เมนู

อรรถกถาฉวิโสธนสูตร



ฉัพพิโสธนสูตร1 มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
อย่างนี้.

พยากรณ์อรหัตผล

ในฉัพพิโสธนสูตรนั้น พึงทราบวินิจฉัยดัง
ต่อไปนี้.
พระอรหัตย่อมเป็นอันพยากรณ์แล้วทีเดียวด้วยบทเดียวบ้าง สองบท
บ้าง ในบททั้งหลาย มีอาทิว่า ขีณา ชาติ (ชาติสิ้นแล้ว) ดังนี้. แต่ใน
สูตรนี้ท่านนำเอาการพยากรณ์พระอรหัตผลมา (กล่าวครบ) ทั้ง 4 บท.
ในบทที่ว่า ทิฏฺเฐ ทิฏฺฐวาทิตา (ความเป็นผู้มีวาทะว่าเห็นใน
อารมณ์ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีวาทะว่าเห็นในอารมณ์ที่เห็นแล้ว. ด้วยเจตนาใด
เจตนานั้นเป็นเหตุกล่าวว่า เราเห็นในอารมณ์ที่เห็นแล้วนั้น แม้ในบทที่เหลือ
ก็นัยนี้นี่แหละ.
บทว่า อยมนุธมฺโม แปลว่า สภาพนี้.
บทว่า อภินนฺทิตพฺพํ คือ อย่าพึงยินดีอย่างเดียว ก็เมื่อภิกษุนี้
ปรินิพพานแล้ว ควรทำสักการะ (ในฐาน) พระขีณาสพ แม้ทุกประการ.
บทว่า อุตฺตรึ ปญฺโห ท่านแสดงว่า ถ้าท่านทั้งหลายยังไม่พอใจ
การพยากรณ์ (พระอรหัต) ของภิกษุนี้ ควรถามปัญหานี้ แม้ให้สูงขึ้น.
ในวาระทั้ง 3 แม้ข้างหน้าแต่วาระนี้ไป ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อพลํ แปลว่า ทุรพล.
บทว่า วราคุนํ คือ มีการปราศจากไปเป็นสภาพ.
1. บาลีเป็นฉวิโสธนสูตร

บทว่า อนสฺสาสิกํ ได้แก่ เว้นจากความโปร่งใจ.
บทว่า อุปายูปาทานา นี้เป็นชื่อของตัณหาและทิฏฐิ.
จริงอยู่ตัณหาและทิฏฐิทั้งหลาย ชือว่า อุบาย เพราะเข้าถึงธรรมอัน
เป็นไปในภูมิทั้ง 3 ชื่อว่า อุปาทาน เพราะยึดถือ. ชื่อว่า อภินิเวสา
(การยึดมั่น) เพราะยึดมั่นรูปนั้นด้วยตัณหาและทิฏฐิเหล่านั้น. เรียกว่าอนุสัย
เพราะนอนแนบสนิทอยู่กับรูปนั้น ด้วยตัณหาและทิฏฐิเหล่านั้นนั่นแล.
ในบทว่า ขยา วิราคา เป็นต้น ความว่า เพราะความสิ้นไป
เพราะความคลายกำหนัด. บทแม้ทั้งหมดเหล่านี้ เป็นไวพจน์ของกันและกัน
ทั้งนั้น.

ความหมายของธาตุ



ธาตุที่ทำให้ตั้งอยู่ ชื่อว่า ปฐวีธาตุ. ธาตุที่ประสานให้ติดอยู่ ชื่อว่า
อาโปธาตุ. ธาตุที่ทำให้อบอุ่น ชื่อว่า เตโชธาตุ. ธาตุที่ทำให้เคลื่อนไหว
ชื่อว่า วาโยธาตุ. ธาตุที่ถูกต้องไม่ได้ ชื่อว่าอากาศธาตุ. ธาตุที่รู้แจ้ง ชื่อว่า
วิญญาณธาตุ.
บทว่า อนตฺตโต อุปคจฺฉึ ความว่า เราย่อมไม่เข้าถึง (คือยึด
ครอง) โดยส่วนแห่งอัตตาว่า นี้เป็นอัตตา.
อนึ่ง ย่อมไม่เข้าถึงธาตุทั้งหลายที่เหลือซึ่งอาศัยปฐวีธาตุ และอุปา-
ทายรูป. แม้อรูปขันธ์ทั้งหลายก็อาศัยปฐวีธาตุโดยปริยายหนึ่งเหมือนกัน
เพราะวัตถุรูปทั้งหลายที่อรูปขันธ์ทั้งหลายนั้นอาศัย ก็อาศัยอยู่กับปฐวีธาตุ
เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวว่าย่อมไม่ยึดครองธาตุที่เหลืออันอาศัยปฐวีธาตุ ย่อม
กล่าวว่า เราย่อมไม่ยึดครองแม้รูปธรรมและอรูปธรรมที่เหลือทั้งหลาย ว่า
เป็นอัตตา. ก็ในบทที่ว่า อาศัยอากาศธาตุ ภูตรูปและอุปาทายรูปแม้ทั้งหมด