เมนู

เป็นจริงดังนี้ว่า วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน
เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือ
ประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่
ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ดูก่อนภิกษุ เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างนี้แล จึงไม่มี
อนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิต
ทั้งหมดในภายนอก.

ว่าด้วยปริวิตกเรื่องผู้รับผลของกรรม



[129] ลำดับนั้นแล มีภิกษุรูปหนึ่ง เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้น
อย่างนี้ว่า ท่านผู้จำเริญ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณเป็นอนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักสัมผัสตนได้อย่างไร. ครั้ง
นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้นด้วย
พระหฤทัย จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษ
บางคนในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้แล้ว ตกอยู่ในอวิชชา ใจมีตัณหาเป็นใหญ่ พึง
สำคัญคำสั่งสอนของศาสดาอย่างหุนหันพลันแล่น ด้วยความปริวิตกว่า ท่านผู้
จำเริญ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น
อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร เราจะขอสอบถาม ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้แนะนำพวกเธอในธรรมนั้น ๆ แล้วแล พวกเธอจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า.
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรละหรือที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า.
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรละหรือที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.
ภิ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรละหรือที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.
ภิ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
สังขารเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. . ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรละหรือที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

ภิ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า.
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรละหรือที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่น ของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.
ภิ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พวกเธอพึงเห็นด้วยปัญญา
อันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่
เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็
ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา พึงเห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็น
อดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอก
ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่
ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา พึง
เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีใน
ภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกล
หรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของ

เรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สังขารเหล่าใดเหล่า
หนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน
หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่
ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่
อัตตาของเรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า วิญญาณ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็น
ไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีต
ก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา
ไม่ใช่อัตตาของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ใน
วิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด. จิตย่อม
หลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติ
สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ไค้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังตรัสไวยากรณ์
ภาษิตนี้อยู่ ภิกษุประมาณ 60 รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือ
มั่นแล.
จบ มหาปุณณมสูตรที่ 9

อรรถกถามหาปุณณมสูตร



มหาปุณณมสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-
พึงทราบวินิจฉัยในมหาปุณณมสูตรนั้น ดังต่อไปนี้. บทว่า ตทหุ
แยกเป็น ตสฺมึ อหุ แปลความว่า ในวันนั้น. ชื่อว่า อุโบสถ เพราะ
อรรถว่า เป็นวันที่เข้าอยู่จำ. บทว่า อุปวสนฺติ ความว่า เข้าไปอยู่จำด้วยศีล
หรือด้วยการอดอาหาร. ก็ในที่นี้มีการขยายความดังต่อไปนี้ ก็การแสดงปาติโมกข์
ชื่อว่า อุโปสถ ในคำเป็นต้นว่า อายามาวุโส กปฺปิน อุโปสถํ คมิส-
สาม
ท่านกัปปินะมาเถิด พวกเราไปยังอุโบสถกัน. ศีลชื่อว่า อุโปสถ ในคำ
เป็นต้นว่า เอวํ อฏฐงฺคสมนฺนาคโต โข วิสาเข อุโปสโถ อุปวุตฺโถ
ดูก่อนวิสาขา อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ 8 แล อันบุคคลเข้าจำแล้วด้วย
อาการอย่างนี้. อุปวาส ชื่อว่า อุโปสถ (การจำศีลด้วยการอดอาหาร) ใน
คำเป็นต้นว่า สุทฺธสฺส สทา ผคฺคุ สุทฺธสฺสุโปสโถ สทา ผัคคุฤกษ์
(คือฤกษ์เดือนผัคคุ) สำหรับผู้หมดจดทุกเมื่อ แต่อุโบสถก็สำหรับผู้หมดจด
ทุกเมื่อ. ชื่อว่าเป็นบัญญัติ (คือชื่อที่เรียก) ในคำเป็นต้นว่า อุโปสโถ
นาม นาคราชา
พระยาช้างชื่อว่า อุโบสถ. วันที่พึงเข้าไปอยู่ (จำศีล) ชื่อ
ว่า อุโปสถ ในคำเป็นต้น ว่า น ภิกฺขเว ตทหุโปสเถ สภิกฺขุกา อาวาสา
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถวันนั้น ไม่พึงไปจากอาวาสที่มีภิกษุ. แม้ในที่นี้
ก็ประสงค์เอาการเข้าอยู่ (จำศีล) นั้นนั่นแหล. ก็วันที่เข้าอยู่ (จำศีล) นี้
นั้นมี 3 อย่าง โดยวันอัฏฐมี วันจาตุททสี และวันปัณณรสี เพราะฉะนั้น
จึงตรัสว่า ปณฺณรเส (ในวันอุโบสถ 15 ค่ำ) เพื่อจะห้ามบททั้งสองที่เหลือ
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ชื่อว่า วันอุโบสถ เพราะเป็นวันที่เข้าอยู่ (จำศีล)