เมนู

เป็นวัตรแล แต่ภิกษุอื่นๆ เหล่านี้ ไม่เป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร. เธอยกตน
ข่มผู้อื่น เพราะเหตุที่เป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตรนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล
คือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ธรรมคือ
โลภะ ธรรมคือโทสะ ธรรมคือโมหะ ไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไป เพราะเหตุที่
เป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร ถึงแม้ภิกษุนั้นจะไม่เป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร แต่
เธอก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ พระพฤติตามธรรม
เป็นผู้ที่คนทั้งหลาย ควรบูชา ควรสรรเสริญในที่นั้น ๆ. เธอทำชอบปฏิบัติให้
เป็นไปในภายใน (เป็นส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะเหตุ
ที่เป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตรนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปปุริสธรรม


[190] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) อสัตบุรุษ
เป็นผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร. . . เป็นผู้อยู่กลางแจ้งเป็นวัตร. . . เป็นผู้ถือเนสัชชิก-
ธุดงค์ (การไม่นอน) เป็นวัตร. . .เป็นผู้ถือยถาสันถทิกธุดงค์ (การเที่ยว
บิณฑบาตตามลำดับ) เป็นวัตร. . . เป็นผู้ถือเอกาสนิกังคธุดงค์ (การฉัน
เวลาเดียว) เป็นวัตร. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ถือเอกาสนิกังค-
ธุดงค์เป็นวัตรแล แก่ภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ ไม่ถือเอกาสนิกังคธุดงค์เป็นวัตร.
เธอยกตนข่มผู้อื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ธรรมคือ
โลภะ ธรรมคือโทสะ หรือธรรมคือโมหะ ไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไป เพราะ

เหตุที่เป็นผู้ถือเอกาสนิกังคธุดงค์เป็นวัตร ถึงแม้ภิกษุนั้นจะไม่เป็นผู้ถือเอกา-
สนิกังคธุดงค์เป็นวัตร แต่เธอก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ
ประพฤติสมควรแก่ธรรม เป็นผู้ที่คนทั้งหลาย ควรบูชา ควรสรรเสริญ ใน
ที่นั้นๆ. เธอทำข้อปฏิบัติให้เป็นไปในภายใน (เป็นส่วนตัว) เท่านั้น ไม่
ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเลย เพราะเหตุที่เป็นผู้ถือเอกาสนิกังคธุดงค์เป็นวัตรนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปปุริสธรรม


[191] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีกคือ อสัตบุรุษ
สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าปฐมฌาน มีวิตก มี
วิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็น
ผู้ได้สมาบัติคือ ปฐมฌานแล แต่ภิกษุอื่น ๆ เหล่านั้น ไม่ได้สมาบัติคือ
ปฐมฌาน. เธอยกตนข่มผู้อื่น เพราะสมาบัติคือปฐมฌานนั้น ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า แม้
ปฐมฌานสมาบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า เป็นปฏิปทาที่ไม่มีตัณหา1
เพราะคนทั้งหลายสำคัญตนด้วยเหตุใด ๆ เหตุนั้น ๆ ย่อมเป็นอื่นจากที่สำคัญ
นั้น. เธอทำความที่ปฏิปทาไม่มีตัณหานั้น ให้เป็นไปในภายใน (เป็นการ
ส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะสมาบัติคือปฐมฌานนั้น
นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.
1. บาลีในที่ทุกแห่งในสูตรนี้เป็น อคมฺมยตา ฉบับพม่า ยุโรป เป็น อตมฺมยตา
แปลตามคำหลัง.