เมนู

อรรถกถาสัปปุริสธรรมสูตร1



สัปปุริสธรรมสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
อย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สปฺปุริสธมฺมํ ได้แก่ ธรรมของสดับ
บุรุษทั้งหลาย
บทว่า อสปฺปุริสธมฺมํ ได้แก่ ธรรมของคนเลวทั้งหลาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงวางแม่บทไว้อย่างนี้แล้ว เมื่อทรงแสดง
ธรรมที่ควรละก่อน จึงตรัสคำมีอาทิว่า กตโม จ ภิกฺขเว อสปฺปุริสธมฺโม
ดังนี้ ไว้อีก เหมือนบุรุษผู้ฉลาดในทางบอกทางที่ควรละก่อนว่า จงละทางซ้าย
ถือเอาทางขวา ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุจฺจากุลา ความว่า จากตระกูลกษัตริย์
หรือจากตระกูลพราหมณ์ด้วยว่า ตระกูลทั้งสองนี้เท่านั้น เรียกว่าตระกูลสูง.
บทว่า โส ตตฺถ ปุชฺโช ความว่า ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูป
นั้นเป็นผู้ควรบูชา.
บทว่า อนฺตรํ กริตฺวา ได้แก่ กระทำไว้ภายใน.
บทว่า มหากุลา ได้แก่ จากตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์
หรือตระกูลแพศย์. เพราะตระกูลทั้งสามนี้เท่านั้น เรียกว่า ตระกูลใหญ่
บทว่า มหาโภคกุลา คือ จากตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์มาก
มาย.
บทว่า อุฬารโภคกุลา คือ จากตระกูลที่พรั่งพร้อมด้วยโภคทรัพย์
อันโอฬาร คือประณีต.
ในบททั้งสองนี้ย่อมได้ ตระกูลแม้ทั้ง 4 ตระกูล. เพราะผู้เกิดใน
ตระกูลใดตระกูลหนึ่งย่อมเป็นผู้มีโภคทรัพย์มากบ้าง มีโภคทรัพย์โอฬารบ้าง
ด้วยผลบุญทั้งหลาย.
1. บาลีเป็น สัปปุริสสูตร

บทว่า ยสสฺสี แปลว่า พรั่งพร้อมด้วยบริวาร.
บทว่า อปฺปญฺญาตา ได้แก่ ย่อมไม่ปรากฏในท่ามกลางสงฆ์เป็น
ต้น เหมือนลูกศรที่ยิงไปในเวลากลางคืน.
บทว่า อปฺเปสกฺขา แปลว่า มีบริวารน้อย.
บทว่า อารญฺญิโก คือ สมาทานธุดงค์มีอยู่ในป่าเป็นวัตร. แม้ใน
ธุดงค์ที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้นั่นแล. ก็ในบาลีพระสูตรนี้ธุดงค์มา 9 ข้อเท่านั้น.
แต่โดยพิสดารธุดงค์นี้มี 13 ข้อ . ในบรรดาธุดงค์ 13 นั้น ธุดงค์ที่ควรจะพูด
ถึงทั้งหมดนั้นได้พูดไว้แล้วในธุดงคนิทเทสในวิสุทธิมรรคโดยอาการทั้งปวง.
ในบทว่า อตมฺมยตา ตัณหา เรียกว่า ตมฺมยตา อธิบายว่า ความ
เป็นผู้ไม่มีตัณหา.
บทว่า อตมฺมยตํ เจว อนฺตรํ กริตฺวา ความว่า ทำความเป็น
ผู้ไม่มีตัณหานั่นแลให้เป็นเหตุ หรือกระทำไว้ในภายใน อธิบายว่า ให้เกิด
ขึ้นในจิต.
พึงทราบวินิจฉัยในนิโรธวาระต่อไป ก็เพราะเหตุที่พระอนาคามีและ
พระขีณาสพทั้งหลายย่อมเข้า(นิโรธ) สมาบัตินั้นได้ ส่วนปุถุชนไม่มีสมาบัตินั้น
เพราะฉะนั้นวาระที่ว่าด้วยอสัตบุรุษจึงละไว้ (ไม่พูดถึง).
บทว่า น กิญฺจิ มญฺญติ ได้แก่ ย่อมไม่สำคัญบุคคลไร ๆ ด้วย
ความสำคัญ 3 ประการ.
บทว่า น กุหิญฺจิ มญฺญติ ได้แก่ ย่อมไม่สำคัญในโอกาสไร ๆ.
บทว่า น เกนจิ มญฺญติ ได้แก่ ย่อมไม่สำคัญบุคคลนั้นแม้ด้วย
วัตถุไร ๆ. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถาสัปปุริสธรรมสูตรที่ 3

4. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร



ว่าด้วยธรรมที่ควรเสพและไม่ควรเสพ



[198] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อา-
รามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระ
พุทธดำรัสแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสคำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย เราตถาคตจักแสดงธรรมบรรยาย ที่ควรเสพและไม่ควรเสพ เธอ
ทั้งหลายจงพึง จงใส่ใจให้ดี เราตถาคตจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าพร้อมแล้ว พระเจ้าข้า.

ความประพฤติที่ควรเสพและไม่ควรเสพ 7 อย่าง



[199] พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสคำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-
หลาย
เราตถาคตกล่าว กายสมาจาร (ความประพฤติทางกาย) ไว้ 2 อย่าง
คือ ที่ควรเสพอย่าง 1 ที่ไม่ควรเสพอย่าง 1 แล้วทั้งสองอย่างนั้น แต่ละ
อย่างเป็น กายสมาจาร ด้วยกัน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว วจีสมาจาร (ความประพฤติ
ทางวาจา) ไว้ 2 อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง 1 ที่ไม่ควรเสพอย่าง 1 และ
ทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างก็เป็น วจีสมาจาร ด้วยกัน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว มโนสมาจาร (ความประ-