เมนู

เห็น เป็นพระอรหันตสัมมสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้โดยชอบแล้ว. ก็จิตของท่าน
รู้อย่างไร เห็นอย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่นใน
โวหารทั้ง 4 เหล่านี้.

การพยากรณ์อรหัตผลที่พระพุทธเจ้ารับรอง



[168] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว
โดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้โดยชอบ จึงมี
ธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ยินดี
ไม่ยินร้าย ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิอาศัย ไม่ติดใจ ในสิ่งที่ได้เห็นแล้ว หลุด
พ้นแล้ว พรากออกได้แล้ว มีจิตที่ถูกทำให้ปราศจากเขตแดนแล้วอยู่ ข้าพเจ้า
จะไม่ยินดี ไม่ยินร้าย .... ในสิ่งที่ได้ยินแล้วแล... ข้าพเจ้าจะไม่ยินดี ไม่
ยินร้าย... ในสิ่งที่ได้ทราบแล้วแล... ข้าพเจ้า จะไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่
ถูก ตัณหา และ ทิฏฐิ อาศัย ไม่ติดใจ ในสิ่งที่ได้รู้แล้วแล หลุดพ้นแล้ว
พรากออกได้แล้ว มีจิตที่ถูกทำให้ปราศจากเขตแดนแล้วอยู่ ดูก่อนท่านผู้มี
อายุ จิตของข้าพเจ้า ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้ง
หลาย เพราะไม่ยึดมั่นในโวหารทั้ง 4 เหล่านี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุนั้น เธอทั้งหลายควรชมเชย
ควรอนุโมทนา ว่า สาธุ. ครั้นแล้วก็ควรถามปัญหาสูงขึ้นไปอีกว่า ดูก่อน
ท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ทั้ง 5 พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว 5 ประการ
5 ประการคืออะไร คือ:-

อุปาทานขันธ์ คือ รูป 1
อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา 1
อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา 1
อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร 1
อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ 1
ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ทั้ง 5 เหล่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้โดยชอบแล้ว.
ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ในอุปาทานขันธ์ทั้ง 5 เหล่านี้ .
[169] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหม-
จรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว
โดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ จึงมีธรรม
อันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้แจ้งรูปแล้วแล
ว่าไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก ไม่น่าชื่นใจ จึงทราบชัดว่า จิตของเรา
หลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไป เพราะสำรอก เพราะดับ เพราะสละ เพราะ
สลัดทิ้งซึ่งอุปาทานขันธ์ ที่ยึดมั่นในรูป และอนุสัยคือความตั้งใจ และ
ความยึดมั่นในรูปได้ ข้าพเจ้ารู้แจ้งเวทนาแล้วแลว่า.. ข้าพเจ้ารู้แจ้ง
สัญญาแล้วแลว่า . . . ข้าพเจ้ารู้แจ้งสังขารแล้วแลว่า . . ข้าพเจ้ารู้แจ้งวิญญาณ
แล้วแลว่า ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก ไม่น่าชื่นใจ จึงทราบชัดว่า
จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไป เพราะสำรอก เพราะดับ เพราะสละ
เพราะสลัดทิ้ง ซึ่งอุปาทานขันธ์ ที่ยึดมั่น วิญญาณ และ อนุสัย
คือความตั้งใจ และความยึดมั่นในวิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ จิตของ
ข้าพเจ้า ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่

ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ทั้ง 5 เหล่านี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำที่ภิกษุนั้นกล่าว
แล้ว เธอทั้งหลายควรชื่นชม ควรอนุโมทนาว่า สาธุ ครั้นแล้ว ควรถาม
ปัญหาให้ยิ่งในรูปอีกว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัส ธาตุ ไว้
6 อย่างโดยชอบ ธาตุ 6 อย่าง คืออะไร คือ ปฐวีธาตุ 1. อาโปธาตุ 1.
เตโชธาตุ 1 วาโยธาตุ 1 อากาสธาตุ 1 วิญาณธาตุ 1
ดูก่อนท่าน
ผู้มีอายุ ธาตุ 6 อย่างเหล่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้โดยชอบแล้ว. ก็จิต
ของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะ
ไม่ยึดมั่นในธาตุ 6 เหล่านี้.
[170] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหม-
จรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน
แล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ จึงมีธรรม
อันสมควรพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าเข้าถึง ปฐวีธาตุ
แล โดยความเป็นอนัตตา และไม่ได้เข้าถึงอัตตา อาศัย ปฐวีธาตุ และ
ทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไป เพราะสำรอก เพราะดับ
เพราะสละ เพราะสลัดทิ้ง ซึ่ง อุปาทานขันธ์ ที่ยึดมั่นอาศัย ปฐวีธาตุ
และ อนุสัย คือความตั้งใจ และความยึดมัน (ในปฐวีธาตุ). ข้าพเจ้าเข้าถึง
อาโปธาตุ แล โดยความเป็น อนัตตา.... ข้าพเจ้าเข้าถึง เตโชธาตุ แล
โดยความเป็น อนัตตา.... ข้าพเจ้าเข้าถึง วาโยธาตุ แล โดยความเป็น
อนัตตา.... ข้าพเจ้าเข้าถึง อากาสธาตุ แล โดยความเป็น อนัตตา....
ข้าพเจ้าเข้าถึง วิญญาณธาตุ แล โดยความเป็น อนัตตา ไม่ได้เข้าถึง
อัตตา อาศัย วิญญาณธาตุ และรู้ชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะ

สิ้นไป เพราะสำรอก เพราะดับ เพราะสละ เพราะสลัดทิ้ง ซึ่ง อุปาทานขันธ์
ทั้งหลายที่ยึดมั่น อันอาศัย วิญญาณธาตุ และ อนุสัย คือความตั้งใจ และ
ความยึดมั่นในวิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ ผู้เห็นอยู่
อย่างนี้แล พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ในธาตุ 6 ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย คำที่ภิกษุนั้นกล่าวแล้ว เธอทั้งหลาย ควรชื่นชม ควรอนุโมทนา
ว่า สาธุ ครั้นแล้ว ควรถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ดูก่อนผู้มีอายุ พระผู้
มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงเป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ได้ตรัส อายตนะทั้งภายในภายนอก 6 อย่างเหล่านี้แลไว้ โดย
ชอบ. 6 อย่างคืออะไร ? คือ จักษุและรูป 1 โสตะและเสียง 1 ฆานะ
และกลิ่น 1 ชิวหาและรส 1 กายและโผฏฐัพพะ 1 มโนและธรรม 1

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อายตนะทั้งภายใน และภายนอก 6 อย่างเหล่านี้แล พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัม-
พุทธเจ้า ได้ตรัสไว้โดยชอบแล้ว. ก็จิต ของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่
อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ใน อายตนะ 6
เหล่านี้ ทั้งภายใน และภายนอก.
[171] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหม-
จรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว
โดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ จึงมีธรรม
อันสมควรพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิต
ของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไป เพราะสำรอก เพราะดับ เพราะสละ
เพราะสลัดทิ้งซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะเยอ-
ทะยาน อุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่น และอนุสัย คือ ความตั้งใจและความเชื่อมั่น

ในจักษุ ในรูป ในจักษุวิญญาณ (และ) ในธรรมที่จะพึงทราบได้ด้วยจักษุ-
วิญญาณ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า....ในโสตะในเสียง ในโสต-
วิญญาณ....
ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า.... ในฆานะ ในกลิ่น ใน ฆานวิญญาณ ....
ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า.... ในชิวหา ในรส ในชิวหาวิญญาณ.... ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า....
ในกาย ในโผฏฐัพพะ ในกายวิญญาณ.... ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า จิตของ
ข้าพเจ้าหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไป เพราะสำรอก เพราะคับ เพราะสละ
เพราะสลัดทิ้ง ซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะเยอ-
ทะยาน อุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่น (และ) อนุสัย คือความตั้งใจ และความเชื่อ-
มั่น ในมนะ ในธรรมารมณ์ (และ) ในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้ได้ ด้วยมโน-
วิญญาณ
ดูก่อนท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้า ผู้รู้อยู่ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้แล
จึงหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่นในอายตนะ 6 ทั้งภายใน
และภายนอก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรชื่นชม อนุโมทนา คำที่
ภิกษุนั้นกล่าวแล้วว่า สาธุ. ครั้นแล้ว ก็ควรถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า
เมื่อท่านผู้มีอายุรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงถอน อนุสัย คือ อหังการ และ
มมังการ ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมด ที่เป็นภายนอกออก
ได้ด้วยดี.
[172] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหม-
จรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน
แล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ จึงมี
ธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อก่อนข้าพเจ้า
เป็นผู้ครองเรือน ยังเป็นผู้ไม่รู้ พระตถาคตบ้าง สาวกของพระตถาคตบ้าง
แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าฟังธรรมนั้นแล้ว จึงได้ศรัทธาในพระ-
ตถาคต. ข้าพเจ้านั้น ประกอบด้วยการได้ศรัทธานั้น จึงพิจารณาเห็นดังนี้

ว่า ฆราวาสดับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นช่องว่าง เรายังอยู่
ครองเรือน จะพระพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์
ที่เขาขัดแล้ว นี้ไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวดนุ่ง
ห่มผ้ากาสาวพัสตร์ แล้วออกจากเรือน บวชเป็น อนาคาริก เถิด. ดูก่อน
ท่านผู้มีอายุ สมัยต่อมา ข้าพเจ้านั้นแล จึงละโภคสมบัติ น้อยบ้าง มากบ้าง
ละวงศ์ญาติ เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้ว
ออกจากเรือน บวชเป็น อนาคาริก. ข้าพเจ้านั้นเป็นผู้บวชแล้วอย่างนี้ ถึง
พร้อมด้วย สิกขา และ สาชีพ ของภิกษุทั้งหลาย เพราะละ ปาณาติบาต
จึงเป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศัสตรา มีความละอาย มี
ความเอ็นดูได้เป็นผู้อนุเคราะห์เกื้อกูลภูตและสรรพสัตว์. เพราะละ อทินนา-
ทาน
จึงเป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้ หวังแต่ของที่
เขาให้ มีตนเป็นคนสะอาด ไม่ใช่ขโมยอยู่. เพราะละกรรมอันเป็นข้าศึกแก่
พรหมจรรย์ จึงเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ พระพฤติห่างไกล (และ) เว้น
จากเมถุน อันเป็นธรรมของชาวบ้าน. เพราะละมุสาวาท จึงเป็นผู้เว้น
ขาดจากมุสาวาท เป็นผู้กล่าวคำจริง ดำรงอยู่ในคำสัตย์เป็นหลักฐาน เชื่อถือ
ได้ ไม่พูดลวงโลก. เพราะ ละวาจาส่อเสียด จึงเป็นผู้เว้นขาดจากวาจาส่อ
เสียด ได้ยินจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่ (นำไป) บอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้หรือ
ได้ยินจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่ (นำไป) บอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ทั้งนี้
เมื่อเขาแตกกันแล้ว ก็สมานให้ดีกันหรือเมื่อเขาดีกันอยู่ ก็ส่งเสริมชอบความ
พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนที่พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมในคนที่พร้อมเพรียงกัน
เป็นผู้กล่าววาจาสมานสามัคคีกัน. เพราะละวาจาหยาบ จึงเป็นผู้เว้นขาดจาก
วาจาหยาบ เป็นผู้กล่าววาจาซึ่งไม่มีโทษ เสนาะโสต ชวนให้รักใคร่ จับใจ
เป็นภาษาของคนเมืองที่คนส่วนมากปรารถนาและชอบใจ. เพราะละการเจรจา

เพ้อเจ้อ จึงเป็นผู้เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ กล่าวถูกกาละ กล่าวตาม
เป็นจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย เป็นผู้กล่าววาจามีหลักฐาน มี
ที่อ้าง มีขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์ ตามกาล ข้าพเจ้านั้น ได้เป็นผู้
เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เป็นผุ้ฉันหนเดียว งดฉันในเวลา
ราตรีเว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล เป็นผู้เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง
เล่นดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล เป็นผู้เว้นขาดจากการทัดทรง
และตกแต่ง (แต่งตัว) ด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิว อันเป็น
ฐานะแห่งการแต่งตัว เป็นผู้เว้นขาดจากการนั่งนอน บนที่นั่งที่นอนอันสูง
และใหญ่ เป็นผู้เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เป็นผู้เว้นขาดจากการรับข้าว
เปลือกดิบ เป็นผู้เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เป็นผู้เว้นขาดจากการรับสตรี
และเด็กสาว เป็นผู้เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย เป็นผู้เว้นขาด
จากการรับไก่และสุกร เป็นผู้เว้นขาดจากรับช้าง โค ม้า และลา เป็นผู้เว้น
ขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน เป็นผู้เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการ
รับใช้ เป็นผู้เว้นขาดจากการซื้อและขาย เป็นผู้เว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง
โกงด้วยของปลอม. และโกงด้วยเครื่องตวงวัด เป็นผู้เว้นขาดจากการรับสินบน
การล่อลวง และการตลบตะแลง เป็นผู้เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจอง
จำ การตีชิง การปล้น และการขู่กรรโชก ข้าพเจ้านั้น ได้เป็นผู้สันโดษ
ด้วยจีวร เป็นเครื่องบริหารกาย และบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง จะไป
ยังที่ใด ๆ ก็ย่อมถือเอา (บริขาร) ไปได้หมด เหมือนนกมีแต่ปีกจะบินไปยังที่
ใด ๆ ก็ย่อมมีเฉพาะปีกของตนเท่านั้นเป็นภาระบินไป ฉะนั้น.
[173] ข้าพเจ้านั้น ประกอบด้วย สีลขันธ์ อันเป็นอริยะนี้แล้ว
จึงได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน ข้าพเจ้านั้น เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
ไม่เป็นผู้ถือเอาโดย นิมิต และโดย อนุพยัญชนะ ปฏิบัติเพื่อสำรวม-

จักขุนทรีย์อันมีการเห็นรูปเป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้เมื่อไม่สำรวมอยู่ จะพึงถูกอกุศล
ธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และ โทมนัส ครอบงำได้ รักษา จักขุนทรีย์
ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์แล้ว ได้ยินเสียงด้วยโสตะแล้ว .... ดมกลิ่นด้วย
ฆานะแล้ว....ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว.... ถูกต้องโผฎฐัพพะด้วยกายแล้ว รู้ธรรมา-
รมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอา โดย นิมิต และโดย อนุพยัญชนะ
ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ อันมีการรู้ธรรมารมณ์เป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้เมื่อไม่
สำรวมอยู่ จะพึงถูกอกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และ โทมนัส
ครอบงำได้ รักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์แล้ว.
[174] ข้าพเจ้านั้น ประกอบด้วยอินทรีย์สังวร อันเป็นอริยะนี้
แล้วจึงได้เสวยสุข อันไม่เจือทุกข์ภายใน ได้เป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าว
ไปและถอยกลับ ในเวลาแลดู และเหลียวดู ในเวลางอแขน และเหยียดแขน
ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยวและลิ้ม ในเวลา
ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง.
[175] ข้าพเจ้านั้นประกอบด้วย สีลขันธ์ อันเป็นอริยะนี้ ประกอบ
ด้วย อินทรีย์สังวร อันเป็นอริยะนี้ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอันเป็นอริยะ
นี้แล้วจึงได้พอใจ เสนาสนะอันสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำในภูเขา
ป่าช้า ป่าชัฎ ที่แจ้ง และลอมฟาง.
ข้าพเจ้านั้น กลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันอาหารแล้ว นั่งคู้บัลลังก์
(นั่งขัดสมาธิ) ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า. ข้าพเจ้านั้นละอภิชฌา
ในโลกได้แล้ว มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชื่อว่าได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
อภิชฌา ละความชั่ว คือพยาบาทแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์
เกื้อกูล ในสรรพสัตว์และภูต ชื่อว่าได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความชั่วคือ

พยาบาท ละ ถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจาก ถีนมิทธะ มี อาโลก-
สัญญา
มีสติสัมปชัญญะ อยู่ ชื่อว่าได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก ถีนมิทธะ
ละ อุทธัจจะกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายในอยู่. ชื่อว่า
ได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก อุทธัจจกุกกุจจะ ละ วิจิกิจฉา แล้วเป็นผู้ข้าม
ความสงสัยได้ ไม่มีคำถามแสดงความสงสัย ในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ชื่อว่า
ได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา.
[176] ข้าพเจ้านั้น ครั้นละนิวรณ์ 5 ประการนี้ อันเป็นเครื่องทำ
ใจให้เศร้าหมอง บั่นทอนปัญญาได้แล้ว จึงได้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล
ธรรม ได้เข้าปฐมฌาน มี วิตก มีวิจาร มีปีติสุข เกิดแต่วิเวก ได้เข้า
ทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบ
วิตกและวิจาร ไม่มีวิตก และไม่มีวิจาร มีปีติ และสุข เกิดแต่สมาธิอยู่
ได้เป็นผู้วางเฉย เพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย
ได้เข้าตติยฌาน.... ได้เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละทุกข์
ละสุข และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่.
[177] ข้าพเจ้านั้น เมื่อจิตเป็น สมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่องไม่มีกิเลส
ดุจเนิน ปราศจาก อุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงานดำรงอยู่แล้ว
ถึงความไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว จึงได้น้อมจิต เพื่ออาสวักขยญาณ. ข้าพเจ้า
นั้น ได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์
นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ นี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับ
อาสวะ นี้ปฎิปทาให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อข้าพเจ้านั้น รู้อย่างนี้ เห็น
อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จาก กามาสวะ แม้จาก ภวาสวะ แม้จาก อวิชชา-
สวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณรู้ว่า เราหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้น

แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้มิได้มี. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อข้าพเจ้ารู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างนี้แล้ว
อนุสัย คือ อหังการ และ มมังการ ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิต
ทั้งหมด ในภายนอก เป็นอันข้าพเจ้าถอนขึ้นแล้วด้วยดี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
คำที่ภิกษุนั้นกล่าวแล้ว เธอทั้งหลายควรชื่นชม ควรอนุโมทนาว่า สาธุ.
ครั้นแล้ว พึงกล่าวแก่ภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของ
ข้าพเจ้าทั้งหลาย เป็นโชคของข้าพเจ้าทั้งหลายที่ได้เห็นท่านผู้มีอายุ ผู้เป็น
สพรหมจารีเช่นท่าน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น
ต่างชื่นชม ยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ ฉวิโสธนสูตรที่ 2

อรรถกถาฉวิโสธนสูตร



ฉัพพิโสธนสูตร1 มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
อย่างนี้.

พยากรณ์อรหัตผล

ในฉัพพิโสธนสูตรนั้น พึงทราบวินิจฉัยดัง
ต่อไปนี้.
พระอรหัตย่อมเป็นอันพยากรณ์แล้วทีเดียวด้วยบทเดียวบ้าง สองบท
บ้าง ในบททั้งหลาย มีอาทิว่า ขีณา ชาติ (ชาติสิ้นแล้ว) ดังนี้. แต่ใน
สูตรนี้ท่านนำเอาการพยากรณ์พระอรหัตผลมา (กล่าวครบ) ทั้ง 4 บท.
ในบทที่ว่า ทิฏฺเฐ ทิฏฺฐวาทิตา (ความเป็นผู้มีวาทะว่าเห็นใน
อารมณ์ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีวาทะว่าเห็นในอารมณ์ที่เห็นแล้ว. ด้วยเจตนาใด
เจตนานั้นเป็นเหตุกล่าวว่า เราเห็นในอารมณ์ที่เห็นแล้วนั้น แม้ในบทที่เหลือ
ก็นัยนี้นี่แหละ.
บทว่า อยมนุธมฺโม แปลว่า สภาพนี้.
บทว่า อภินนฺทิตพฺพํ คือ อย่าพึงยินดีอย่างเดียว ก็เมื่อภิกษุนี้
ปรินิพพานแล้ว ควรทำสักการะ (ในฐาน) พระขีณาสพ แม้ทุกประการ.
บทว่า อุตฺตรึ ปญฺโห ท่านแสดงว่า ถ้าท่านทั้งหลายยังไม่พอใจ
การพยากรณ์ (พระอรหัต) ของภิกษุนี้ ควรถามปัญหานี้ แม้ให้สูงขึ้น.
ในวาระทั้ง 3 แม้ข้างหน้าแต่วาระนี้ไป ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อพลํ แปลว่า ทุรพล.
บทว่า วราคุนํ คือ มีการปราศจากไปเป็นสภาพ.
1. บาลีเป็นฉวิโสธนสูตร