เมนู

ที่ตรงกันข้าม (อกุศลกรรม) ให้ผลเป็นทุกข์. บทว่า ปริปกฺกเวทนียํ
ความว่า ให้ผลในอัตภาพที่สุกงอมแล้ว คือสำเร็จแล้ว. บทว่า ปริปกฺกเวทนียํ
นี้ เป็นชื่อของกรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน. บทว่า อปริปกฺกเวทนียํ ได้แก่
ให้ผลในอัตภาพที่ยังไม่สุกงอม. บทว่า อปริปกฺกเวทนียํ นี้เป็นชื่อของกรรม
ที่ให้ผลในภายหน้า. แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ ใจความที่แปลกกันในเรื่องนี้ มีดัง
ต่อไปนี้
กรรมใดที่ทำไว้ในตอนปฐมวัย ให้วิบากในปฐมวัย มัชฌิมวัยหรือ
ปัจฉิมวัย ที่กระทำไว้ในตอนมัชฌิมวัย ให้วิบากในมัชฌิมวัยหรือปัจฉิมวัย ที่
ทำไว้ในตอนปัจฉิมวัย ให้วิบากในปัจฉิมวัยนั้นเลย กรรมนั้นชื่อว่าให้ผลใน
ปัจจุบัน ส่วนกรรมใดที่ให้วิบากภายใน 7 วัน กรรมนั้นชื่อว่า ให้ผลเสร็จ
แล้ว กรรมที่ให้ผลเสร็จแล้วนั้น เป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล. ในเรื่องกรรมที่
ให้ผลภายใน 7 วัน นั้นมีเรื่องราวดังต่อไปนี้ :-

ทิฏฐิธรรมเวทนียกรรม


ได้ยินว่าคนเข็ญใจ ชื่อ ปุณณะ อาศัยท่านสุมนเศรษฐีอยู่ในเมือง
ราชคฤห์. วันหนึ่งเขาโฆษณาการเล่นนักขัตฤกษ์ในเมือง ท่านเศรษฐีจึง
กล่าวกะนายปุณณะนั้นว่า ถ้าวันนี้เจ้าจะไถนา จะได้โค 2 ตัวกับไถ (ใหม่)
1 คัน เจ้าจะเล่นนักขัตฤกษ์ หรือจะไถนา. นักขัตฤกษ์จะมีประโยชน์อะไร
แก่ผม ผมจักไถนา. ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงเลือกเอาโคตัวที่ต้องการเอาไปไถนา.
เขาไปไถนา ในวันนั้น พระสารีบุตรเถระออกจากนิโรธสมาบัติรำพึงว่า
เราจะสงเคราะห์ใคร เห็นนายปุณณะ จึงถือบาตรจีวรไปยังที่ที่เขาไถนา.