เมนู

บทว่า นนฺทิ ได้แก่ ฉันทะนั่นแหละ จัดเป็นนันทิ ด้วยอำนาจ
ความเพลิดเพลินยินดี.
บทว่า ตัณหา ความว่า ฉันทะนั่นแหละจัดเป็นตัณหา ด้วยอำนาจ
ความทะยานอยาก. แม้ในทวารทั้งหลายที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ในบทว่า อหงฺการมมงฺการมานานุสยา นี้ อหังการเป็นตัวมานะ
มมังการเป็นตัณหา. ทั้งอหังการ ทั้งมมังการนั้นแหละ เป็นมานานุสัย.

เหตุผลที่ตรัสอาสวักขยญาณ



ถามว่า เหตุไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ตรัส ปุพเพนิวาสญาณ
และทิพพจักขุญาณไว้ แต่กลับมาตรัสคำนี้ว่า อาสวานํ ขยญาณาย.
แก้ว่า เพราะภิกษุทั้งหลาย ไม่ทูลถามธรรมะที่เป็นโลกิยะ ถามแต่
โลกุตรเท่านั้น เพราะฉะนั้นเมื่อจะตรัสบอกปัญหาที่ ทูลถามเท่านั้น จึงตรัส
อย่างนั้น. นี้ชื่อเอกวิสัชชิตสูตรนั้น มีชื่อ (อีกอย่างหนึ่ง) ว่า ฉัพพิโสธน-
สูตรบ้าง.

ฉัพพิโสธนิยธรรม



ในพระสูตรนี้ (ธรรม) 6 หมวดนี้ คือ โวหาร ขันธ์ 5 ธาตุ
6 อายตนะภายในและอายตนะภายนอก 6 กายที่มีวิญญาณของตน 1 กายที่
มีวิญญาณของคนอื่น 1 เป็นธรรมบริสุทธิ์หมดจดแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียก
ว่า ฉัพพิโสธนิยะ
ส่วนพระปรสมุททวาสีเถระกล่าวหมวด (ธรรม) 6 หมวด โดยรวม
กายที่มีวิญญาณของตน กับของคนอื่นเข้าเป็นหมวดเดียวกันกับอาหาร 4.