นอารมณ์ 1 ก็เป็นอันทรงกำหนดเอาแล้วเหมือนกัน ด้วย
เหตุนี้บรรดาธาตุ 18 อย่างเหล่านั้น ธาตุ 10 อย่างครึ่ง จึงเป็นรูปปริคคหะ
(คือการกำหนดรูป) เพราะเหตุนั้น ธาตุกรรมฐานแม้นี้ย่อมเป็นอันพระองค์
ตรัสให้ถึงที่สุด เป็นการย้ำท้ายสำหรับภิกษุรูปหนึ่ง โดยนัยก่อนเหมือนกัน.

อธิบายสุขธาตุ



พึงทราบวินิจฉัย ในบทว่า สุขธาตุ เป็นต้นต่อไป ชื่อว่าสุขธาตุ
เพราะสุขนั้นด้วย ชื่อว่า เป็นธาตุด้วย เพราะอรรถว่า ไม่ใช่สัตว์และเป็น
ของสูญ. ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ในธาตุ 6 อย่างนี้ ธาตุ 4
ธาตุแรก ท่านถือเอาเนื่องด้วยเป็นสิ่งขัดกัน แค่ 2 ธาตุหลังท่านถือเอาเนื่อง
ด้วยคล้ายกัน. ธาตุ คืออุเบกขาคล้ายกันกับธาตุคืออวิชชา แม้เพราะเป็นภาวะ
ที่ไม่ชัดแจ้ง. อนึ่งในธาตุ 6 นี้ เมื่อทรงกำหนดเอาสุขธาตุ และทุกขธาตุ ก็
เป็นอันทรงกำหนดเอาวิญญาณธาตุด้วย. เมื่อทรงกำหนดเอาธาตุที่เหลือ ก็
เป็นอันทรงกำหนดเอามโนวิญญาณธาตุด้วย. ธาตุ 6 อย่างแม้เหล่านี้ (คือ
สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา อวิชชา) ก็พึง (แจกออกไป) ให้
เต็ม (รูปแบบ) โดยธาตุ 18 อย่างข้างต้นนั่นแล. เมื่อจะทำให้เต็ม (รูปแบบ)
ต้องทำให้เต็มจำนวนโดยนำออกจากอุเบกขาธาตุดังกล่าวมานี้ในบรรดาธาตุ 18
อย่างเหล่านี้ ธาตุ. 10 อย่างครึ่งเป็นการกำหนดรูปแล. แม้กรรมฐานนี้ย่อม
เป็นอันตรัสให้ถึงที่สุด เป็นการย้ำท้าย แก่ภิกษุรูปหนึ่ง โดยนัยก่อนนั่นแล.

อธิบายกามธาตุ



พึงทราบเนื้อความแห่งกามธาตุเป็นต้น โดยนัยที่ตรัสไว้ในกามวิตก
เป็นต้น ในเทวธาวิตักกสูตร. แม้ในพระอภิธรรม กามธาตุเป็นต้น เหล่านั้น
ท่านได้ให้พิสดารไว้แล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ธาตุเหล่านั้น กามธาตุเป็นไฉน ?
ได้แก่ ความตรึก ความวิตก อันประกอบด้วยกามดังนี้. ธาตุ 6 แม้เหล่านั้น
(คือกาม เนกขัมมะ พยาบาท อัพยาบาท วิหิงสา อวิหิงสา) ก็พึงทำให้
เต็มจำนวนด้วย ธาตุ 18 อย่างข้างต้นนั่นแหละ. เมื่อจะทำให้เต็มจำนวน
ควรทำให้เต็มโดยนำออกจากกามธาตุ. ดังที่กล่าวมานั้น ธาตุ 10 อย่างครึ่ง
ในธาตุ 18 อย่าง จึงเป็นรูปปริคคหะแล. แม้กรรมฐานนี้ก็เป็นอันพระองค์
ตรัสให้ถึงที่สุด เป็นการย้ำท้ายสำหรับภิกษุรูปหนึ่ง โดยนัยก่อนนั้นแหละ.

ขันธ์จัดเป็นธาตุ



ในบรรดากามธาตุเป็นต้น ขันธ์อันเป็นกามาวจร 5 ชื่อว่ากามธาตุ
ขันธ์อันเป็นรูปาวจร 5 ชื่อว่า รูปธาตุ ขันธ์อันเป็นอรูปาวจร 4 ชื่อว่า อรูป-
ธาตุ. ก็ความพิสดารของธาตุเหล่านี้ มีมาในพระอภิธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า
บรรดาธาตุเหล่านั้น กามธาตุเป็นไฉน ? เบื้องล่างทำอเวจีนรกให้เป็นที่สุด.
ธาตุ 3 แม้เหล่านี้ ก็ควรทำให้เต็มจำนวนด้วยธาตุ 18 ข้างต้นนั่นแหละ. เมื่อ
จะทำให้เต็มจำนวนควรทำให้เต็มจำนวนโดยนำออกจากกามธาตุ. ดังที่กล่าวมา
นั้น ธาตุ 10 ครึ่งในบรรดาธาตุ 18 อย่างเหล่านั้นจึงเป็นรูปปริคคหะแล. แม้
กรรมฐานนี้ก็เป็นอันพระองค์ตรัสให้ถึงที่สุด เป็นการย้ำท้าย สำหรับภิกษุรูป
หนึ่ง โดยนัยก่อนนั่นแหละ.

สังขตะ - อสังขตะ



บทว่า สงฺขตา แปลว่า อันปัจจัยทั้งหลายมาร่วมกันทำ. คำนี้เป็น
ชื่อของขันธ์ 5. ที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ชื่อว่า อสังขตะ. คำนี้เป็นชื่อของพระ-