เมนู

ปปัญจสูทนี



อรรถกถามัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



อรรถกถาเทวทหวรรค



อรรถกถาเทวทหสูตรที่ 1



เทวทหสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-
พึงทราบวินิจฉัยในเทวทหสูตรนั้นดังต่อไปนี้. พระราชาทั้งหลายเขา
เรียกว่าเทวะ ในบทว่า เทวทหํ นาม นี้. ก็ในนิคมนั้น พวกเจ้าศากยะ มี
สระโบกขรณีอันเป็นมงคลน่าเลื่อมใส พรั่งพร้อมด้วยการอารักขา. สระนั้นเขา
เรียกว่าเทวทหะ เพราะเป็นสระของเจ้าทั้งหลาย. อาศัยสระเทวทหะนั้น แม้
นิคมนั้นก็เรียกว่าเทวทหะเหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยนิคมนั้น
ประทับอยู่ในลุมพินีวัน. บทว่า ทั้งหมดนั้นเพราะเหตุที่ทำไว้ในปางก่อน
ความว่า เพราะกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นปัจจัย. ด้วยคำนี้ทรงแสดงว่า
พวกนิครนถ์ก็ปฏิเสธการเสวยกรรม และการเสวยการกระทำ ย่อมรับการเสวย
วิบากอย่างเดียวเท่านั้น. ด้วยคำว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์มีวาทะ
อย่างนี้
ดังนี้ ทรงกำหนดแสดงพระดำรัสที่ตรัสไม่ได้กำหนดไว้ แต่ก่อน
บทว่า เราทั้งหลายได้มีแล้ว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า
พวกนิครนถ์เหล่านั้นไม่รู้เลย ทรงประสงค์จะตรัสบอกคำสอนอันเป็นโทษ
ล้วน ๆ จึงตรัสคำนี้. เพราะชนเหล่าใดไม่รู้ว่าเราทั้งหลายได้มีมาแล้ว ชน
เหล่านั้นจะรู้ว่าทำกรรมไว้แล้ว หรือไม่ได้ทำไว้แล้วได้อย่างไร. แม้ในคำถาม
ที่สูง ๆ ขึ้นไป ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า เอวํ สนฺเต ในจูฬทุกขักขันธสูตร ความว่า เมื่อคำของ
นิครนถ์ผู้ใหญ่ เป็นสัจจริงมีอยู่. แต่ในที่นี้ความว่า เมื่อพวกท่านไม่รู้ฐานะ
มีประมาณเท่านี้มีอยู่. บทว่า น กลฺลํ แปลว่า ไม่ควร.
บทว่า คาฬฺหูปเลปเนน แปลว่า ที่อาบยาพิษไว้มาก คือ อาบ
ด้วยยาพิษบ่อย ๆ แต่ไม่ใช่เหมือนทาด้วยแป้งเปียก. บทว่า เอสนิยา ได้
แก่ ชิ้นเครื่องมือทำแผลของศัลยแพทย์ จนชิ้นที่สุดหัว. บทว่า เอเสยฺย
ความว่า พึงพิจารณาว่า (แผล) ลึกหรือตื้น. บทว่า อคทงฺคารํ ได้แก่
ผงสมอ หรือมะขามป้อมเผาไฟ. บทว่า โอทเหยฺย แปลว่า พึงใส่เข้าไป.
คำว่า อโรโค เป็นต้น ตรัสไว้แล้วในมาคัณฑิยสูตรนั่นแล. ในคำว่า เอว-
เมว โข
นี้ เปรียบเทียบข้ออุปมา ดังนี้ เหมือนอย่างว่า เวลาที่นิครนถ์
เหล่านี้รู้ว่า เราได้มีแล้วในปางก่อนหรือหาไม่ เราได้ทำบาปกรรมไว้หรือไม่
ได้ทำ หรือเราทำบาปเห็นปานนี้ไว้แล้ว ก็เหมือนเวลาที่เวทนาในเวลาที่ลูกศร
แทง ปรากฏแก่คนที่ลูกศรแทงฉะนั้น เวลาที่รู้ว่า ทุกข์มีประมาณเท่านี้ของ
เรา ไม่มีแล้ว เมื่อทุกข์ประมาณเท่านี้ไม่มีแล้ว ทุกข์ทั้งหมดก็จักชื่อว่าตั้งอยู่
ในความบริสุทธิ์ ก็เหมือนเวลาที่เวทนาปรากฏในกาล 4 ครั้ง มีกาลชำแหละ
ปากแผลเป็นต้น ฉะนั้น. เวลาที่จะรู้การละอกุศลธรรม ทำกุศลธรรมให้เกิด
ขึ้นในปัจจุบัน ก็เหมือนเวลาที่รู้ความผาสุขในเวลาต่อมาภายหลัง ฉะนั้น.
ในเรื่องนี้ ทรงแสดงข้อความ 3 ข้อ ด้วยอุปมาข้อเดียว (และ) แสดงข้อ
ความเรื่องเดียวด้วยอุปมา 4 ข้อ ด้วยประการฉะนี้.
ก็พวกนิครนถ์เหล่านั้น ไม่รู้ความ แม้แต่ข้อเดียว จากข้อความ
ที่กล่าวนั้น. เชื่อเรื่องนั้นทั้งหมดด้วยเพียงคำของนิครนถ์ผู้ใหญ่อย่างเดียว
เหมือนคนไม่ถูกลูกศรเลย เพราะลูกศรพลาดไป ก็สำคัญว่า เราถูกศรแทง

โดยเพียงคำของข้าศึกที่พูดว่า ท่านถูกลูกศรแทงแล้ว ประสบทุกข์อยู่ฉะนั้น
ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข่มด้วยการเปรียบเทียบด้วยลูกศรอย่างนี้ ก็ไม่อาจ
โต้ตอบ ใส่วาทะเข้าในสมองของนิครนถ์ผู้ใหญ่กล่าวคำว่า ท่านนิครนถ์ ดัง
นี้เป็นต้น เหมือนสุนัขที่อ่อนแอลุกขึ้นไล่เนื้อให้วิ่งไปตรงหน้าเจ้าของ แล้ว
ตนเองก็หมดแรงไล่ฉะนั้น
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงข่มนิครนถ์ศิษย์เหล่านั้น
พร้อมทั้งอาจารย์ จึงตรัสว่า ธรรม 5 ประการนี้แล ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า ตตรายสฺมนตานํ ได้แก่ ธรรม 5 ประการ เหล่านั้น ท่าน
ผู้มีอายุทั้งหลาย. ด้วยคำว่า กา อตีตํเส สตฺถริ สทฺธา พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสถามว่า จะเชื่อถืออะไรในศาสดาผู้มีวาทะอันเป็นส่วนอดีต. คือ
ความเชื่อถือในนิครนถ์ผู้ใหญ่ของพวกท่าน ผู้ซึ่งเชื่อวาทะอันเป็นส่วนอดีต
นั้น เป็นไฉน. มีประโยชน์ ไม่มีประโยชน์ มีผล ไม่มีผล อย่างไร แม้
ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สหธมฺมิกํ แปลว่า มีเหตุ คือ
มีการณ์. บทว่า วาทปฺปฏิหารํ ได้แก่ วาทะที่สะท้อนมา (โต้ตอบ) ด้วย
พระดำรัสเพียงเท่านี้ ทรงแสดงวาทะที่ตัดความเชื่อของนิครนถ์เหล่านั้นว่า
พวกท่านจงเอาความเชื่อออกไปให้หมด ความเชื่อนี้อ่อน.
บทว่า อวิชฺชา อญฺญาณา ได้แก่ เพราะอวิชชา เพราะไม่รู้.
บทว่า สมฺโมหา แปลว่า เพราะงมงาย. บทว่า วิปจฺเจถ ได้แก่เชื่อโดย
วิปริต. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ถือเอาคลาดเคลื่อน.
บทว่า ทิฏฺฐธฺมมเวทนียํ ความว่า ให้วิบากในอัตภาพนี้ทีเดียว.
บทว่า อุปกฺกเมน แปลว่า ด้วยความพยายาม. บทว่า ปธาเนน แปลว่า
ด้วยความเพียร. บทว่า สมฺปรายเวทนียํ ความว่า ให้วิบากในอัตภาพที่ 2
หรือที่ 3. บทว่า สุขเวทนียํ ความว่า กุศลกรรมที่ให้วิบากอันเป็นอิฏฐารมณ์.

ที่ตรงกันข้าม (อกุศลกรรม) ให้ผลเป็นทุกข์. บทว่า ปริปกฺกเวทนียํ
ความว่า ให้ผลในอัตภาพที่สุกงอมแล้ว คือสำเร็จแล้ว. บทว่า ปริปกฺกเวทนียํ
นี้ เป็นชื่อของกรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน. บทว่า อปริปกฺกเวทนียํ ได้แก่
ให้ผลในอัตภาพที่ยังไม่สุกงอม. บทว่า อปริปกฺกเวทนียํ นี้เป็นชื่อของกรรม
ที่ให้ผลในภายหน้า. แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ ใจความที่แปลกกันในเรื่องนี้ มีดัง
ต่อไปนี้
กรรมใดที่ทำไว้ในตอนปฐมวัย ให้วิบากในปฐมวัย มัชฌิมวัยหรือ
ปัจฉิมวัย ที่กระทำไว้ในตอนมัชฌิมวัย ให้วิบากในมัชฌิมวัยหรือปัจฉิมวัย ที่
ทำไว้ในตอนปัจฉิมวัย ให้วิบากในปัจฉิมวัยนั้นเลย กรรมนั้นชื่อว่าให้ผลใน
ปัจจุบัน ส่วนกรรมใดที่ให้วิบากภายใน 7 วัน กรรมนั้นชื่อว่า ให้ผลเสร็จ
แล้ว กรรมที่ให้ผลเสร็จแล้วนั้น เป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล. ในเรื่องกรรมที่
ให้ผลภายใน 7 วัน นั้นมีเรื่องราวดังต่อไปนี้ :-

ทิฏฐิธรรมเวทนียกรรม


ได้ยินว่าคนเข็ญใจ ชื่อ ปุณณะ อาศัยท่านสุมนเศรษฐีอยู่ในเมือง
ราชคฤห์. วันหนึ่งเขาโฆษณาการเล่นนักขัตฤกษ์ในเมือง ท่านเศรษฐีจึง
กล่าวกะนายปุณณะนั้นว่า ถ้าวันนี้เจ้าจะไถนา จะได้โค 2 ตัวกับไถ (ใหม่)
1 คัน เจ้าจะเล่นนักขัตฤกษ์ หรือจะไถนา. นักขัตฤกษ์จะมีประโยชน์อะไร
แก่ผม ผมจักไถนา. ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงเลือกเอาโคตัวที่ต้องการเอาไปไถนา.
เขาไปไถนา ในวันนั้น พระสารีบุตรเถระออกจากนิโรธสมาบัติรำพึงว่า
เราจะสงเคราะห์ใคร เห็นนายปุณณะ จึงถือบาตรจีวรไปยังที่ที่เขาไถนา.