เมนู

ธาตุ 3



พ. ดูก่อนอานนท์ มี ธาตุนี้มี 3 อย่าง ได้แก่ ธาตุคือกาม 1
ธาตุคือรูป 1 ธาตุคืออรูป 1
ดูก่อนอานนท์ ธาตุ 3 อย่างเหล่านี้แล
แม้ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.
[242] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะยังมีปริยายแม้อื่นหรือไม่
ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.

ธาตุ 2



พ. ดูก่อนอานนท์ มี ธาตุนี้มี 2 อย่าง คือ สังขตธาตุ 1 อสัง-
ขตธาตุ
ดูกรอานนท์ ธาตุ 2 อย่างเหล่านี้แล แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่
เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.
[243] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุเท่าไรจึงควรเรียกว่า
ภิกษุผู้ฉลาดในอายตนะ.

อายตนะภายใน - ภายนอก อย่างละ 6



พ. ดูก่อนอานนท์ อายตนะทั้งภายในและภายนอกนี้ มีอย่างละ 6
แล คือ จักษุและรูป 1 โสตะและเสียง 1 ฆานะและกลิ่น 1 ชิวหา
และรส 1 กายและโผฏฐัพพะ 1 มโนและธรรมารมณ์ 1
ดูก่อน
อานนท์ อายตนะทั้งภายในและภายนอกอย่างละ 6 เหล่านี้แล แม้ด้วยเหตุ
ที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในอายตนะ.
[244] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุเท่าไรจึงควรเรียกว่า
ภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท.

ปฏิจจสมุปบาท



พ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เมื่อ
เหตุนี้มี ผลนี้จึงมี เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้จึงเกิดขึ้น เนื้อเหตุนี้ไม่มี ผล

นี้จึงไม่มี เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะ
ตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพ
เป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส อุปายาส อย่างนี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ แต่
เพราะอวิชชานั่นแลดับด้วยวิราคะไม่มีส่วนเหลือ จึงดับสังขารได้ เพราะสังขาร
ดับ จึงดับวิญญาณได้ เพราะวิญญาณดับ จึงดับนามรูปได้ เพราะนามรูปดับ จึง
ดับสฬายตนะได้ เพราะสฬายตนะดับ จึงดับผัสสะได้ เพราะผัสสะดับ จึงดับ
เวทนาได้ เพราะเวทนาดับ จึงดับตัณหาได้ เพราะตัณหาดับ จึงดับอุปาทานได้
เพราะอุปาทานดับ จึงดับภพได้ เพราะภพดับ จึงดับชาติได้ เพราะชาคิดับจึง
ดับชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสได้ ความดับ
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีมาอย่างนี้ ดูก่อนอานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล จึง
ควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในปฎิจจสมุปบาท.
[245] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุเท่าไร จึงควรเรียกว่า
ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ ?
ภ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ฐานะและอฐานะอย่างละ 2



(1) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือบุคคลผู้ถึงพร้อม
ด้วยทิฏฐิ พึงเข้าใจสังขารอะไร ๆ โดยความเป็นของเพียง นั่นไม่ใช่ฐานะที่มี