เมนู

หนาม หยาบคาย เผ็ดร้อน ขัคต่อคนอื่น ยั่วโทสะ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ
อนึ่ง เป็นผู้มักพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดไม่ถูกกาละ พูดไม่จริง พูดไร้ประโยชน์
พูดไม่ถูกธรรม ไม่ถูกวินัย พูดจาไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิงไม่มีขอบเขต
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลไม่ควร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคล
เสพ วจีสมาจาร แบบนี้ อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้ง
หลายกลับเสื่อมลง.

วจีสมาจารที่เป็นเหตุให้อกุศลเสื่อมแต่กุศลเจริญ



[205] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ วจีสมาจาร แบบ
ไหน อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางตนในโลกนี้ เลิกละมุสาวาทแล้ว
เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท ไปที่สภาก็ตาม ไปที่บริษัทก็ตาม ไปท่ามกลาง
หมู่ญาติก็ตาม ไปท่ามกลางขุนนางก็ตาม ไปท่ามกลางราชตระกูลก็ตาม ถูก
นำไปซักถามเป็นพยานว่า พ่อมหาจำเริญ เชิญเถิด พ่อรู้อย่างไร ก็จงพูด
อย่างนั้น. เขาเมื่อไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ หรือเมื่อรู้ก็บอกว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็บอก
ว่าไม่เห็น หรือเมื่อเห็นก็บอกว่าเห็น ไม่เป็นผู้พูดเท็จทั้งที่รู้ ๆ เพราะเหตุ
ตนบ้าง เพราะเหตุคนอื่นบ้าง เพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ดังที่กล่าวมา
นี้ อนึ่ง เลิกละปิสุณาวาจาแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปิสุณาวาจา คือได้
ยินจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่บอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือได้ยินฝ่ายโน้นแล้ว
ไม่บอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ทั้งนี้เมื่อเขาแตกกันแล้วก็ช่วยประสาน
สามัคคี หรือเมื่อเขาพร้อมเพรียงกันอยู่แล้ว ก็ช่วยส่งเสริม พอใจ รักใคร่
ชื่นชม ความสามัคคี กล่าวถ้อยคำที่ทำให้เขาสมัครสมานกัน อนึ่ง เลิกละ
ผรุสวาจาแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากผรุสวาจา พูดจาถ้อยคำที่ไม่มีโทษ เสนาะ

โสต น่ารัก จับใจ เป็นภาษาชาวเมือง เป็นที่รักใคร่พอใจ ของตนจำนวน
มาก และเลิกละสัมผัปปลาป (พูดเพ้อเจ้อ) เป็นผู้เว้นขาดจากสัมผัปปลาป
คือพูดถูกกาละ พูดคำเป็นจริง พูดคำมีประโยชน์ พูดถูกธรรม พูดถูกวินัย
พูดจามีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์ ตามกาลที่
ควร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารแบบนี้ อกุศลธรรม
ทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น ข้อที่ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าววจีสมาจารไว้ 2
อย่าง คือที่ควรเสพอย่าง 1 ที่ไม่ควรเสพอย่าง 1 และทั้งสองอย่างนั้น ต่าง
ก็เป็น วจีสมาจาร ด้วยกัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยข้อความนี้
จึงได้ตรัสไว้อย่างนี้.

เรื่องที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ข้อที่ 3



[206] ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว มโนสมาจาร (ความประพฤติทางใจ) ไว้ 2
อย่าง คือที่ควรเสพอย่าง 1 ที่ไม่ควรเสพอย่าง 1 และทั้งสองอย่างนั้น แต่
ละอย่างเป็น มโนสมาจาร ด้วยกัน พระองค์ทรงอาศัยอะไร จึงได้ตรัส
ไว้.

มโนสมาจารที่ไม่ควรเสพ (ประพฤติ)



ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจาร แบบไหน อกุศล-
ธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง มโนสมาจาร
แบบนี้ ไม่ควรเสพ.