เมนู

อรรถกถาพหุธาตุกสูตร



พหุธาตุกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
ในพระสูตรนั้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ภัย อุปัทวะ อุปมรรค



ในบทว่า ภยานิ เป็นต้น มีอธิบายว่า ความสะดุ้งแห่งจิต ชื่อว่า
ภัย. อาการแห่งจิตที่ไม่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ชื่อว่า อุปัทวะ อาการที่ติดขัด
คืออาการที่ขัดข้องในอารมณ์นั้น ๆ ชื่อว่า อุปสรรค.
พึงทราบความต่างของอาการมีความกลัว (ภัย) เป็นต้น เหล่านั้น
อย่างนี้:- พวกโจรที่อาศัยอยู่ในที่อันไม่สม่ำเสมอมีภูเขาเป็นต้น ส่งข่าวแก่
ชาวชนบทว่า ในวันโน้น พวกเราจะเข้าปล้นบ้านของพวกท่าน. จำเดิมแต่
ได้ฟังพฤติการณ์นั้นแล้ว พวกชาวชนบทย่อมถึงความกลัว ความสะดุ้ง มีชื่อ
ว่า ความสะดุ้งแห่งจิต.
พวกชาวชนบทพากันคิดว่า ที่นี้พวกโจรนั้นโกรธจักนำเอาแม้ความ
พินาศมาสู่พวกเรา จึงถือเอาของสำคัญๆ เข้าป่าไปพร้อมกับสัตว์ 2 เท้า และ
สัตว์ 4 เท้า นอนบนพื้นดินในที่นั้น ๆ ถูกเหลือบยุงเป็นต้นกัด ก็เข้าไป
ระหว่างพุ่มไม้ เหยียบย่ำตอและหนาม ภาวะที่ชาวชนบทเหล่านั้นเที่ยวซัด
ส่ายไปอย่างนี้ ชื่อว่า อาการที่จิตไม่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง.
แต่นั้น เมื่อพวกโจรไม่มาตามวันที่พูด ก็พากันคิดว่า ข่าวนั้นคงจะ
เป็นข่าวลอย ๆ พวกเรา (ควร) จักเข้าบ้าน พร้อมทั้งสิ่งของ ก็พากันเข้า
ไปยังบ้าน. ที่นั้น พวกโจรรู้ว่าชาวบ้านกลับเข้าบ้าน จึงล้อมบ้านไว้ จุดไฟ

ที่ประตูฆ่าพวกมนุษย์ปล้นเอาทรัพย์สมบัติทุกสิ่งไป. บรรดามนุษย์เหล่านั้น
พวกที่เหลือจากถูกฆ่า พากันดับไฟแล้ว นั่งจับเจ่าเศร้าโศกถึงสมบัติที่พินาศ
ไปแล้วในที่นั้น ๆ ที่ร่มเงายุ้งข้าว และฝาเรือนเป็นต้น. อาการที่ติดขัด
ดังกล่าวนี้ ชื่อว่าอาการขัดข้อง.

ภัยเกิดจากคนพาล



บทว่า นฬาคารา แปลว่า เรือนที่มุงด้วยไม้อ้อ. ก็ในเรือนที่กั้น
ด้วยไม้อ้อนี้ แต่สัมภาระที่เหลือในเรือนนี้ ล้วนแล้วด้วยไม่ (เนื้อแข็ง) แม้
ในเรือนที่มุงด้วยหญ้าก็นัยนี้นั่นแหละ.
บทว่า พาลโต อุปฺปชฺชนฺติ ความว่า อาศัยคนพาลเท่านั้นจึง
เกิดขึ้น
เพราะคนพาลเป็นคนไม่ฉลาด ปรารถนาความเป็นพระราชา ความ
เป็นอุปราช หรือตำแหน่งใหญ่อย่างอื่น พาเอานักเลงโคที่เป็นเด็กขาดพ่อแม่
อบรมเช่นกับในจำนวนเล็กน้อย กล่าวว่า พวกท่านจงมา เราจักทำพวกท่าน
ให้เป็นใหญ่ ดังนี้แล้ว ไปอาศัยชัฏเขาเป็นต้นอยู่ ปล้นบ้านตามชายแดน
ประกาศให้รู้ว่าเป็นพวกดุร้าย (ทามริกะ) แล้วปล้นนิคมบ้าง ชนบทบ้าง
ตามลำดับ.
พวกมนุษย์พากันทั้งบ้าน ต้องการที่ปลอดภัย ย่อมหลีกไป. ภิกษุ
ก็ดี ภิกษุณีก็ดี ที่อาศัยพวกมนุษย์เหล่านั้นอยู่ ก็ละทิ้งที่เป็นที่อยู่ของตน ๆ
หลีกไป. ในที่ที่ผ่านไป ภิกษาก็ดี เสนาสนะก็ดี ย่อมเป็นของหายาก. ภัย
ย่อมจะมีมาแก่บริษัททั้ง 4 ด้วยประการอย่างนี้. แม้ในบรรพชิตทั้งหลาย
ภิกษุพาล 2 รูป ก่อการวิวาทกันเริ่มฟ้องกันขึ้น. ดังนั้น การทะเลาะกันย่อม