เมนู

สัปปุริสธรรม


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า แม้
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า เป็นปฏิปทาไม่มี
ตัณหา เพราะว่าคนทั้งหลายสำคัญรู้กันด้วยเหตุใด ๆ เหตุนั้น ๆ เป็นอย่างอื่น
จากความสำคัญนั้น. เธอทำความที่ปฏิปทาไม่มีตัณหานั้น ให้เป็นไปในภายใน
(เป็นส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเลย เพราะเนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัตินั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.
[197] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) สัตบุรุษ
ล่วงเลย เนวสัญญานาสัญญายตนฌานไปโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่. อาสวะทั้งหลายของเธอเสื่อมสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วย
ปัญญา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้แลจะไม่สำคัญอะไร ๆ จะไม่สำคัญ
ในที่ไหน ๆ (และ) จะไม่สำคัญด้วยเหตุอะไร ๆ เลย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่าง
มีใจยินดี ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.
จบ สัปปุริสสูตรที่ 3

อรรถกถาสัปปุริสธรรมสูตร1



สัปปุริสธรรมสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
อย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สปฺปุริสธมฺมํ ได้แก่ ธรรมของสดับ
บุรุษทั้งหลาย
บทว่า อสปฺปุริสธมฺมํ ได้แก่ ธรรมของคนเลวทั้งหลาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงวางแม่บทไว้อย่างนี้แล้ว เมื่อทรงแสดง
ธรรมที่ควรละก่อน จึงตรัสคำมีอาทิว่า กตโม จ ภิกฺขเว อสปฺปุริสธมฺโม
ดังนี้ ไว้อีก เหมือนบุรุษผู้ฉลาดในทางบอกทางที่ควรละก่อนว่า จงละทางซ้าย
ถือเอาทางขวา ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุจฺจากุลา ความว่า จากตระกูลกษัตริย์
หรือจากตระกูลพราหมณ์ด้วยว่า ตระกูลทั้งสองนี้เท่านั้น เรียกว่าตระกูลสูง.
บทว่า โส ตตฺถ ปุชฺโช ความว่า ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูป
นั้นเป็นผู้ควรบูชา.
บทว่า อนฺตรํ กริตฺวา ได้แก่ กระทำไว้ภายใน.
บทว่า มหากุลา ได้แก่ จากตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์
หรือตระกูลแพศย์. เพราะตระกูลทั้งสามนี้เท่านั้น เรียกว่า ตระกูลใหญ่
บทว่า มหาโภคกุลา คือ จากตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์มาก
มาย.
บทว่า อุฬารโภคกุลา คือ จากตระกูลที่พรั่งพร้อมด้วยโภคทรัพย์
อันโอฬาร คือประณีต.
ในบททั้งสองนี้ย่อมได้ ตระกูลแม้ทั้ง 4 ตระกูล. เพราะผู้เกิดใน
ตระกูลใดตระกูลหนึ่งย่อมเป็นผู้มีโภคทรัพย์มากบ้าง มีโภคทรัพย์โอฬารบ้าง
ด้วยผลบุญทั้งหลาย.
1. บาลีเป็น สัปปุริสสูตร