เมนู

บทว่า อนสฺสาสิกํ ได้แก่ เว้นจากความโปร่งใจ.
บทว่า อุปายูปาทานา นี้เป็นชื่อของตัณหาและทิฏฐิ.
จริงอยู่ตัณหาและทิฏฐิทั้งหลาย ชือว่า อุบาย เพราะเข้าถึงธรรมอัน
เป็นไปในภูมิทั้ง 3 ชื่อว่า อุปาทาน เพราะยึดถือ. ชื่อว่า อภินิเวสา
(การยึดมั่น) เพราะยึดมั่นรูปนั้นด้วยตัณหาและทิฏฐิเหล่านั้น. เรียกว่าอนุสัย
เพราะนอนแนบสนิทอยู่กับรูปนั้น ด้วยตัณหาและทิฏฐิเหล่านั้นนั่นแล.
ในบทว่า ขยา วิราคา เป็นต้น ความว่า เพราะความสิ้นไป
เพราะความคลายกำหนัด. บทแม้ทั้งหมดเหล่านี้ เป็นไวพจน์ของกันและกัน
ทั้งนั้น.

ความหมายของธาตุ



ธาตุที่ทำให้ตั้งอยู่ ชื่อว่า ปฐวีธาตุ. ธาตุที่ประสานให้ติดอยู่ ชื่อว่า
อาโปธาตุ. ธาตุที่ทำให้อบอุ่น ชื่อว่า เตโชธาตุ. ธาตุที่ทำให้เคลื่อนไหว
ชื่อว่า วาโยธาตุ. ธาตุที่ถูกต้องไม่ได้ ชื่อว่าอากาศธาตุ. ธาตุที่รู้แจ้ง ชื่อว่า
วิญญาณธาตุ.
บทว่า อนตฺตโต อุปคจฺฉึ ความว่า เราย่อมไม่เข้าถึง (คือยึด
ครอง) โดยส่วนแห่งอัตตาว่า นี้เป็นอัตตา.
อนึ่ง ย่อมไม่เข้าถึงธาตุทั้งหลายที่เหลือซึ่งอาศัยปฐวีธาตุ และอุปา-
ทายรูป. แม้อรูปขันธ์ทั้งหลายก็อาศัยปฐวีธาตุโดยปริยายหนึ่งเหมือนกัน
เพราะวัตถุรูปทั้งหลายที่อรูปขันธ์ทั้งหลายนั้นอาศัย ก็อาศัยอยู่กับปฐวีธาตุ
เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวว่าย่อมไม่ยึดครองธาตุที่เหลืออันอาศัยปฐวีธาตุ ย่อม
กล่าวว่า เราย่อมไม่ยึดครองแม้รูปธรรมและอรูปธรรมที่เหลือทั้งหลาย ว่า
เป็นอัตตา. ก็ในบทที่ว่า อาศัยอากาศธาตุ ภูตรูปและอุปาทายรูปแม้ทั้งหมด

ชื่อว่า อาศัยอากาศธาตุ โดยเป็นอวินิโภครูป. อรูปขันธ์ทั้งหลายที่มีรูปวัตถุ
เป็นที่อาศัย ก็ชื่อว่า อาศัยอากาศธาตุเหมือนกัน. เมื่อเป็นอย่างนั้น แม้ใน
ที่นี้ รูปและอรูปย่อมเป็นอันถือเอาแล้วทีเดียว. ส่วนในบทที่ว่า อาศัย
วิญญาณธาตุ ขันธ์ 3 ที่เกิดร่วมกัน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นรูป
อาศัยวิญญาณธาตุดังกล่าวมานั้น รูปและอรูปย่อมเป็นอันถือเอาแล้วทีเดียว.

รูป


ในบทว่า รูเป จกฺขุวิญฺญาเณ จกฺขุวิญฺญาเณน วิญฺญาตพฺเพสุ
ธมฺเมสุ
นี้มีอธิบายว่า เมื่อกล่าวว่า รูปใดมาสู่คลองจักขุทวารแล้วดับไปใน
อดีต รูปใดที่มาสู่คลองจักขุทวาร แล้วจักดับไปในอนาคต และรูปใดมาแล้ว
ดับไปในปัจจุบันรูปทั้งหมดนั้น ชื่อว่ารูป. ส่วนรูปใดไม่มาสู่คลองจักขุทวาร
ดับแล้วแม้ในอดีต ที่ยังไม่มาจักดับแม้ในอนาคต และที่ยังไม่มาก็ดับแล้ว แม้
ในปัจจุบัน รูปนั้นสงเคราะห์เข้าในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักขุวิญญาณ
ดังนี้ พระจุลลาภยเถระผู้ชำนาญพระไตรปิฎกได้กล่าวว่า ในฐานะนี้ เธอ
แยกรูปเป็น 2 แล้ว เธอจะทำอย่างไร ในวาระว่าด้วยฉันทะที่จะมาถึงข้างหน้า
ข้อนี้ไม่ถูกนะ. เพราะเหตุนั้น รูปที่มาสู่คลองจักขุทวารแล้วก็ดี. ที่ยิ่งไม่มา
ถึงก็ดี ในกาลทั้ง 3 ทั้งหมด จัดเป็นรูปทั้งนั้น ส่วนขันธ์ 3 ที่สัมปยุต
ด้วยจักขุวิญญาณ พึงทราบว่า เป็นธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักขุวิญญาณ.
ก็ในที่นี้มีความหมายดังนี้ว่า "ในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งพร้อมกับ
จักขุวิญญาณ"
บทว่า ฉนฺโท ได้แก่ ความพอใจด้วยตัณหา.
บทว่า ราโค ได้แก่ ฉันทะนั่นแหละ จัดเป็นราคะด้วยอำนาจ
ความกำหนัด.