เมนู

อรรถกถาโคปกโมคคัลลานสูตร



โคปกโมคคัลลานสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว
อย่างนี้
.
พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า อจิรปรินิพฺพุเต
ภควติ
ความว่าเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว คือในกาลที่พระอานนท์
แบ่งพระธาตุแล้ว มายังกรุงราชคฤห์เพื่อจะทำการสังคายนาพระธรรม. บทว่า
รญฺโญ ปชฺโชตสฺส อาสงฺกมาโน ความว่า พระราชาพระนามว่าจัณฑ-
ปัชโชตพระองค์นี้ เป็นพระสหายของพระเจ้าพิมพิสารมหาราช. ก็ตั้งแต่เวลา
ที่ส่งหมอชีวกไปปรุงเภสัชถวาย ก็ยิ่งเป็นมิตรกันแน่นแฟ้นขึ้น. ท้าวเธอทรง
สดับว่า. พระเจ้าอชาตศัตรูเชื่อคำของพระเทวทัต ปลงพระชนม์พระบิดา จึง
ได้ตรัสในที่ประชุมว่า พระเจ้าอชาตศัตรูนี้ฆ่าสหายรักของเราแล้ว สำคัญ
(มั่นหมาย) ว่าจักครองราชสมบัติ ดังนี้ เราจะให้เขารู้ว่า เรายังมีอยู่ในบรรดา
เหล่าสหายผู้มียศใหญ่. พระเจ้าอชาตศัตรูนั้นทรงเกิดความระแวง เพราะได้ทรง
สดับคำนั้น. เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า ทรงระแวงพระเจ้าปัชโชต ดังนี้. บทว่า
กมฺมนฺโต ได้แก่ สถานที่ทำงาน เพื่อต้องการซ่อมแซมด้านนอกพระนคร.
บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า พระอานนท์รู้อยู่ว่า พวกเราเที่ยวไป
ด้วยหมายใจว่า จักให้ทำการร้อยกรองพระธรรมวินัย พราหมณ์โคปก
โมคคัลลานะนี้เป็นข้าราชการผู้มีศักดิ์ใหญ่ เมื่อเขาสนับสนุน เขาพึงทำการ
อารักขาพระเวฬุวันดังนี้ จึงเข้าไปหา. บทว่า เตหิ ธมฺเมหิ ได้แก่ด้วยธรรม
คือ พระสัพพัญญุตญาณเหล่านั้น. บทว่า สพฺเพน สพฺพํ ได้แก่ ทุกข้อ
โดยอาการทั้งปวง. บทว่า สพฺพถา สพฺพํ ได้แก่ ทุกข้อโดยส่วนทั้งปวง.

พราหมณ์ กล่าวว่า ข้าพเจ้าขอถามอะไร (สักอย่าง). ข้าพเจ้าขอถามข้อนี้ว่า ก็
ครูทั้ง 6 เกิดก่อน ออกบวชจากตระกูลที่ไม่มีใครรู้จัก พวกเขาตายในเมื่อพระ
ตถาคตยังทรงพระชนม์อยู่ แม้สาวกทั้งหลายของพวกเขาก็ออกบวชจากตระกูลที่
ไม่มีใครรู้จัก เหมือนกัน. ต่อเมื่อพวกเขาล่วงลับไป สาวกทั้งหลายเหล่านั้น
ได้ก่อการวิวาทกันใหญ่. ส่วนพระสมณโคดมเสด็จออกผนวชจากตระกูลใหญ่
ต่อเมื่อพระสมณโคดมนั้นล่วงไปแล้ว พระสาวกทั้งหลายจักก่อการวิวาทกัน
ใหญ่ ถ้อยคำดังว่ามานี้ ได้เกิดแพร่ไปทั่วชมพูทวีป ด้วยประการดังนี้ ก็
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์อยู่ ภิกษุทั้งหลายมิได้วิวาทกันเลย
แม้ความวิวาทที่ได้มีขึ้นนั้น ก็ได้สงบไปในที่นั้นแหละ. ก็ในเวลาที่พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน ภิกษุทั้งหลายมากมายเกิดความสลดใจใหญ่หลวง
ว่า มัจจุราชไม่อดสูต่อพระศาสดา ผู้ทรงบำเพ็ญบารมี 30 ทัศให้บริบูรณ์แล้ว
บรรลุพระสัพพัญญุตญาณเหมือนใบไม้แก่ (จะตั้งอยู่ได้อย่างไร) ข้างหน้าลม
ที่สามารถพัดพาภูเขาสิเนรุอันสูงหกล้านแปดแสนโยชน์ให้เคลื่อนได้ จักอดสู
ต่อใครกัน ดังนี้แล้ว ได้เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน สงบราบเรียบยิ่ง ข้อนี้เพราะ
เหตุไร?
บทว่า อนุสญฺญายมาโน แปลว่า ตรวจตราอยู่. อธิบายว่า รู้
การงานที่ทำแล้ว และยังไม่ได้ทำ. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ติดตาม (ผลงาน).
บทว่า อตฺถิ นุ โข ได้แก่ วัสสการพราหมณ์นี้ถามเรื่องที่มีในหน
หลัง. บทว่า อปฺปฏิสฺสรเณ ได้แก่เมื่อธรรมวินัยไม่เป็นที่พึ่งอาศัย. บทว่า
โก เหตุ ธมฺมสามคฺคิยา ความว่า ใครเป็นเหตุ ใครเป็นปัจจัยแห่ง
ความพร้อมเพรียงของท่านทั้งหลาย. ด้วยบทว่า ธมฺมปฏิสฺสรโณ แสดงว่า
ธรรมเป็นที่พึ่ง ธรรมเป็นที่อาศัยของเราทั้งหลาย.

บทว่า วตฺเตติ (การสวดปาติโมกข์ย่อมเป็นไป) คือเป็นคุณที่คล่อง
แคล่วมา. คำทั้งสองนี้ว่า อาปตฺติ วา วีติกฺกโม วา ต้องอาบัติหรือล่วง
ละเมิด ดังนี้ เป็นการล่วงละเมิดพระบัญญัติของพระพุทธเจ้านั่นแหละ. บท
ว่า ยถาธมฺมํ ยถานุสิฏฺฐํ กาเรม (พวกเราจะให้เธอทำตามธรรมตามที่
ทรงสั่งสอนไว้) อธิบายว่า พวกเราจะให้เธอทำตามธรรมและคำสั่งสอนที่ทรง
ตั้งไว้. โน อักษร แม้ใน 2 บทว่า น กิร โน ภวนฺโต กาเรนฺติ
ธมฺโมว กาเรติ
เป็นเพียงนิบาต. ในคำนี้มีอธิบายดังนี้ว่า นัยว่าเมื่อเป็น
อย่างนั้น ท่านผู้เจริญทั้งหลายให้ทำหามิได้ แต่ธรรมให้ทำ.
คำว่า ตคฺฆ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า ส่วนเดียว. บทว่า กหํ
ปน ภวํ อานนฺโท
มีอธิบายว่า ย่อมไม่รู้ว่า พระเถระอยู่ในพระเวฬุวัน
หรือ ? รู้. ก็วัสสการพราหมณ์นี้ ให้การอารักขาพระเวฬุวัน เพราะฉะนั้น
ประสงค์จะยกตน จึงได้ถามอย่างนั้น. ก็เพราะเหตุไร วัสสการพราหมณ์นั้น
จึงให้การอารักขาในพระเวฬุวันนั้น ? (เพราะ) ได้ยินว่า วันหนึ่ง ท่านวัสส-
การพราหมณ์นั้นเห็นพระมหากัจจายนเถระ ลงจากเขาคิชฌกูฏ จึงกล่าวว่า
นั่นเหมือนลิง. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้สดับคำนั้นแล้วตรัสว่าเขาขอขมาโทษเสีย
ข้อนั้นเป็นการดี ถ้าไม่ขอขมาโทษเขาจักเป็นลิงหางโคในพระเวฬุวันนี้1. วัสส-
การพราหมณ์นั้นฟังพระดำรัสนั้นแล้ว คิดว่า ธรรมดาพระดำรัสของพระ
สมณโคดมไม่เป็นสอง ภายหลังเมื่อเวลาเราเป็นลิง จักได้มีที่เที่ยวหากิน จึง
ปลูกต้นไม้นานาชนิดในพระเวฬุวัน แล้วให้การอารักขา กาลต่อมา วัสส-
การพราหมณ์ถึงอสัญญกรรมแล้วเกิดเป็นลิง. เมื่อใครพูดว่า วัสสการ-
พราหมณ์ ก็ได้มายืนอยู่ใกล้ๆ. คำว่า ตคฺฆ เป็นนิบาตลงในคำว่า ส่วนเดียว
เท่านั้น ในทุก ๆ วาระ. บทว่า ตคฺฆ โถ อานนฺท ความว่า พราหมณ์
1. ม. โคนงฺคลมกฺกโฏ ลิงหน้าดำหรือชะนี.

รู้ว่า พระเถระยกย่องตนในท่ามกลางบริษัทอย่างนี้ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า แม้เราก็
ยกย่องพระเถระ.
บทว่า น โข พฺราหฺมณ ความว่า นัยว่า พระเถระคิดว่า ฌาน
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสรรเสริญก็มี ที่ไม่สรรเสริญก็มี แต่พราหมณ์นี้สรร-
เสริญทั้งหมดเลย กล่าวปัญหาให้คลาดเคลื่อน เราไม่อาจมองหน้าพราหมณ์นี้
ได้ ไม่อาจรักษาบิณฑบาต เราจักกล่าวปัญหาให้ตรง ดังนี้ จึงเริ่มกล่าวคำนี้.
บทว่า อนนฺตรํ กริตฺวา แปลว่า กระทำไว้ภายใน. บทว่า เอวรูปํ
โข พฺราหฺมณ โส ภควา ณานํ วณฺเณสิ
ความว่า ในที่นี้ ตรัส
ฌานที่รวบรวมเอาไว้ทั้งหมด. บทว่า ยนฺโน มยํ ความว่า ได้ยินว่า
พราหมณ์นี้ริษยาวัสสการพราหมณ์ หวังจะไม่กล่าวถึงปัญหาที่วัสสการพราหมณ์
นั้นถาม ครั้นรู้ว่าเขากล่าวแล้วก็ไม่สบายใจว่า พระอานนท์เอาปัญหาที่วัสส-
การพราหมณ์ถาม มาเป็นชื่อของฌานนั้นบ่อยๆกล่าวอย่างกว้างขวาง แต่ปัญหา
ที่เราถาม ท่านกล่าวเป็นบางส่วนเท่านั้น เหมือนเอาปลายไม้เท้าจี้ ฉะนั้น
เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนั้น. คำที่เหลือในทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถาโคปกโมคคัลลานสูตรที่ 8

9. มหาปุณณมสูตร



ว่าด้วยอุปาทานและอุปาทานขันธ์



[120] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว อย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา-
มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม กรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
มีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม ประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้น
เป็นวันอุโบสถ 15 ค่ำ ขณะนั้น ภิกษุรูปหนึ่งลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่า
ข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะขอกราบทูล
ถามปัญหาสักเล็กน้อยกะพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะประทาน
โอกาสเพื่อพยากรณ์ปัญหาแก่ข้าพระองค์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้าอย่างนั้น เธอจงนั่งลง
ยังอาสนะของตน ประสงค์จะถามปัญหาข้อใด ก็ถามเถิด.
[121] ครั้งนั้น ภิกษุรูปนั้นนั่งยังอาสนะของตนแล้ว ได้ทูลถามพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ คือ รูปูปาทาน-
ขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณู-
ปาทานขันธ์ มี 5 ประการเท่านี้หรือหนอแล.
พ. ดูก่อนภิกษุ อุปาทานขันธ์ มี 5 ประการเท่านี้ คือ รูปูปาทาน-
ขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณู
ปาทานขันธ์.