เมนู

7. คณกโมคคัลลานสูตร



ว่าด้วยการศึกษาและการปฏิบัติเป็นไปตามลำดับ



[93] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา
มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้น พราหมณ์
คณกะโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทักทายปราศรัยกับพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ตามธรรมเนียมแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบ
ร้อยแล้ว ไค้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ตัวอย่าง
เช่นปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ย่อมปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การ
กระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ถือกระทั่งโครงร่างของบันไดชั้นล่าง
แม้พวกพราหมณ์เหล่านี้ ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ
การปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่องเล่าเรียน แม้พวกนักรบเหล่านี้ ก็ปรากฏมี
การศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่อง
ใช้อาวุธ แม้พวกข้าพระองค์ผู้เป็นนักคำนวณมีอาชีพในทางคำนวณก็ปรากฏมี
การศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือในเรื่อง
นับจำนวน เพราะพวกข้าพเจ้าได้ศิษย์แล้ว เริ่มต้นให้นับอย่างนี้ว่า หนึ่ง
หมวดหนึ่ง สอง หมวดสอง สาม หมวดสาม สี่ หมวดสี่ ห้า หมวดห้า
หก หมวดหก เจ็ด หมวดเจ็ด แปด หมวดแปด เก้า หมวดเก้า สิบ
หมวดสิบ ย่อมให้นับไปถึงจำนวนร้อย ข้าแต่ท่านพระโคดม พระองค์อาจ
ไหมหนอ เพื่อจะบัญญัติการศึกษาโดยลำดับ การที่กระทำโดยลำดับ การ
ปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัยแม้นี้ ให้เหมือนอย่างนั้น.

[94] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราอาจบัญญัติ
การศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัย
นี้ได้ เปรียบเหมือนคนฝึกม้าผู้ฉลาด ได้ม้าอาชาไนยตัวงามแล้วเริ่มต้นทีเดียว
ให้ทำสิ่งควรให้ทำในบังเหียน ต่อไปจึงให้ทำสิ่งที่ควรให้ทำสิ่ง ๆ ขึ้นไปฉันใด
ดูก่อนพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ตถาคตได้บุรุษที่ควรฝึกแล้วเริ่มต้น
ย่อมแนะนำอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วย
ปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษ
เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด.
[95] ดูก่อนพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติ-
โมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ เป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็ก
น้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้น
ไปว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
เธอเป็นรูปด้วยจักษุแล้วจงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ อันมีการเห็นรูปเป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวม
อยู่ พึงถูกอกุศลบาปธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาจักขุน-
ทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์เถิด เธอได้ยินเสียงด้วยโสตะแล้ว. . . เธอ
ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว. . . เธอลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว . . . เธอถูกต้องโผฏฐัพพะ
ด้วยกายแล้ว . . . เธอรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว อย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือ
เอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ อันมีการรู้ธรรมารมณ์
เป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลบาปธรรมคืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำได้ จงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์เถิด.
[96] ดูก่อนพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์
ทั้งหลายได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอ

จงเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ คือ พึงบริโภคอาหาร พิจารณาโดยแยบคาย
ว่า เราบริโภคมิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อจะมัวเมา มิใช่เพื่อจะประดับ มิใช่
เพื่อจะตกแต่งร่างกายเลย บริโภคเพียงเพื่อร่างกายดำรงอยู่ เพื่อให้ชีวิตเป็น
ไป เพื่อบรรเทาความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์เท่านั้น ด้วยอุบายนี้
เราจะป้องกันเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น และความเป็นไปแห่งชีวิต
ความไม่มีโทษ ความอยู่สบาย จักมีแก่เรา.
[97] ดูก่อนพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ
ได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็น
ผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ คือจงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณีย-
ธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
อาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปฐมยานแห่งราตรี พึง
เอาเท้าซ้อนเท้า มีสติรู้สึกตัว ทำความสำคัญว่า จะลุกขึ้นไว้ในใจแล้วสำเร็จ
สีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี จงลุกขึ้นชำระจิตไห้บริสุทธิ์
จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่ง
ราตรีเถิด.
[98] ดูก่อนพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความ
เป็นผู้ตื่นอยู่ได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิด
เธอจงเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ คือ ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไป
และถอยกลับ ในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ใน
เวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส ใน
เวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด
และนิ่งเถิด.

[99] ดูก่อนพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
ได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเสพ
เสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่
แจ้ง และลอมฟางเถิด ภิกษุนั้นจึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้
ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า ละ
อภิชฌาเพ่งเล็งในโลกแล้ว มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากอภิชฌาได้ ละโทษคือพยาบาทปองร้ายแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท
อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากความชั่วคือพยาบาทได้ ละถีนมิทธะง่วงเหงาหาวนอนแล้ว เป็นผู้มีจิต
ปราศจากถีนมิทธะ มีอาโลกสัญญาสำคัญว่าสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อม
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะความฟุ้งซ่านและรำคาญ
แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
อุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาความสงสัยแล้วเป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีปัญหา
อะไรในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้
[100] เธอครั้นละนิวรณ์ 5 ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้า
หมอง ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน มี
ความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและ
วิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้วางเฉยเพราะ
หน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เช้าตติยฌานที่พระ-
อริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติอยู่เป็นสุขอยู่ เข้าจตุตถฌาน อันไม่มี
ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มี

สติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ดูก่อนพราหมณ์ ในพวกภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ยัง
ไม่บรรลุพระอรหัตมรรค ยังปรารถนาธรรมที่เกษมจากโยคะอย่างหาธรรม
อื่นยิ่งกว่ามิได้อยู่นั้น เรามีคำพร่ำสอนเห็นปานฉะนี้ ส่วนสำหรับภิกษุพวกที่
เป็นอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระ
ได้แล้ว ถึงประโยชน์ตนแล้วตามลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษ
แล้วเพราะรู้ชอบนั้น ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่สบายในปัจจุบัน
และเพื่อสติสัมปชัญญะ.
[101] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกะ-
โมคคัลลานะได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า สาวกของพระโคดมผู้เจริญอัน
ท่านพระโคดม โอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ ย่อมสำเร็จนิพพานอันมีความสำเร็จ
ล่วงส่วน ทุกรูปทีเดียวหรือ หรือว่าบางพวกก็ไม่สำเร็จ.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ สาวกของเรา อันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้
บางพวกเพียงส่วนน้อย สำเร็จนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่
สำเร็จ.
ค. ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ในเมื่อนิพพานก็ยังมีอยู่ ทางให้ถึงนิพพานก็ยังมีอยู่ ท่านพระโคดมผู้ชักชวน
ก็ยังมีอยู่ แต่สาวกของท่านพระโคดม อันท่านพระโคดม โอวาทสั่งสอนอยู่
อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย จึงสำเร็จนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน
บางพวกก็ไม่สำเร็จ.
[102] พ. ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่อง
นี้ ท่านชอบใจอย่างไร พึงพยากรณ์อย่างนั้นดูก่อนพราหมณ์ ท่านจะสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านชำนาญทางไปกรุงราชคฤห์มิใช่หรือ.

ค. แน่นอน พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษผู้
ปรารถนาจะไปกรุงราชคฤห์ พึงมาในสำนักของท่าน เข้ามาหาท่านแล้วพูด
อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงชี้ทางไปกรุงราชคฤห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
ท่านพึงบอกเขาอย่างนี้ว่า พ่อมหาจำเริญ มาเถิด ทางนี้ไปกรุงราชคฤห์ ท่าน
จงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นบ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่
หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่น่า
รื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ของ
กรุงราชคฤห์ บุรุษนั้น อันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ จับทางผิดไพล่เดินไป
เสียตรงกันข้าม ต่อมา บุรุษคนที่สองปรารถนาจะไปกรุงราชคฤห์ พึงมาใน
สำนักของท่านเข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนา
จะไปกรุงราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปกรุงราชคฤห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่าน
พึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า พ่อมหาจำเริญ มาเถิด ทางนี้ไปกรุงราชคฤห์ ท่าน
จงไปตามทางนั้น ชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นบ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่
หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่
น่ารื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์
ของกรุงราชคฤห์ บุรุษนั้นอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ พึงไปถึงกรุง
ราชคฤห์โดยสวัสดี ดูก่อนพราหมณ์ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย นี้
เมื่อกรุงราชคฤห์ก็มีอยู่ ทางไปกรุงราชคฤห์ก็มีอยู่ ท่านผู้ชี้แจงก็มีอยู่ แต่ก็
บุรุษอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอย่างนี้ คนหนึ่งจับทางผิด ไพล่เดินไปทางทรงกัน
ข้าม คนหนึ่งไปถึงกรุงราชคฤห์ได้โดยสวัสดี.
ค. ข้าแต่ท่านพระโคดม ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์จะทำอย่างไรได้
ข้าพระองค์เป็นแต่ผู้บอกทาง.

[103] พ. ดูก่อนพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเมื่อนิพพาน
ก็มีอยู่ ทางไปนิพพานก็มีอยู่ เราผู้ชักชวนก็มีอยู่ แต่ก็สาวกของเราอันเรา
โอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย สำเร็จนิพพานอันมีความ
สำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่สำเร็จ ดูก่อนพราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำ
อย่างไรได้ ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกหนทาง.
[104] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกะ-
โมคคัลลานะได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม บุคคล
จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ประสงค์จะเลี้ยงชีวิต ออกบวช โอ้อวด มีมายา เจ้า
เล่ห์ ฟุ้งซ่าน ยกตัว กลับกลอก ปากกล้า พูดพล่าม ไม่คุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร เครื่อง
ตื่น ไม่นำพาในความเป็นสมณะ ไม่เคารพแรงกล้าในสิกขา ประพฤติมักมาก
ปฏิบัติย่อหย่อน เป็นหัวโจกในทางเชือนแช ทอดธุระในวิเวกความสงัดเงียบ
เกียจคร้าน มีความเพียรเลว ลืมสติ ไม่รู้ตัว ไม่มั่นคง มีจิตรวนเร มีความ
รู้ทราม เป็นดังคนหนวก คนใบ้ ท่านพระโคดมย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลจำพวก
นั้น ส่วนพวกกุลบุตรที่มีศรัทธาออกบวช ไม่โอ้อวด ไม่มายา ไม่เจ้าเล่ห์
ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ยกตน ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า ไม่พูดพล่าม ไม่พูดเพลิน
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร
เครื่องตื่น นำพาในความเป็นสมณะ เคารพแรงกล้าในสิกขา ไม่ประพฤติมัก
มาก ไม่ปฏิบัติย่อหย่อน ทอดธุระในทางเชือนแช เป็นหัวหน้าในวิเวกความ
สงัดเงียบ ปรารภความเพียร มอบตนไปในธรรม ตั้งสติไว้มั่น รู้ตัวมั่นคง
มีจิตแน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็นดังคนหนวก คนใบ้ ท่านพระโคดมย่อมอยู่
ร่วมกับกุลบุตรพวกนั้น ข้าแต่ท่านพระโคดม เปรียบเหมือนบรรดาไม้ที่มีราก

หอม เขายกย่องกฤษณาว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีแก่นหอม เขายกย่องแก่น-
จันทน์แดงว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีดอกหอม เขายกย่องดอกมะลิว่าเป็นเลิศ
ฉันใด โอวาทของท่านพระโคดม ก็ฉันนั้น เหมือนกันแล บัณฑิตกล่าวได้ว่า
เป็นเลิศในบรรดาธรรมของครูอย่างแพะที่นับว่าเยี่ยม แจ่มแจ้งจริง ๆ พระ-
เจ้าข้า แจ่มแจ้งจริง ๆ พระเจ้าข้า ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดย
ปริยายเป็นอเนก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอก
ทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีตาดีจักเห็นรูปทั้ง
หลายได้ ฉะนั้นข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระ
ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบ คณกโมกคัลลานสูตรที่ 7

อรรถกถาคณกโมคคัลลานสูตร



คณกโมคคัลลานสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า ยาว ปจฺฉิมา
โสปานกเฬวรา
ได้แก่ จนกระทั่งพื้นบันไดขั้นแรก. พราหมณ์แสดง
ว่า ปราสาท 7 ชั้น ไม่อาจสร้างได้เพียงวันเดียวแต่ปรากฏการกระทำโดยลำ-
ดับ (ขั้นตอน) เริ่มแต่การแผ้วถางพื้นที่แล้วยกตั้งเสา จนกระทั่งเขียนภาพ
จิตรกรรม ในปราสาทนั้น. ด้วยบทว่า ยทิทํ อชฺเฌเน พราหมณ์แสดงว่า
พระเวทแม้ทั้ง 3 ก็ไม่อาจเล่าเรียนได้โดยวันเดียวเท่านั้น ก็แม้ในการเล่า
เรียนพระเวทเหล่านั้น ก็ย่อมปรากฏการกระทำโดยลำดับเช่นเดียวกัน. ด้วย
บทว่า อิสฺสตฺเถ พราหมณ์แสดงว่า แม้ในวิชาว่าด้วยอาวุธ ขึ้นชื่อว่านัก
แม่นธนู ก็ไม่อาจทำได้โดยวันเดียวเท่านั้น ก็แม้ในวิชาว่าด้วยอาวุธนี้ย่อม
ปรากฏการกระทำโดยลำดับ โดยการจัดแจงสถานที่และทำเป้า (สำหรับยิง)
เป็นต้น. บทว่า สงฺขาเน ได้แก่ โดยการนับ. ในข้อนั้น เมื่อแสดงการ
กระทำโดยลำดับด้วยตัวเอง จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า พวกข้าพระองค์ให้นับ
อย่างนี้.
ในคำที่ว่า เสยฺยถาปิ พฺราหฺมณ นี้ เพราะเหตุที่คนทั้งหลายเรียน
ศิลป ในลัทธิภายนอก โดยประการใดๆ ย่อมกลายเป็นคนเกเรไปโดยประการ
นั้น ๆ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงเปรียบเทียบศาสนาของพระองค์ด้วย
ลัทธิภายนอก หากทรงเปรียบเทียบด้วยม้าอาชาไนยแสนรู้ จึงตรัสว่า เสยฺยถา-
ปิ
ดังนี้เป็นต้น. อันม้าอาชาไนยแสนรู้ถูกเขาฝึกในเหตุใด ย่อมไม่ละเมิด
เหตุนั้น แม้เหตุแห่งชีวิตฉันใด กุลบุตรผู้ปฏิบัติชอบในพระศาสนา ย่อมไม่